พระบรมราโชวาทเกี่ยวกับ "ความรู้"

“...ความรู้นั้นสำคัญยิ่งใหญ่ เพราะเป็นปัจจัยให้เกิดความฉลาดสามารถ และความเจริญก้าวหน้า มนุษย์จึงใฝ่ศึกษากันอย่างไม่รู้จบสิ้น แต่เมื่อพิเคราะห์ดูแล้ว การเรียนความรู้ แม้มากมายเพียงใด บางทีก็ไม่ช่วยให้ฉลาดหรือเจริญได้เท่าไรนัก ถ้าหากเรียนไม่ถูกถ้วน ไม่รู้จริงแท้ การศึกษาหาความรู้จึงสำคัญตรงที่ว่า ต้องศึกษาเพื่อให้เกิด “ความฉลาดรู้” คือรู้แล้ว สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้จริงๆ โดยไม่เป็นพิษเป็นโทษ การศึกษาเพื่อความฉลาดรู้ มีข้อปฏิบัติที่น่าจะยึดถือเป็นหลักอย่างน้อยสองประการ ประการแรก เมื่อจะศึกษาสิ่งใดเรื่องใดให้รู้จริง ควรจะได้ศึกษาให้ตลอดครบถ้วนทุกแง่ทุกมุม ไม่ใช่เรียนรู้แต่เพียงบางส่วนบางตอน หรือเพ่งเล็งเฉพาะแต่เพียงบางแง่บางมุม อีกประการหนึ่ง ซึ่งจะต้องปฏิบัติประกอบพร้อมกันไปด้วยเสมอคือต้องพิจารณาศึกษาเรื่องนั้นๆ ด้วยความคิดจิตใจที่ตั้งมั่นเป็นปรกติ และเที่ยงตรง เป็นกลาง ไม่ยอมให้ความรู้เห็นและเข้าใจตามอำนาจความเหนี่ยวนำของอคติ ไม่ว่าจะเป็นอคติฝ่ายชอบหรือฝ่ายชัง มิฉะนั้นความรู้ที่เกิดขึ้นจะไม่เป็นความรู้แท้ หากแต่เป็นความรู้ที่ถูกอำพรางไว้ หรือที่คลาดเคลื่อนวิปริตไปต่างๆ จะนำไปใช้ให้เป็นประโยชน์จริงๆ โดยปราศจากโทษไม่ได้...”

พระบรมราโชวาท ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรโรฒ วันที่ ๒๒ มิถุนายน ๒๕๒๔

วันเสาร์ที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2552

ตามรอยเบื้องพระยุคลบาท




ตามรอยเบื้องพระยุคลบาท

โดย ดร. สุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา
สำนักข่าวเจ้าพระยา วันพฤหัสบดี 16 กรกฎาคม 2552

วัน ที่ 5 พฤษภาคม ซึ่งเป็นวันฉัตรมงคล เป็นวันสำคัญของชาติบ้านเมืองและเป็นวันที่ผู้ได้รับพระราชทานเครื่องราช อิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้าจะต้องไปเข้าเฝ้าฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท เพื่อถวายความจงรักภักดีและชื่นชมยินดีกับผู้ที่ได้รับพระราชทานเครื่องราช อิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้าในวันนั้น

หลัง จากพระราชทานเครื่องราช อิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้าเสร็จแล้ว ก็เสด็จฯ มายังพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดารามเพื่อถวายราชสักการะ พวกเราก็มักจะไปยืนเข้าเฝ้าฯ หน้าพระอุโบสถอีกครั้งหนึ่ง

ใน ปีนี้ หลังจากเสด็จฯ ออกจากพระอุโบสถและเสด็จฯ ไปถวายราชสักการะที่ปราสาทพระเทพบิดร ระหว่างเสด็จฯ ผ่านแถวของพวกเรา ก็ทรงหยุดชะงักนิดหนึ่ง แล้วทรงหันมารับสั่งกับผมว่า ? โครงการวัดมงคลเป็นอย่างไรบ้าง ไปดูกันบ้างหรือเปล่า สมัยก่อนนี้พวกเราสนุกกันมากนะ? แน่ นอนพระเจ้าอยู่หัวหยุดรับสั่งด้วยก็สร้างความมหาปีติเกิดขึ้นในหัวใจ อย่างเป็นที่สุด แต่ฟังพระราชกระแสถึงเรื่องอดีตเก่า ๆ ก็รู้สึกซึ้งในจิตใจบอกไม่ถูก และหวนตระหวัดไปเห็นภาพเก่า ๆ เมื่อได้มีโอกาสเข้าถวายงานในฐานะเลขาธิการ กปร. ตั้งแต่ปี 2524 เป็นต้นมา เป็นระยะห้วงชีวิตที่มีความสุข และสนุกที่สุดที่เคยมีมา
ใน ยุคนั้นจะประทับอยู่ในนครหลวง เพียงไม่ถึงครึ่งปี นอกนั้นก็เสด็จประพาสไปในภูมิภาคต่าง ๆ ครบทั้ง 4 ภาคเป็นประจำพวกเราก็ต้องย้ายภูมิลำเนาไปอยู่ในต่างจังหวัดชั่วคราว ระยะแรก ๆ ยังไม่มีบ้านพัก กปร. ก็นอนโรงแรมบ้าง ขออาศัยบ้านพักหน่วยราชการบ้าง โดยเฉพาะกรมชลประทาน สมบุกสมบัน ชีวิตมีเรื่องตื่นเต้นอยู่ตลอด เสด็จฯ ออกเยี่ยมเยียนราษฎรและโครงการต่าง ๆ เกือบวันเว้นวัน เสด็จฯ ออกยามบ่าย และเสด็จฯ กลับที่ประทับยามดึกแก่ ๆ ทุกวัน เสด็จฯ แปรพระราชฐานที่หัวหินก็เจออากาศร้อน เสด็จฯ ใต้เจอฝนแน่นอน อีสานร้อนสลับหนาว และภาคเหนือก็หนาวเหน็บ และโดยเฉพาะภาคเหนือถนนหนทางทุรกันดาร นั่ง ฮ. เกือบทุกครั้ง ทุกพระองค์มิได้ทรงปริพระโอษฐ์บ่นอะไรเลยแม้แต่น้อย ผมกลับสังเกตเห็นว่า ทุกพระองค์ทรงมีความสุขยามที่ได้ทรงงานขจัดทุกข์ของประชาชนและแก้ไขปัญหาของ แผ่นดิน


ระหว่างเสด็จฯ ได้ทรงพระเมตตาสอนพวกเราในทุกอย่างได้เรียนรู้อย่างมากมายจากพระองค์ท่าน และรู้จักทำงานให้แก่แผ่นดินอย่างแท้จริง


บาง ทีก็นำเสด็จฯ พระองค์หลงทางก็บ่อย ทั้ง ๆ ที่มีแผนที่ มีเครื่องไม้เครื่องมือพอสมควร แต่ดูว่าพระองค์ทรงรู้จักแผ่นดินของพระองค์และคนของพระองค์ทุกกระเบียดนิ้ว


มี ครั้งหนึ่งที่ภาคใต้ ทรงเปลี่ยนจุดโดยกระทันหัน สร้างความโกลาหลให้แก่พวกเราเป็นอย่างมาก วันนั้นเสด็จฯ พรุแฆแฆ ย่ำค่ำแล้ว มีรับสั่งว่าจะไปทอดพระเนตรอีกจุดหนึ่ง ต้องเปลี่ยนแผนกันกลางป่ากลางสวน จนมีโอกาสได้พบลุงวาเด็ง ก็วันนั้นเอง สนุกสนานที่สุด


ตอน เมื่อเสด็จฯ กาฬสินธุ์ ขณะลงจาก ฮ. ก็รับสั่งว่าเดี๋ยวจะไปดูที่ลำพะยัง จะไปก่อนก็ไม่ทัน พวกเราซึ่งถือเป็นผู้เชี่ยวชาญทั้งนั้น ทั้งช่างชลประทาน ทหารแผนที่ มีทั้งชั้นพิเศษ พันเอก ดอกเตอร์ รีบวางแผนอย่างรวดเร็ว พอขบวนเคลื่อนก็ยังไม่ประมาทอุ้มชาวบ้านที่เดินอยู่ข้างๆ ทาง นุ่งผ้าขาวม้าอยู่ผืนเดียวเอาขึ้นรถไปด้วย เพราะถามแล้วเขาตอบมาว่า รู้จักที่ที่จะไปก็นำเสด็จฯ ไปเรื่อย ถามชาวบ้านคนนั้นไป เอาไฟฉายส่องแผนที่ไป ลุยป่าไปเรื่อยจนถนนไม่มี ก็แล่นกระโดกกระดากไปตามท้องลำธารบนหินก้อนโต ๆ เลยได้รับพระราชทานนามว่า ทางดิสโก้ ขย้อนโขยกไปตลอดทาง สุดท้ายไปเจอคันนายาว ไปไม่รอด ขบวนไปนิ่งสนิทอยู่กลางทุ่ง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จฯ ลงจากพระที่นั่ง ทรงดุพวกเรามาแต่ไกลว่า จะไปไหน หลงทางตั้งแต่แยกแรกแล้ว ไม่ใช่ ไม่ใช่ ทางนี้อยู่ใกล้นิดเดียว เผอิญเป็นเวลาค่ำคืนจึงไม่เห็นหน้าพวกเรา ซึ่งเคยบานเป็นตะโก้ บัดนี้เหลือที่เขาเรียกว่า ? หน้าเหลือสองนิ้ว? เท่า นั้น ขาออกมาแทนที่จะนำเสด็จฯ กลับต้องขับรถพวกเราตามเสด็จฯ โดยทรงนำทางตลอด ประเดี๋ยวเดียวก็ถึงดังที่รับสั่ง ก็เป็นเรื่องครื้นเครงสนุกสนานสำหรับพวกเราอีกครั้งไม่ทรงกริ้วอะไร


วัน นั้นเอง ชาวบ้านเอาข้าวรวงเล็กๆ มาถวายให้ทอดพระเนตร รวงหนึ่งมีข้าวแค่ 3-4 เมล็ด เพราะแห้งแล้งมากชาวบ้านเอามือขุดดินโรยเมล็ดข้าวลงไป แล้วรอน้ำค้างมาให้ความชื้น ก็เป็นที่มาของพระราชกระแสรับสั่งว่า “เกษตรน้ำค้าง” และน่าปราบปลื้มใจเป็นอย่างยิ่งว่า บัดนี้ในบริเวณดังกล่าวได้แปรสภาพจากเกษตรน้ำค้างเป็นเกษตรชลประทานที่อุดม สมบูรณ์ เปลี่ยนสภาพไปอย่างไม่น่าเชื่อ


ตาม เสด็จฯ ทางเหนือใช้ ฮ. เป็นหลัก ลงจาก ฮ. แล้วบางที่ต้องเดินเป็นระยะไกล ๆ ข้ามเนินเขาลงหุบห้วย ผ่านไปในนาข้าว บางทีฝนตก กว่าจะถึงยอดเนินก็ทรุดตัวลงนั่งหอบแฮก ๆ กันทุกคน แต่พระองค์กลับประทับผืนกางแผนที่เหลียวจะสั่งงานใครก็ลงไปทรุดนั่งป้อแป้ กันหมด เลยรับสั่งว่า ไม่เห็นจะสู้คนอายุ 60 ได้สักคน พวกเราก็ถวายยิ้มแหย ๆ แห้ง ๆ ไป ตามระเบียบ ก็ต้องยอมรับว่าสู้พระองค์ไม่ได้เลยจริง ๆ


ภาพ ที่ประทับใจและจดจำไม่เคยลืมมี อีกภาพหนึ่ง คือ หลังจากที่ทรงพระประชวรในช่วงเวลาหนึ่งนั้น ก็เสด็จฯ ออกครั้งแรก จำได้แม่นยำว่าเป็นที่ชะอำ ที่เป็นสถานที่ตั้งศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายในวันนี้ ได้เสด็จฯ ออกทรงงานเป็นครั้งแรกหลังจากว่างเว้นมานาน หลังจากมีพระราชกระแสพระราชทานแนวทางหลัก ๆ แล้ว ได้หยุดขบวนประทับ เบื้องหน้าเป็นหุบเขาเรียกว่าหุบสบู่ เวลานั้นตะวันหลบแล้ว แต่ยังมีแสงเรืองรองอยู่ นกบินกลับรังเป็นฝูง ๆ ทรงฉายภาพวิวรอบ ๆ อากาศร่มลมพัดเย็นสบาย มีพระพิรุณโปรยมาบาง ๆ ชุ่มชื้นแต่ไม่เปียก วันนั้นทรงมีความสุขมาก รับสั่งขึ้นมาลอย ๆ ว่า ไม่ได้เสด็จฯ ออกมานานแล้ว และเห็นชัดเจนว่าทรงพระเกษมสำราญเหลือเกินที่มีโอกาสทำงานให้พสกนิกรของ พระองค์อีกครั้งหนึ่ง หลังจากนั้น จังหวะงานที่ทรงอยู่ก็เริ่มต้นอย่างทรงพลังอีกครั้งหนึ่ง โครงการพระราชดำริ โครงการแล้วโครงการเล่า ก็ได้จัดทำขึ้นมาทุกหัวระแหงของแผ่นดิน


ระหว่าง ที่ถวายงานอยู่ คราวจะแปรพระราชฐาน บางครั้งพวกเราติดงานไปก่อนไม่ได้ จะไปหลังก็จะถวายงานไม่ทัน ก็จะขอพระราชทานพระเมตตาอาศัยเครื่องบินพระที่นั่งตามเสด็จฯ ไปด้วย ซึ่งจะต้องขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตก่อนทุกครั้ง ทรงมีพระเมตตาพระราชทานให้ พวกฝ่ายในวังก็จะรู้มักจะจัดให้เรานั่งแถวหน้าของส่วนผู้ติดตามขบวน เพราะเกือบทุกครั้งจะมีการสั่งงานบนเครื่องบินพระที่นั่งนั่นเอง หลายครั้งก็เสด็จฯ มาสั่งงานตรงที่พวกเรานั่งอยู่ จะประทับยืนสั่งงานโดยมีพวกเรานั่งพับเพียบกับพื้นเครื่องบินพระที่นั่ง บางครั้งทรงสั่งงานยาวมากจนเครื่องบินบินถึงปลายทางก็มี มีอยู่ครั้งหนึ่งเสด็จฯ นราธิวาส เครื่องบินลงแต่รันเวย์แล้วพระองค์ก็ยังคงประทับยืนอยู่อย่างนั้น จะกราบบังคมทูลให้ประทับนั่งเพื่อความปลอดภัยก็ไม่กล้า


บาง โครงการ เช่น โครงการยึกยือก็เกิดบนนภาอากาศนั่นเอง วันนั้นเสด็จฯ แปรพระราชฐานในสกลนคร ระหว่างบินมหาดเล็กมาตามตัวไปเฝ้า เมื่อเข้าเฝ้าฯ พระองค์ประทับเสวยพระกระยาหารว่างอยู่ ก็รับสั่งเรื่องน้ำก่ำ อยากจะให้ทดลองกั้นลำน้ำก่ำเป็นช่วง ๆ ยามหน้าน้ำจะได้ปิดกันน้ำไว้ให้ราษฎรได้ใช้ ไม่ต้องให้ไหลลงแม่น้ำโขงอย่างเปล่าประโยชน์ระหว่างรับสั่งก็ทรงหยิบเศษ กระดาษมาแผ่นหนึ่ง ทรงวาดเค้าโครงร่าง ๆ ออกมาเป็นลำน้ำก่ำคดเคี้ยวหยักไปตามสภาพจริงและขีดเส้นกั้นเป็นระยะ ๆ เมื่อทรงวาดเสร็จ พระราชทานพระราชดำริเสด็จ ก็ทอดพระเนตรรูปนั้น ซึ่งมีลักษณะเหมือนตัวหนอนตัวบุ้งอะไรทำนองนั้น เลยรับสั่งว่าเหมือน “ยึกยือ” นะ ก็เลยเป็นชื่อเล่นสำหรับโครงการนั้นไปว่า “โครงการยึกยือ” พวกเราก็เข้าใจว่าเป็นน้ำก่ำ


พอ ได้ฟังแล้วพวกเราชาวไทยทุกคนควร จะได้ทราบว่าจุดกำเนิดของโครงการนั้น ไม่ใช่เพียงเริ่มจากห้องทรงงาน บนพื้นดิน ในน้ำเมื่อเสด็จประพาสทางเรือ แม้บนอากาศก็ยังทรงคิดงานที่จะช่วยเหลือประชาชน นั่นคือภาพที่ไม่สามารถจะลืมได้


สำหรับ วัดมงคลชัยพัฒนาที่ทรงรำลึก ถึงเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม ตามที่เริ่มเรื่องไว้นั้น ก็มีจุดกำเนิดที่สนุกสนานยิ่งมีรับสั่งให้ไปหาที่และวัดที่มีลักษณะอย่าง นั้นๆ มีอายุประมาณนั้น โดยรับสั่งเป็นเรื่องนวนิยายว่า มีพระเอกชื่ออะไรก็สงวนไว้ก่อน ติดตามปู่ไปทำบุญที่พระพุทธบาทในยุดสมัยรัชกาลที่ 5 ขากลับได้แวะทำบุญเป็นเงิน 80 ชั่ง บางครั้งก็พระราชทานโจทย์มาอย่างนี้ พวกเราจึงต้องใช้ปัญญารอบด้านขบปัญหาและโจทย์ให้แตก มิฉะนั้นจะถวายงานไม่สำเร็จแน่มีพระราชกระแสเพียงแค่นี้ก็ต้องขวานขวายให้พบ และก็พบวัดมงคลนี่แหละ ก็รับสั่งว่าใช่ ก่อนจะไปสำรวจก็มีเรื่องประหลาดอีก พวกเราปลอมตัวไป ชาวบ้านก็เล่าให้ฟังว่ามีหลายคนฝันถึงพระเจ้าอยู่หัว และโบสถ์ที่ยังสร้างค้างอยู่ จะมีผู้สูงศักดิ์มาช่วยให้สำเร็จ วันรุ่งขึ้นพวกเราก็แปลงกายเป็นพ่อเลี้ยงมากว้านหาซื้อที่ เจรจาไม่ค่อยจะสำเร็จ ชาวบ้านกลัวเป็นนายทุนมาหลอก ก็บอกเขาว่า ซื้อแล้วไม่เอาไปไหนหรอกพัฒนาแล้วก็เป็นประโยชน์แก่ชาวบ้านเอง ใครจะเชื่อ นายทุนอย่างนี้มีด้วยหรือ? ความ มาแตกเอาตอนที่เจรจาซื้อที่ของลุงสมจิต เผอิญมีปฏิทินแขวนอยู่ข้างฝาบ้านเป็นรูปพระเจ้าอยู่หัว กำลังเสด็จฯ อยู่แห่งหนึ่ง มีพวกเราทั้งฝูงตามเสด็จฯ อยู่ ลุงสมจิต เหลือบไปเห็นปฏิทินแล้วมองหน้าพวกเรา เจอะหน้าแต่ละคนเหมือนบนปฏิทินยังกับแกะ ความลับเลยแตก พ่อเลี้ยงตัวปลอมเลยต้องสารภาพเปิดเผยตัว การซื้อที่ดินก็เลยสะดวกโยธิน พอชาวบ้านรู้ ป้าบุญเรืองก็ถวายเพิ่มอีกหลายแปลง เป็นพระบารมีโดยแท้


ต่อ จากนั้น ก็ลงมือพัฒนาตามแนวพระราชดำริ ยึดหลักชาวบ้าน วัด ราชการ (โรงเรียนด้วย) ให้ประสาน 3 ส่วนด้วยกัน โดยมีพระเป็นศูนย์กลาง มาทำบุญ แล้วก็มาเรียนรู้การเกษตรหลังวัดได้ ทำแหล่งน้ำ ปลูกข้าว ปลูกไม้ไร่ ไม้สวน ครบถ้วน พอวันเสด็จฯ มา ทรงพอพระทัยมาก ระหว่างเสด็จฯ พระราชดำเนินเลาะริมสระน้ำอยู่ ก็รับสั่งว่า “รูปแบบการพัฒนานี้เป็นรูปแบบที่ดี มีหกอย่างในแปลง ชาวบ้านเขามีกินมีใช้มีอยู่ ฝนทิ้งช่วงก็มีน้ำในสระคอยพยุงไว้ เป็นทฤษฎีใหม่นะ” ณ วันนั้น เวลานั้น ชื่อโครงการทฤษฎีใหม่ ซึ่งแพร่ขยายไปทั่วประเทศในขณะนี้ ก็อุบัติขึ้น


จะ เห็นว่า โครงการแต่ละโครงการมีเบื้องหลังที่น่าจดจำสร้างความตื่นเต้นสนุกสนาน เพลิดเพลินยิ่งนัก จนลืมความเหน็ดความเหนื่อยไปหมด ดังที่ได้ทรงปรารภขึ้นมาเมื่อเย็นวันที่ 5 พฤษภาคม 2548 วันฉัตรมงคลวันที่มีความหมายสำคัญยิ่งสำหรับพวกเราชาวไทย


วันนี้ พวกเราต้องพูดตรงๆ ว่า พวกเราเหงามาก ไม่ค่อยได้มีโอกาสตามเสด็จฯ โดยมีพระองค์เสด็จฯ นำหน้าเราเหมือนในอดีต วันที่รับสั่งจึงรู้สึกสะท้อนใจมาก “ประโยชน์สุข” ที่ทรงสร้างให้แก่แผ่นดินนั้นยิ่งใหญ่ ยากจะอรรถาธิบายเรียบเรียงมาครบถ้วนให้ได้รับทราบ ทั้งในความรู้สึกในส่วนลึกของหัวใจ จะมีแดดแผดเผา จะมีฝนตกไม่ลืมหูลืมตา จะย่ำโคลนน้ำท่วม จะไต่เขาสักกี่ลูก เพื่อพสกนิกรชาวไทย ได้ทรงทำมาหมดตลอดเวลา 59 ปี ทำให้แผ่นดินนี้มั่นคง มั่งคั่งพสกนิกรอยู่เย็นเป็นสุข พวกเราคงต้องรักษาทะนุถนอมสมบัติชาติของเราไว้ ช่วยแบ่งเบาพระราชภาระที่ทรงแบกหนักอึ้งมาตลอดเวลายาวนานถึงครึ่งศตวรรษกว่า โดยยึดหลัก “รู้ รัก สามัคคี” สละประโยชน์ส่วนน้อยของเรา เพื่อประโยชน์ส่วนรวมที่ใหญ่กว่า

แผ่นดินนี้จะได้ตกถึงลูกหลานเหลนตลอดไป


ขอพระองค์ทรงพระเจริญยิ่งยืนนานด้วยเทอญ


"ขอขอบพระทัยและขอบใจท่านทั้งหลายเป็นอย่างยิ่ง ที่มีไมตรีจิต พรั่งพร้อมกันมาให้พรวันเกิด ด้วยถ้อยคำที่เลือกสรรมาจากใจจริง ซึ่งปราถนาดีมุ่งหมายให้ข้าพเจ้ามีความสุข ความสวัสดีด้วยประการต่างๆ ความสุข ความสวัสดีของข้าพเจ้าจะเกิดขึ้นได้ ก็ด้วยบ้านเมืองของเรามีความเจริญมั่นคง เป็นปกติสุข ความเจริญมั่นคงทั้งนั้นจะสำเร็จผลเป็นจริงไปได้ ก็ด้วยทุกคนทุกฝ่ายในชาติ มุ่งที่จะปฏิบัติหน้าที่ของตนให้เต็มกำลัง ด้วยสติ รู้ตัว ด้วยปัญญา รู้ผิด และด้วยความสุจริต จริงใจ โดยเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมยิ่งกว่าส่วนอื่น

จึงขอให้ท่านทั้งหลายในที่นี้ ซึ่งมีตำแหน่งหน้าที่สำคัญอยู่ในสถาบันหลักของประเทศ และชาวไทยทุกคน หมู่เหล่า ทำความเข้าใจในหน้าที่ของตนให้กระจ่าง แล้วทำตั้งจิต ตั้งใจ ให้เที่ยงตรงหนักแน่น ที่จะปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ดีที่สุด เพื่อให้สำเร็จประโยชน์ส่วนรวมอันไพบูลย์ คือ ชาติ บ้านเมือง อันเป็นถิ่นที่อยู่ที่ทำกินของเรา มีความเจริญ มั่นคง ยั่งยืนไป

ขออำนาจแห่งคุณพระรัตนตรัยและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ จงคุ้มครองรักษาท่านให้ปราศจากทุกข์ ปราศจากภัย และอำนวยสุขสิริสวัสดิ์ พิพัฒนมงคลให้สัมฤทธิผลขึ้นแก่ท่าน ทั่วหน้ากัน"

พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
5 ธันวาคม 2552
ในพระราชพิธีออกมหาสมาคมเนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษา
ณ พระที่นั่งอัมรินทรวินิจฉัย ในพระบรมมหาราชวัง

วันพุธที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2552






ในวโรกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕๒ ข้าพระพุทธเจ้าขออาราธนาคุณพระศรีรัตนตรัย รวมทั้งพระะบรมเดชานุภาพขององค์สมเด็จพระบุรพมหากษัตริยาธิราชเจ้าทุกพระองค์ เทวานุภาพแห่งองค์พระสยามเทวาธิราช พระหลักเมือง พระเสื้อเมือง พระทรงเมือง และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายในสากลพิภพ โปรดอภิบาลให้ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทจงมีพระสุขภาพพลานามัยแข็งแรง ปราศจากพระโรคาพาธทั้งปวง ทรงเจริญพระชนมพรรษายิ่งยืนนาน สถิตย์เป็นมิ่งขวัญของพสกนิกรชาวไทยสืบต่อไปชั่วกาลนานเทอญ

ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ

วันพฤหัสบดีที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2552

ช่องว่างระหว่างวัยในการทำงาน


ช่องว่างระหว่างวัยในการทำงาน

หนึ่งในสาเหตุของความเครียดในที่ทำงาน คือ การที่คนหลายรุ่น หลายวัย หลายความคิด ต้องมาทำงานร่วมกัน ความแตกต่างระหว่างเลขวัยที่สัมพันธ์กับเลขไมล์ของประสบการณ์ มักนำมาซึ่งความไม่เข้าใจกัน..จนก่อตัวเป็นความขัดแย้งในที่สุด บางทีความแตกต่าง คือ กุญแจแห่งความสำเร็จ เพียงขอเปิดใจทำความรู้จักคนแต่ละรุ่น ให้ลึกซึ้งก็จะได้พบโลกใบใหม่ที่งดงาม หลากหลาย และหากเลือกที่จะสื่อสารได้อย่างถูกช่องถูกกลุ่มก็อาจจะได้อะไรใหม่ ๆ คาดไม่ถึง ใครเป็นใครในที่ทำงาน เราจะแบ่งรุ่นของคนทำงานในที่ทำงานให้ชัด ๆ ก่อน โดยจำแนกจากช่วงปีเกิด ซึ่งจะสัมพันธ์กับประสบการณ์ในช่วงเติบโต ทำให้เห็นยุคสมัยที่หล่อหลอมความคิดของพวกเขาได้ชัดเจนขึ้น


กลุ่มลายคราม : คนที่เกิดก่อนปี 2498


ลายคราม...ไม่ว่าจะดำรงตำแหน่งกรรมการที่ปรึกษา หรือเป็นพนักงานวัยใกล้เกษียณ คนกลุ่มนี้จะมีผู้คนนับหน้าถือตามากมาย อันเนื่องมาจากประสบการณ์การทำงานอันยาวนานของพวกเขานั่นเอง คนกลุ่มนี้จะเกิดก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 จะยุติ จึงเติบโตมาท่ามกลางสภาพบ้านเมืองที่มีทรัพยากรที่จำกัด ทำให้รู้จักคุณค่าของเงิน มักมีคุณลักษณะที่มั่นคงเชื่อใจได้ สู้งานหนัก ใช้จ่ายอย่างรู้คิด และภักดีต่อองค์กรสูง


กลุ่ม Baby Boom: คนที่เกิดช่วงปี 2499 – 2507


หลังสงครามยุติ ประเทศเข้าสู่ความสงบ การรณรงค์คุมกำเนิดยังไม่แพร่หลาย จึงเกิดพลเมืองตัวน้อย ๆ ขึ้นมากมาย Baby Boomเติบโตขึ้นมาท่ามกลางความเปลี่ยนแปลง และแข่งขันกับคนวัยเดียวกันเพื่อให้ได้งาน ยิ่งเมื่อประเทศกำลังพัฒนาเพื่อก้าวไปสู่ยุคความเป็นอุตสาหกรรม Baby Boom ก็ยิ่งจำเป็นต้องทำงานหนักมากขึ้น เต็มเหยียดวันละ 8 ชั่วโมง 6 วันต่อสัปดาห์
ลูกจ้าง Baby Boom มักเคยชินต่อการพิสูจน์ตัวเอง เพื่อให้นายจ้างยอมรับในศักยภาพ การจะก้าวไปสู่ตำแหน่งใหญ่นั้นต้องใช้เวลาและแรงผลักดันอย่างสูง


กลุ่ม Generation–X: คนที่เกิดช่วงปี 2508 – 2523


Generation–X ลืมตาดูโลกในช่วงเวลาที่มนุษยชาติส่งยานอวกาศออกไปนอกโลกได้สำเร็จ ของเล่นสุดฮิตของเด็กรุ่นจึงไม่ใช่ม้าโยก หรือตุ๊กตาหมีอีกต่อไป แต่เป็นวิดีโอเกม เกมกด และ Walkman พวกเขาเติบโตมาในยุครอยต่อของ Analog กับ Digital อยู่ท่ามกลางเทคโนโลยีที่สร้างความตื่นตาตื่นใจ ทว่าที่สังคมเปลี่ยนแปลงในทางวัตถุนี้ กลับทำให้สถาบันครอบครัวสั่นคลอน ความภักดีต่อองค์กรของคนรุ่นนี้จึงคลายลงมาก นำมาสู่การลาออก และเปลี่ยนงานเป็นว่าเล่น
ไม่แปลกที่ชาว Baby Boom ผู้ไม่เคยเกี่ยงที่จะทำโอทีจนดึกดื่นจะอึ้งที่ชาว Generation–X ปฏิเสธการทำงานล่วงเวลา หรือลาออกไปหางานใหม่หน้าตาเฉยหากไม่พอใจ ทั้งนี้เพราะ Generation–X เชื่อว่างานไม่ใช่ทุกสิ่งทุกอย่างของชีวิต


กลุ่ม Millennium: คนที่เกิดปี 2524 เป็นต้นมา



Millennium คือ กลุ่มคนทำงานหน้าใหม่ไฟแรง แต่ยังอ่อนต่อประสบการณ์ บางคนอาจยังเรียนไม่จบเสียด้วยซ้ำ หรือบางคนมีแผนที่จะเรียนต่อ ชาว Millennium โตมาพร้อมกับคอมพิวเตอร์และโทรศัพท์มือถือ รวมถึงระบบการศึกษาที่เริ่มให้ความสำคัญกับการคิดมากกว่าการท่องจำ
ชาว Millennium จะมีพ่อแม่ที่มีความรู้สูง จึงให้การสนับสนุนให้ Millennium ได้เสริมทักษะด้านต่าง ๆ ตั้งแต่เด็ก ฉะนั้น Millennium จึงชอบแสดงออก มีความเป็นตัวของตัวเองสูง และสนุกกับการทำงานเป็นทีม ไม่ชอบอยู่ในกรอบ และไม่ชอบเงื่อนไข
ในขณะที่ ชาว Generation-X เปลี่ยนงานครั้งที่ 12 เพื่อเป็นผู้บริหารระดับสูงกินเงินเดือนเรือนแสน แต่ชาว Millennium จะลาออกไปเริ่มธุรกิจเล็ก ๆ ของตัวเอง

สลายช่องว่างสร้างความเข้าใจ
เมื่อเข้าใจอย่างท่องแท้แล้วว่า ใครมีค่านิยมในชีวิตอย่างไร ใคร ๆ ก็สามารถสร้างสะพานข้ามช่องว่าง เพื่อข้ามไปหากันได้


สูตรสร้างสะพานข้ามช่องว่าระหว่างวัยมีอยู่ 3 ขั้นตอน

1. เข้าใจถึงความแตกต่าง ยอมรับว่าคนเราถูกหล่อหลอมมาไม่เหมือนกัน คนที่มีความเชื่อ หรือทัศนคติต่อชีวิตไม่เหมือนคุณ เขาไม่ใช่คนไม่ดีเสมอไป
2. ชื่นชมจุดดี แทนที่จะต่อต้าน ให้เราลองมองหาจุดเด่นของคนในแต่ละกลุ่มให้พบ
3. บริหารความแตกต่าง เปลี่ยนวิธีการสื่อสารให้เข้าถึงคนแต่ละกลุ่มที่เราต้องทำงานด้วย

ทำงานกับกลุ่มลายคราม

จงให้เกียรติและให้ความเคารพอย่างสูงต่อพวกเขา เมื่อคุณให้เกียรติผู้ใหญ่ ผู้ใหญ่ก็จะให้เกียรติคุณ แล้วถ้าบังเอิญคุณมีตำแหน่งสูงกว่าพวกเขา จงแสดงความชื่นชมต่อเขาในด้านการ เป็นเสาหลักขององค์การ และจงรับฟังเมื่อพวกเขาถ่ายทอดประสบการณ์ในอดีต การต่อสู้ ความพากเพียรในการทำงานจน ผ่านพ้นความยากลำบากมาได้ เพราะสิ่งนั้นคือ สิ่งที่คนรุ่นหลังไม่มี และไม่รู้จัก อย่ามองว่า..กลุ่มลายครามคือ หมาล่าเนื้อไม่มีที่ไป แต่การที่พวกเขาทำงานอยู่จนถึงวัยเกษียณนั้น เป็นเพราะพวกเขา เชื่อในคุณค่าของความมั่นคง และถือความซื่อสัตย์เป็นที่สุด


ทำงานกับกลุ่ม Baby Boom

จงแสดงความนับถือ รับฟัง และเรียนรู้จากประสบการณ์ของ Baby Boom แล้วพยายามปรับใช้ให้เป็นประโยชน์ ไม่ว่าคุณจะเก่งกาจแค่ไหน หรือคุณจะประสบความสำเร็จเพียงใด คุณก็ยังต้องเรียนรู้อยู่เสมอ อย่าแสดงออกว่าการทำงานหนัก คือ การถูกเอาเปรียบ เพราะ Baby Boom ให้ความสำคัญต่อหลักการทำงาน ยึดถือวัฒนธรรมองค์การ และเห็นคุณค่าต่อการทำงานอย่างทุ่มเท หากต้องทำงานในองค์กรใหญ่ ๆ ที่มีประวัติศาสตร์ยาวนาน ซึ่งบริหารงานโดย Baby Boom ควรพยายามเรียนรู้วัฒนธรรมองค์กรเสียก่อนว่ามีการเจริญเติบโตมาอย่างไร ก่อนที่จะเสนอความคิดริเริ่มเพื่อการเปลี่ยนแปลงใด ๆ แก่ Baby Boom

ทำงานกับกลุ่ม Generation–X
ต้องพูดให้กระชับ ชัดเจนและไม่อ้อมค้อม เพราะ Generation–X ชอบความตรงไปตรงมา คุณสามารถใช้ Email กลับคนกลุ่มนี้ได้ หากคุณสามารถสื่อสารได้ใจความและตรงเป้าหมาย หากเป็นเรื่องใหญ่จริง ๆ ควรพูดต่อหน้าเพราะ Generation–X ไม่ชอบถูกบงการ ผู้ใหญ่แค่ให้นโยบายกว้าง ๆ เปิดโอกาสให้เขาได้แก้ปัญหาเองจะดีที่สุด
ส่วน Baby Boom ควรลดความคาดหวังต่อ Generation–X ในการทำงานหนัก อย่างหนักโดยไม่มีวันหยุด หรือก้าวไปอย่างช้า ๆ อย่างรุ่นตน เพราะ Generation–X ต้องการชีวิตที่สมดุล ไม่ชอบการอยู่ติดที่

ทำงานกับกลุ่ม Millennium
ลองท้าทายพวกเขาด้วยภารกิจใหม่ ๆ Millennium จะชอบความเป็นคนสำคัญ การเพิ่มความรับผิดชอบ เสมือนการให้คำชม จงเปิดโอกาสให้ Millennium ได้แสดงความคิดเห็นของเขา เห็นพวกเขาเป็นส่วนหนึ่งในทีม ผู้ใหญ่ที่ยอมรับความคิดเขา ก็จะได้รับการยอมรับจากพวกเขาเช่นกัน Millennium ชอบให้คุณแสดงออกต่อสิ่งที่พวกเขาทำทุกขณะจิต เพราะความรู้สึกและความคิดเห็??ของเพื่อนร่วมงาน มีผลต่อพวกเขามาก

แค่เข้าใจ..ทุกอย่างก็ลงตัว

ที่มาซ forwarded mail

วันพุธที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2552


วิชามารรัฐกิจ-101 : ว่าด้วยการโกงรัฐให้แนบเนียน โดยไม่ต้องประมูลได้อย่างไร?

วันที่ 08.06.2552
โดย รองศาสตราจารย์ ดร. ต่อตระกูล ยมนาค

ลองวาดภาพในอนาคตอีก 10 ปีข้างหน้าเราอาจจะได้เห็นหลักสูตรสอนวิชาโกงรัฐขึ้นสอนในระดับมหาวิทยาลัยในหลักสูตรบริหารธุรกิจ ถ้าสังคมไทยยังพัฒนาการเมืองไปในทางที่เป็นอยู่เหมือนในปัจจุบันที่มีนักการเมืองที่โกงกินเงินของประเทศ ยังคงได้เงินก้อนใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ จากส่วนแบ่ง 5% เพิ่มเป็น 10%,15%, 20%, 25% มาเป็น 30% ในปัจจุบันนักการเมืองจำนวนหนึ่งเติบโตอย่างรวดเร็ว จากเงินที่ได้มาเพียง 1,000 ล้าน (10%) เมื่อ 6 ปีก่อน กลายมาเป็นกลุ่มนักการเมืองที่สำคัญในปัจจุบัน นักการเมืองอีกพวกหนึ่งเรียนรู้เทคนิคลับนี้จากปรมาจารย์ที่เป็นระดับผู้นำพรรคหนึ่งในอดีต สามารถล็อกเงื่อนไขการประมูล ทำให้พรรคพวกกลุ่มตนเองได้งานจัดซื้อจัดจ้างงานภาครัฐเกือบทั้งหมด

ความรู้ที่ต้องเรียกว่าเป็น วิชามารรัฐกิจนี้ มีผู้รู้อยู่ในนักการเมืองจำนวนไม่มาก จากหลักการโกงง่ายๆ ที่มีแต่หลักการที่ว่า ต้องอย่าให้มีหลักฐานเป็นลายลักษณ์อักษร โดยห้ามรับเป็นเช็ค ให้รับเป็นเงินสดเท่านั้น แม้จะต้องใช้รถแวนขนกันเต็มคันรถก็ตาม หากต้องเขียนให้เขียนบนฝ่ามือแล้วชูให้อ่าน เมื่อฝ่ายผู้ถูกรีดไถอ่านเสร็จให้รีบลบข้อความออกจากฝ่ามือ โดยถูมือทั้งสองข้างทันที

จากความรู้เทคนิคง่ายๆ กลายเป็นความรู้ที่ขยายตัวไปถึงการนำเงินเหล่านั้นไปใช้เพื่อเข้าสู่การยึดอำนาจปกครองประเทศตามวิถีทางการเลือกตั้งในระบอบประชาธิปไตยแบบไทยๆ ได้อย่างไร โดย ดร.วุฒิพงษ์ เพรียบจริยวัฒน์ ได้นำมารวบรวมเป็นครั้งแรก ตีพิมพ์เป็นหนังสือชื่อ "คู่มือทรราช - เทคนิคการคอร์รัปชันปล้นชาติ ยึดประเทศและทำลายคนดี" เมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ.2543 และกลายเป็นหนังสือขายดี ที่ทำนายเหตุการณ์บ้านเมืองในอีก 5 ปี ได้แม่นยำยิ่งกว่าหมอดู และในปี 2550 ดร.วุฒิพงษ์ ก็เป็นผู้หนึ่งที่ถูกวิชามารนี้ทำลายไปตามเทคนิค "ทำลายคนดี" ที่อาจารย์ได้เขียนไว้เองในหนังสือเล่มนี้ ขอยกบัญญัติ 10 ประการของผู้ที่จะเป็นผู้นำทรราชมาสรุป ดังนี้

1.ยึดรัฐบาล เริ่มด้วยการยึดสภาหรือกวาดซื้อ ส.ส. 2.ยึดธุรกิจผูกขาด ธุรกิจคมนาคม ธุรกิจขนส่ง 3.ยึดองค์กรของรัฐ วางคนของตัวเองในตำแหน่งสำคัญๆ ในกระทรวงทบวงกรมต่างๆ และรัฐวิสาหกิจ 4.ทำลายคู่แข่งทางการเมือง วิธีการทำลายที่ดีที่สุดก็คือทำลายภาพลักษณ์และความน่าเชื่อถือ 5.ทำลายคนดี ต้องทำลายเพราะคนดีเป็นอุปสรรคการโกงชาติ ปล้นประชาชน วิธีการที่ดีที่สุดคือซื้อสื่อ 6.ทำลายภาคประชาชน ให้ขัดขวางความเติบโตของภาคประชาชนด้วยการทำให้พวกเขาขาดแคลนใน "3 ชั่น" คือ Education, Organization และ Information 7.ขัดขวาง (ทำลาย) การปฏิรูปทางการเมือง 8.สร้างภาพลักษณ์ เน้นวิธีการ "เอาดีใส่ตัว เอาชั่วใส่คนอื่น" และซื้อนักวิชาการ 9.สร้างเครือข่ายทุจริตชน ควรประกอบด้วยบุคคลหลากหลายอาชีพ เช่น นักการเมือง นักธุรกิจ ข้าราชการระดับสูง ผู้บริหารรัฐวิสาหกิจ นายทหารระดับสูง มาเฟีย สื่อมวลชนอาวุโส 10.สร้างการบริหารองค์กรทรราช ต้องบริหารแบบทรราชมืออาชีพ และพัฒนาฝีมือตนเองอยู่เสมอ เพื่อให้สามารถเขมือบโครงการที่มีมูลค่าสูงขึ้นเรื่อยๆ สู่ระดับแสนล้านบาทให้ได้

ในเนื้อหาวิชามารรัฐกิจ-101 จะให้ความรู้ในขั้นปฏิบัติของกลุ่มผู้ทุจริตโกงชาติต่อจากตำราคู่มือทรราช เพื่อให้สามารถโกงเงินรัฐให้แนบเนียนโดยไม่ต้องประมูลได้อย่างไรเป็นความรู้ที่สาธารณชนคนดี ที่รักชาติ รักประชาธิปไตยควรรู้ไว้ และใช้ในการติดตามพฤติกรรม

ลักษณะขบวนการโกงเงินของชาติจะมีพฤติกรรม 9 ประการ ดังนี้

1.จะไม่สร้างหลักฐานเป็นลายลักษณ์อักษร ไม่มีเอกสารและลายเซ็น ไม่มีการโอนเงินทางธนาคาร ไม่เจรจาในสถานที่อาจถูกอัดเทป อัดคลิป หรือถูกถ่ายภาพ

2.ล็อกเงื่อนไขการประมูลตั้งแต่เริ่มเขียนโครงการ (TOR) กำหนดเงื่อนไขที่มีผู้ผลิตได้คนเดียวในโลก เช่น เครื่อง X-Rays กระเป๋า ต้องตรวจยาเสพติดได้ด้วย กำหนดเงินค้ำประกันสูงหลายพันล้าน กำหนดคุณสมบัติพิเศษที่มีราคาสูงแต่เวลาทำจริงจะลดหย่อนสเปคให้ถ้าเป็นบริษัทพวกตัวเอง กำหนดเวลาส่งมอบสั้นและมีค่าปรับสูงมากและกำหนดเสร็จภายใน 1 ปี แต่ทำจริงต่อรองให้เป็น 2 ปีครึ่งและไม่ปรับ

3.จำกัดผู้มีสิทธิเข้าประมูลให้เหลือเพียงบริษัทกลุ่มของตนจัดเป็นคู่แข่งหลอกไม่เกิน 2 ราย

4.แต่งตั้งข้าราชการที่มีอำนาจ ประธานกรรมการและกรรมการ รัฐมนตรี เข้าไปควบคุมทุกกรรมการ

5.สร้างการสนับสนุนจากสื่อ โดยซื้อนักเขียนบทวิจารณ์ และสร้างม็อบว่าจ้างมาสนับสนุนโครงการ

6.สร้างโครงการที่เป็นโครงการเทคโนโลยีสูง เป็นเทคโนโลยีใหม่ ทำให้สร้างราคากลางได้สูง

7.จำกัดระยะเวลา การจัดเตรียมราคาเสนอให้จำกัด ทำให้คนทั่วไปจัดเตรียมข้อมูลเสนอประมูลไม่ทัน ส่วนพวกตัวเองได้เตรียมการมาล่วงหน้าเป็นปี

8.ใช้วิธี E-Auction ทำให้รู้ตัวผู้ที่จะเข้าประมูลแข่งได้หมด ฮั้วได้ 100%

9.ให้หลีกเลี่ยงการนำเข้าเสนออนุมัติในคณะรัฐมนตรีที่มีพรรคอื่นร่วมพิจารณาด้วย ถ้าจำเป็นให้เจรจาแลกเปลี่ยนการหนุนโครงการจากพรรคตรงข้าม

ถ้าได้ทั้ง 9 ข้อแล้ว ยังมีผู้เข้ามาประมูลแย่งงานในราคาต่ำ ให้หาเหตุตัดผู้เสนอเหล่านั้นให้หมดสิทธิได้รับการเปิดซองราคา โดยใช้เหตุผลว่าไม่ผ่านทางด้านของเทคนิค

ที่มา: กรุงเทพธุรกิจ 08/06/52

วันพุธที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2552

เตรียมตัวเขียนรายงานการประชุมแบบมืออาชีพ

เตรียมตัวเขียนรายงานการประชุมแบบมืออาชีพ

จะทำอย่างไร เมื่อคุณเป็นเลขามือใหม่ ที่ถูกเจ้านายสั่งให้จดบันทึกการประชุม ซึ่งคุณยังไม่เคยเตรียมตัวสำหรับงานนี้มาก่อน คุณเริ่มกังวลและลนลาน การจดบันทึกการประชุมมีหลักการง่ายๆ ที่คุณควรทราบ เริ่มจากคุณต้องทราบก่อนว่า รายงานการประชุมนั้นเป็นการจดบันทึกที่มีความเป็นทางการสูง ดังนั้นคุณต้องมีความรวดเร็ว แม่นยำ จับประเด็นได้ดี
ต่อไปนี้เป็นคำแนะนำเพื่อให้คุณสามารถจดบันทึกการประชุมได้อย่างมืออาชีพ
ก่อนการประชุม
เลือกอุปกรณ์ในการจดบันทึก เช่น ปากกา กระดาษ เครื่องคอมพิวเตอร์ หรือ เครื่องบันทึกเสียง สำหรับเลขาฯ ยุคใหม่มักไม่ค่อยจดบันทึกด้วยมือแล้ว ส่วนใหญ่จะพิมพ์รายงานลงไปในคอมพิวเตอร์ทันที เพื่อความรวดเร็ว และการทำงานเพียงครั้งเดียว
ตรวจสอบว่าอุปกรณ์ดังกล่าวพร้อมสำหรับการใช้งาน เพื่อให้แน่ใจว่ามันสามารถใช้งานได้ดี การทำงานอย่างมืออาชีพมักมีการเตรียมพร้อมเสมอ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดข้อผิดพลาด ซึ่งอาจทำให้การทำงานสะดุด ติดขัด ไม่ราบรื่น
นำวาระการประชุมมาศึกษา คุณจะได้เห็นภาพรวมทั้งหมด เพื่อทำความเข้าใจและเตรียมการ
ระหว่างการประชุม
ส่งเอกสารให้แก่ผู้เข้าร่วมประชุมทุกคน
จดรายชื่อของผู้เข้าร่วมประชุม และที่สำคัญคุณจำเป็นต้องรู้จักว่าใครเป็นใคร เพื่อให้คุณสามารถจดได้อย่างถูกต้อง
จดบันทึกเวลาเริ่มประชุม
ไม่ต้องพยายามจดทุกคำพูด จดเฉพาะใจความสำคัญเท่านั้นก็เพียงพอ
จดข้อเสนอที่ใช้อภิปรายในที่ประชุม ระบุว่าใครเป็นผู้เสนอ และผลการลงความเห็น
จดข้อเสนอต่างๆ ที่จะใช้สำหรับลงความเห็นในครั้งต่อไปด้วย
จดบันทึกเวลาปิดประชุม
หลังการประชุม
จัดทำรายงานการประชุมทันทีที่ออกจากห้องประชุม เนื่องจากข้อมูลทุกอย่างยังคงชัดเจนอยู่ในความจำของคุณ
ระบุชื่อองค์กร ชื่อคณะกรรมการ ประเภทของการประชุม เช่น ประจำวัน ประจำสัปดาห์ ประจำเดือน หรือประจำปี และระบุวัตถุประสงค์ในการประชุมด้วย
ลงเวลาที่เริ่มประชุม และปิดประชุม
ตรวจทานให้เรียบร้อยก่อนส่ง
ถึงคุณจะเป็นเลขาฯ มือใหม่ แต่คงไม่ยากเกินไปที่จะรับมือกับสถานการณ์นี้ เพราะหลักการเขียนรายงานการประชุมนั้นง่ายนิดเดียว และคุณเองก็สามารถทำได้อย่างมืออาชีพ
http://th.jobsdb.com/TH/TH/V6HTML/Home/admin_editor32.htm

การคิดแบบนักบริหาร

การคิดแบบนักบริหาร

เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์
ผู้อำนวยการสถาบันอนาคตศึกษาเพื่อการพัฒนา

ความคิดคืออะไร
ความคิดเป็นผลจากการทำงานของสมองในการก่อรูป (Formulate) บางสิ่งบางอย่างขึ้นในมโนคติ (mind) ผ่านการทำงานของระบบการรับรู้ทางจิต (cognitive system) โดยในส่วนของความคิดจะทำหน้าที่แยกแยะการกระทำและความรู้สึกผ่านกระบวนการทางความคิดอันจะนำไปสู่พฤติกรรมที่ตอบสนองสถานการณ์นั้น การคิดเป็นเรี่องที่สำคัญ การคิดไม่เหมือนกัน การคิดแบบจินตนาการ การคิดหวนรำลึกถึง การคิดใช้เหตุผล และการคิดแก้ปัญหา

การคิดเกี่ยวข้องกับผู้บริหารอย่างไร
•การคิดเกี่ยวข้องกับความอยู่รอด ทำให้คนอยากคิด เพื่อความอยู่รอดก็จะเริ่มคิดอะไรออกมา หากไม่มีก็เป็นเรื่องยากที่จะอยู่รอด
•ความต้องการสิ่งแปลกใหม่ กระตุ้นให้คิด คนอยากคิดก็คือไม่อยากยึดติดของเดิม ๆ พยายาม หารูปแบบใหม่ ๆ นักคิดก็คือ กบฏตัวน้อย มีใครคิดทฤษฎีใหม่ที่ไม่คิดกบฏต่อทฤษฎีเดิม ไม่พอใจของเดิมแต่หาดีกว่าจึงจะกล้าคิด หากเราบอกตัวเองว่า เขาเป็นข้าราชการที่เสียแล้ว หากเราไม่คิดจะเปลี่ยนแปลงในขณะที่รุ่นพี่ของเราเป็นอย่างนี้เราต้องนำการเปลี่ยนแปลงที่ดีมาสู่เรา
•ความสงสัย กระตุ้นให้คิด สร้างให้เกิดความรู้ ความอยากรู้อยากเห็น บางครั้งเด็กอยากรู้อยากเห็น แต่คนที่เป็นพ่อเป็นแม่ตอบว่า ถามอยู่ได้อย่างนี้ตัดความคิดเห็น พ่อแม่ต้องเป็นผู้สร้างการอยากรู้อยากเห็น
•สภาพปัญหา กระตุ้นให้คิด ปัญหาทำให้เราคิดสารพัด เราต้องหาวิธีออก วิธีคิด การที่เราพบปัญหานั้นทำให้เรานำมาใช้ประโยชน์ได้ การทำงานไม่ทำให้ออกมาเป็นรูปแบบเดิม ๆ ยุคนี้เป็นยุคที่ทำให้เกิดวิธีการคิดโดยมีวิธีการคิด 10 มิติ การคิด 10 มิติ เกิดจากการประชุมระดับชาติ เป็นการสอนให้คนเกิดการคิด นอกกรอบ

*ถอดเทปการบรรยายและเรียบเรียงจากการบรรยายหลักสูตรนายอำเภอรุ่นที่ 56 เมื่อวันจันทร์ที่ 13 ธันวาคม 2547 เวลา 13.00 - 16.00 น. ณ โรงเรียนนายอำเภอ วิทยาลัยการปกครอง กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย


วิธีคิดแบบผู้บริหารผ่านการคิด 10 มิติ
1. การคิดเชิงกลยุทธ์
2. การคิดเชิงอนาคต
3. การคิดเชิงสร้างสรรค์
4. การคิดเชิงวิพากษ์
5. การคิดเชิงบูรณาการ
6. การคิดเชิงวิเคราะห์
7. การคิดเชิงเปรียบเทียบ
8. การคิดเชิงสังเคราะห์
9. การคิดเชิงมโนทัศน์
10. การคิดเชิงประยุกต์

1. การคิดเชิงกลยุทธ์
การคิดเชิงกลยุทธ์เป็นเรื่องที่จำเป็น จริง ๆแล้วความคิดทั้ง 10 มิติ เป็นการใช้ตลอดเวลา และจำเป็นต้องใช้ในอนาคต สำหรับอันดับแรกเป็นการคิดเชิงกลยุทธ์ ผู้บริหารเป็นคนชี้ขาด คือ คนที่นำในองค์กร คนแรกที่ต้องพบปัญหา คนแรกที่ตัดสินว่าจะไปซ้ายหรือไปขวา ฉะนั้นการคิดเชิงกลยุทธ์เปลี่ยนมาก สถานการณ์เปลี่ยนตลอดเวลา และมีทรัพยากรจำกัด บุคลากรก็มีจำกัด สถานการณ์ปัจจุบันไม่สามารถแก้ปัญหาตามเคยชินได้ ฉะนั้นการคิดเชิงกลยุทธ์จึงมีความจำเป็นสำหรับผู้บริหารมากในการเผชิญปัญหาต่าง ๆ ในการวางแผน การบริหารจัดการ การกำหนดว่าจะทำอะไรก่อนหลัง นักวิชาการด้านการบริหารบอกว่า การคิดเชิงกลยุทธ์เป็นการวางแผนเพื่ออนาคตเพื่อการตัดสินใจในอนาคต มี 2 วิธีที่จะเผชิญในอนาคต วิธีหนึ่งที่เหตุการณ์จะเกิดขึ้น เดินไปเรื่อย ๆ ชีวิตนี้ปล่อยไปตามเวรตามกรรม ตามสภาวะแวดล้อม ตายเอาดาบหน้า อีกวิธีหนึ่ง คือ แน่นอนท่านไม่สามารถรู้อนาคตได้ เราคิดไปก่อนแล้วเราวางแผนไว้ แต่สิ่งนั้นเกิดขึ้นและต้องตัดสินใจ ณ วันนี้ นักวิชาการอีกคนหนึ่งนายไมเคิลบอกว่า ขบวนการคิดเชิงกลยุทธ์ เป็นการกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจนทั้งระยะสั้นและระยะยาว โดยการจัดสรรทรัพยากรตั้งแต่วันนี้ เพราะฉะนั้นผู้บริหารต้องกำหนดแนวทางที่ดีที่สุดภายใต้เงื่อนไขและทรัพยากรที่จำกัด ภายใต้การเปลี่ยนแปลงทุกอย่าง บริหารงบประมาณ บริหารบุคลากรให้บรรลุเป้าหมาย การจะให้บรรลุตามเป้าหมายต้องมีการวางแผนอย่างรัดกุม การประเมินความได้เปรียบและเสียเปรียบของสถานการณ์ ที่เกิดขึ้นและการคาดการณ์ของอนาคต การเลือกกลยุทธ์เป็นสิ่งสำคัญมากในการประสบความสำเร็จ หลักการคิดเชิงกลยุทธ์มีดังนี้
ขั้นที่หนึ่ง กำหนดเป้าหมายที่ต้องการจะไปให้ถึง
ขั้นที่สอง วิเคราะห์และประเมินสถานะ
ขั้นที่สาม การหาทางเลือกกลยุทธ์
ขั้นที่สี่ การวางแผนปฏิบัติการ
ขั้นที่ห้า การวางแผนคู่ขนาน
ขั้นที่หก การทดสอบในสถานการณ์จำลอง
ขั้นที่เจ็ด การลงมือปฏิบัติการ
ขั้นที่แปด การประเมินผล

2.การคิดเชิงอนาคต

มีประโยชน์มากและจำเป็นอย่างยิ่ง เพราะเป็นการคาดการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้นอย่างมีหลักเกณฑ์ที่เหมาะสม การคิดเชิงอนาคตมีหลายวิธี แต่ใช้วิธีที่เหมาะสมและประกอบด้วย 6 หลักดังนี้คือ
(1) หลักการมองอย่างองค์รวม (Holistic Approach) ต้องมองทุกด้านที่เกี่ยวข้องกัน
(2) หลักความต่อเนื่อง (Continuity) การคาดการณ์ในอนาคตต้องคาดการณ์อย่างต่อเนื่องเพื่อให้เกิดความสัมพันธ์กัน
(3) หลักความสัมพันธ์เชิงเหตุผล(Causal Relationship) การคิดเชิงอนาคตไม่ใช่เป็นการคิดแบบเดาสุ่ม แต่เป็นหลักของความคิดแบบมีความสัมพันธ์อย่างมีเหตุผลได้
(4) หลักการอุปมา(Analogy) โดยยึดหลักว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นต่าง ๆในโลกนี้ล้วนมีแบบแผน ล้วนดำเนินไปอย่างมีระบบ เหตุการณ์ใดที่เกิดขึ้นก็มักจะเกิดเหตุการณ์อื่นตามมาด้วย
(5) หลักการจินตนาการ(Imagination) การใช้จินตนาการเป็นการที่ทำให้การวาดภาพได้ในอนาคตเป็นการท้าท้าย การจะใช้หลักจินตนาการเราต้องใช้หลักเหตุผล เพื่อที่จะให้การจินตนาการไม่ไร้หลักการ
(6) หลักดุลยภาพ (Equilibrium) เป็นหลักการที่บอกว่าในโลกแห่งความเป็นจริง ต้องปรับเข้าหาส่วนดีเสมอ หากมีการเสียสมดุลย์เกิดขึ้นระบบก็จะพยายามปรับให้เกิดความสมดุลย์แก่ตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นความสมดุลย์ทางด้านเศรษฐกิจ ความสมดุลย์ในร่างกายของเราเอง

3. การคิดเชิงสร้างสรรค์

ผู้บริหารมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการคิดเชิงสร้างสรรค์ โจทย์ไม่เหมือนเดิม คำตอบไม่เหมือนเดิม วิธีตอบคำถามคือไม่เหมือนเดิม จึงมีความแปลกใหม่ ต้องการนวัตกรรมในการตอบคำถาม ในการบริหารงานต่าง ๆถูกบังคับให้เราต้องเอาชนะสิ่งต่าง ๆด้วยวิธีการใหม่ ๆการคิดเชิงสร้างสรรค์ไปสู่ความคิดใหม่ ๆ ที่ไม่เคยมีมาก่อนสามารถทำให้เราค้นหาคำตอบที่ดีที่สุด และอีกอย่างการคิดเชิงสร้างสรรค์เป็นการฝ่าวงล้อมในการคิดเล็ก ๆ หรือการแวกม่านความคิดต่าง ๆออกไปเพื่อค้นพบในการแก้ปัญหาใหม่ที่ไม่เคยมีมาก่อน ใครคิดก่อนได้เปรียบ หลักการคิดสร้างสรรค์ได้แก่
(1) ฝึกถามคำถามที่กระตุ้นให้เกิดความคิดใหม่ ๆ
(2) อย่าละทิ้งความคิดใด ๆจนกว่าจะพิสูจน์ได้ว่าไร้ประโยชน์
(3) การพัฒนาเทคนิคช่วยคิดสร้างสรรค์
วงการโฆษณามักจะใช้ขอบเขตทั้ง 3 ข้อดังกล่าว

4.การคิดเชิงวิพากษ์
หมายถึง ความตั้งใจพิจารณาตัดสินเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยไม่เห็นคล้อยตามข้อเสนอ ไม่ด่วนสรุปการเห็นคล้อยตาม เป็นการตั้งคำถามท้าท้ายหรือโต้แย้งสมมุติฐานที่อยู่เบื้องหลัง พยายามเปิดกว้างทางความคิดออกสู่ความแตกต่างในด้านต่าง ๆมากขึ้นให้ได้ประโยชน์มากกว่าเดิม หลักการคิดเชิงวิพากษ์ได้แก่
หลักที่ 1 ให้สงสัยไว้ก่อน................อย่าเพิ่งเชื่อ
หลักที่ 2 เผื่อใจไว้...............อาจจะจริงหรืออาจจะไม่จริงก็ได้
หลักที่ 3 เป็นพยานฝ่ายมาร............ตั้งคำถามซักค้าน

5.การคิดเชิงบูรณาการ
ผู้บริหารต้องคิดแก้ปัญหาในเชิงบูรณาการ ผู้บริหารต้องคิดไม่แยกส่วน ต้องคิดแบบแกนหลักได้อย่างเหมาะสม ครบถ้วนทุกมุมมอง ไม่แยกส่วนในการแก้ปัญหา หลักการคิดเชิงบูรณาการได้แก่
(1) ตั้ง “แกนหลัก”
(2) หาความสัมพันธ์เชื่อมโยงกับแกนหลัก
(3) วิพากษ์เพื่อให้เกิดการบูรณาการครบถ้วน

6. การคิดเชิงวิเคราะห์
ผู้บริหารมีความจำเป็นในการคิดเชิงวิเคราะห์ เช่นการวิเคราะห์จุดแข็งจุดอ่อน เพื่อจำแนกอุปกรณ์ของจุดใดจุดหนึ่งแล้วค้นหาสิ่งที่แท้จริงที่เกิดขึ้น สิ่งที่เกิดขึ้นย่อมมีที่มาที่ไป มีเหตุมีผลย่อมมีองค์ประกอบย่อย ๆที่ซ่อนอยู่ด้วย และองค์ประกอบนั้นมีความสอดคล้องหรือตรงข้ามกันกับสิ่งที่ปรากฏภายนอกหรือเปล่า หลักการคิดเชิงวิเคราะห์ประกอบด้วย
(1) หาความสัมพันธ์เชิงเหตุผลของข้อมูลที่ได้รับ
(2) ใช้หลักการตั้งคำถาม
(3) ใช้หลักการแยกแยะความจริง เช่น
(3.1) แยกแยะระหว่าง ความจริง (truth) กับความเชื่อ (belief)
(3.2) แยกแยะโดยจำกฎขั้วตรงข้าม (the principle of contradiction)
(3.3 แยกแยะระหว่างข้อเท็จจริง (facts) กับข้อคิดเห็น (opinions)

7.การคิดเชิงเปรียบเทียบ
การคิดเชิงเปรียบเทียบมีประโยชน์มากสำหรับผู้บริหาร 3 ด้านคือ
(1) คิดเปรียบเทียบใช้วิเคราะห์
(2) คิดเปรียบเทียบใช้อธิบาย
(3) คิดเปรียบเทียบเพื่อแก้ปัญหา
การคิดเปรียบเทียบเพื่อวิเคราะห์กับเหตุการณ์ที่มีลักษณะใกล้เคียงกัน มีความสัมพันธ์ใกล้เคียงกันเพื่อให้เราลดความผิดพลาด เช่น สมมุติมีเหตุการณ์ใดเกิดขึ้นแต่ยังไม่ชัดเจนอาจไม่สามารถวิเคราะห์ได้หรือตัดสินใจได้ ก็นำมาเปรียบเทียบมาวิเคราะห์ได้ว่าเหตุการณ์ไหนดีเหตุการณ์ไหนไม่ดี การคิดเปรียบเทียบเพื่อแก้ปัญหาเป็นการจุดประกายความคิดและการสร้างสรรใหม่ ๆ หลักการคิดเชิงเปรียบเทียบได้แก่
(1) กำหนดวัตถุประสงค์ของการเปรียบเทียบ
(2) กำหนดเกณฑ์ (criteria) การเปรียบเทียบ
(3) แจกแจงรายละเอียดของแต่ละเกณฑ์
(4) เปรียบเทียบและตอบวัตถุประสงค์

8.การคิดเชิงสังเคราะห์
เป็นความสามารถขององค์ประกอบต่าง ๆแล้วนำมาผสมผสานเข้าด้วยกันเพื่อให้ได้สิ่งใหม่ตามความประสงค์ที่เราต้องการ ในคำตอบจะตอบได้หลาย ๆอย่าง นำข้อดีของแต่ละอันมาสังเคราะห์เพื่อเป็นวิธีใหม่ที่นำมาใช้ในหน่วยงานของเราได้เลย เช่น การสังเคราะห์ช่วยให้เราไม่ต้องคิดสิ่งต่าง ๆจากสูตร หากเราไม่รู้ประโยชน์จากความคิดของคนรุ่นเก่าแทบจะไม่มีอะไรที่ยากที่ทำไม่ได้ ทุกอย่างมักจะมีแง่มุมที่ทำไว้แล้ว แต่เราใช้แรงสักหน่อย นำมาศึกษา นำมาสังเคราะห์ ดูจากเรื่องเดียวกันว่ามีปัญหาเคยเกิดไหม
การคิดจากเชิงสังเคราะห์เริ่มต้นจากการตั้งคำถามว่า มีอะไรที่เกี่ยวกับเรื่องการสังเคราะห์นำเอาสิ่งนั้นมาแยกแยะออกจากกัน ที่นำมาใช้ประโยชน์ร่วมกัน การกำหนดลักษณะและขอบเขตข้อมูลที่จะนำมาสังเคราะห์เป็นเรื่องสำคัญ เช่น การเลือกเฉพาะข้อมูลที่น่าเชื่อถือได้ โดยเลือกขอบเขตที่ชัดเจน


9.การคิดเชิงมโนทัศน์

หมายถึง การประสานข้อมูลทั้งหมดที่มีอยู่ในเรื่องใดเรื่องหนึ่งเข้าด้วยกันโดยไม่ขัดแย้ง การคิดเชิงมโนทัศน์เป็นการมอบภาพต่าง ๆ ให้มีความสอดคล้องกันให้เป็นภาพที่คมชัด กระชับสามารถอธิบายได้ เป็นการคิดรวบยอด สร้างกรอบความคิดให้ชัดเจน สามารถถ่ายทอดออกไปได้ การที่เราต้องเรียนรู้เชิงมโนทัศน์นั้นเพราะว่า กรอบความคิดเรื่องประสบการณ์และความรู้ ฉะนั้นการปรับมโนทัศน์ของเราและสร้างมโนทัศน์ใหม่จะเป็นเรื่องสำคัญ ยกตัวอย่างเช่น คำว่า “นายอำเภอ” นั้น เบื้องหลังสะท้อนถึงโครงสร้างการบริหารงาน สะท้อนถึงหน้าที่ บุคลิก บทบาทของขอบข่ายงาน เมื่อทุกสิ่งทุกอย่างถูกมาเรียงไว้ แล้วคิดออกมาเป็นมโนทัศน์ เช่น มโนทัศน์เรื่องของยาเสพติด เมื่อก่อนเรามีมโนทัศน์หมายถึง เสพแล้วติดให้โทษ แต่ปัจจุบัน ยาเสพติดที่ขายตามท้องตลาดซื้อได้ตามร้านขายยาด้วย ที่กินแล้วอาจไม่ได้ให้โทษมากมาย วิธีการสร้างมโนทัศน์ประกอบด้วย
(1) การเป็นนักสังเกต
(2) การตีความ
(3) การเปรียบเทียบระหว่างข้อมูลที่ได้รับมากับกรอบความคิดเดิม
ก.สามารถเปรียบเทียบความแตกต่าง/เหมือนกันในรายละเอียด
ข.สามารถแยกมโนทัศน์หลัก - มโนทัศน์ย่อยได้
(4) การปรับกรอบมโนทัศน์ใหม่
ก.การปรับกรอบเพิ่มในรายละเอียดมากขึ้น
ข.การขยายกรอบความคิดออกไปแนวข้างมากขึ้น
(5) การรับกรอบความคิดใหม่เข้ามาทั้งหมด
(6) การสร้างมโนทัศน์ใหม่ที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน

10.การคิดเชิงประยุกต์

หมายถึง ความสามารถที่มีอยู่เดิมมาปรับใช้ในบริบทใหม่ คล้าย ๆกับนำต้นไม้ เช่น นำต้นยางจากภาคใต้ไปปลูกภาคเหนือ ภาคอีสาน ต้นยางไม่เปลี่ยนแปลงแต่สภาพแวดล้อมเปลี่ยนแปลงเป็นเหมือนว่าเรานำกรอบ วิธีการหรือหลักเกณฑ์ต่าง ๆที่มีอยู่นั้น นำมาประยุกต์พวกนี้เกิดจากการคิดว่า เหล่านี้นำมาประยุกต์ใช้ได้ไหม เกิดผลดีผลเสียอย่างไร นำมาประยุกต์ใช้กับสถานการณ์ที่เราเผชิญอยู่ หลักการคิดเชิงประยุกต์ประกอบด้วย
(1) ใช้หลักการทดแทนคุณสมบัติหลัก
(2) ใช้หลักปรับสิ่งเดิมให้เข้ากับสถานการณ์
(3) ใช้หลักการหาสิ่งทดแทน
การคิด 10 มิติ นำมาจากหนังสือการคิดเชิงเปรียบเทียบ จำนวน 10 เล่ม สามารถอ่านจากหนังสือเพิ่มเติมได้ หากทุกคนรู้จักวิธีการคิดและรู้จักพัฒนาความคิดทั้ง 10 มิติ ก็จะเป็นประโยชน์และเป็นพื้นฐานสำหรับนักบริหารให้รู้จักคิด รู้จักไตร่ตรอง หาวิธีการแก้ปัญหาที่เหมาะสมหรือรู้จักดำเนินชีวิตอย่างมีกลยุทธ์ ทำให้ไม่เผชิญสถานการณ์แบบหนัก ๆ
**********************************
ถอดเทปการบรรยาย/เรียบเรียง/พิมพ์โดย
นางพรรณธิภา ธนสันติ นพบ. 6
วิทยาลัยการปกครอง

AQ – ความสามารถในการเอาชนะอุปสรรค - ความสามารถในการแก้ปัญหาของทหารอาชีพ

AQ – ความสามารถในการเอาชนะอุปสรรค - ความสามารถในการแก้ปัญหาของทหารอาชีพ

โดย พันเอก ดร. ธีรนันท์ นันทขว้าง
วันพุธที่ 18 มีนาคม พ.ศ.2552

อาจจะมีผู้ที่มีความสงสัยจำนวนมากว่า การเป็นทหารนั้นมีความแตกต่างกับประชาชนคนทั่วไปที่เป็นพลเรือนนั้นอย่างไร เพราะคนที่จะมาเป็นทหารทุกคนจะต้องผ่านกระบวนการในการเปลี่ยนจากพลเรือนมาเป็นทหารด้วยการฝึก และยังเป็นที่รู้กันดีโดยทั่วไปว่าการฝึกของทหารนั้นผู้ที่ที่เข้ารับการฝึกจะต้องเผชิญกับความยากลำบากมิได้สะดวกสบายแต่ประการใด ซึ่งประเด็นนี้เองอาจทำให้เกิดความสงสัยเพิ่มเติมไปอีกว่า คนที่จะมาเป็นทหารจะต้องมีความอดทนต่อความยากลำบากที่เผชิญขนาดนั้นเลยหรือ และคนที่รักความสบายอยากทำงานในลักษณะของงานสำนักงานเขาเหล่านั้นต้องเผชิญกับความยากลำบากไปด้วยหรือ

ความจริงแล้วทหารนั้นมีหลากหลายหน้าที่ ตั้งแต่ปฏิบัติการรบในภาวะสงครามจนถึงงานผลิตเอกสารตามสำนักงาน ซึ่งบนหลักการที่ควรจะเป็นนั้นคนที่ทำงานแต่ในสำนักงานและมิได้มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติการทางทหารนั้นก็ไม่มีความจำเป็นใดๆ ที่จะต้องเป็นทหารดังเช่น กองทัพของประเทศมหาอำนาจหลายประเทศ ที่มีพลเรือนร่วมทำงานเป็นส่วนหนึ่งในกองทัพอย่าง กองทัพสหรัฐฯ หรือกองทัพออสเตรเลีย และที่สำคัญคือกองทัพไทยเองก็กำลังดำเนินการปรับปรุงกองทัพให้ไปถึงจุดดังกล่าว ดังจะเห็นได้จากกองทัพไทยเริ่มมีการบรรจุพลเรือนเข้ามาทำงานในลักษณะที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการรบ เรียกว่า ข้าราชการพลเรือนกลาโหม

อย่างไรก็ตามปัจจุบันทางกองทัพยังคงเดินทางไปไม่ถึงจุดที่มีการแบ่งแยกความชัดเจนระหว่างทหารผู้ที่ปฏิบัติหน้าที่การรบกับทหารที่ทำหน้าที่ประจำสำนักงาน ดังนั้นคนที่อยู่ในกองทัพเกือบจะทุกคนจึงมีความเป็นทหาร แต่งเครื่องแบบทหาร มีวินัยอย่างทหาร และมีวิธีคิดอย่างทหาร ยกเว้นแต่ ลูกจ้างประจำ ลูกจ้างชั่วคราว และพนักงานราชการเท่านั้น ซึ่งนั่นก็หมายความว่าก่อนที่แต่ละคนจะได้แต่งเครื่องแบบทหารทุกคนจะต้องผ่านกระบวนการที่ปรับเปลี่ยนจากชีวิตพลเรือนให้เป็นทหาร

เพราะฉะนั้นจึงเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่คนที่เป็นทหารทุกคนจะต้องผ่านกระบวนการหรือการฝึก ซึ่งจะว่าไปแล้วกระบวนการหรือการฝึกนี้ก็ไม่ได้มีความลำบากเข็ญเท่าไหร่นัก เพียงแต่ผู้ที่เข้ารับการฝึกจะต้องมีการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตในระหว่างฝึก และปรับเปลี่ยนวิธีคิด ดังนั้นคนที่จะเข้ามาเป็นทหารทุกคนจึงต้องมี Adversity Quotient: AQ หรือ ความสามารถในการเอาชนะอุปสรรค เป็นพื้นฐานจึงจะสามารถผ่านห้วงของการฝึกไปได้ และมิได้หมายความว่าเมื่อผ่านการฝึกเข้ามาเป็นทหารได้แล้วจะไม่ต้องเจอกับการฝึกหรือเผชิญกับความยากลำบากอีก ทั้งนี้เป็นเพราะทหารเป็นอาชีพที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการความรุนแรง ซึ่งในบางครั้งคนที่เป็นทหารจะต้องประสบภาวะที่กดดันอย่างสูงมาก เช่นการตกอยู่ท่ามกลางสนามรบ และก็มีบ่อยครั้งที่หลายคนอยู่ในสภาวะนั้นกลายมาเป็นบุคคลที่มีปัญหาทางจิต

โดยเฉพาะอย่างยิ่งแล้วหน่วยทหารที่เกี่ยวข้องกับการทำงานที่มีความยากลำบากเช่น การเข้าสู้รบในสนามรบที่ต้องทนอยู่ในพื้นที่มีความเสี่ยงและอันตรายประสบกับภาวะที่กดดันอย่างสูงมาก หรือ การปฏิบัติงานของหน่วยรบพิเศษ เช่น การปฏิบัติงานในลักษณะชุดปฏิบัติการขนาดเล็กในหลังแนวของข้าศึก หรือ การปฏิบัติงานในพื้นที่ยากลำบากทุรกันดาร เป็นต้น

ด้วยความยากลำบากเหล่านี้จึงมีความจำเป็นเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ที่เข้ามาเป็นทหารจะต้องมี AQ ในระดับที่สูง เพราะไม่มีอะไรจะสามารถประกันความสำเร็จของงานหรือภารกิจที่ได้รับมอบหมายให้ไปปฏิบัติได้เท่ากับ ระดับของ AQ ที่สูงทีมีอยู่ในตัวทหารทุกคน เพราะ AQ คือ ความสามารถของบุคคลในการตอบสนองต่อเหตุการณ์ในยามที่ต้องเผชิญกับความทุกข์ยาก หรือความลำบาก [1] ซึ่งพัฒนาขึ้นโดย ดร. พอล สโตลท์ซ (Dr. Paul Stoltz) โดยผู้ที่มี AQ สูงจะมีจิตใจเข้มแข็ง ไม่ย่อท้อต่ออุปสรรคใด ๆ แม้จะพ่ายแพ้หรือล้มไปแล้วก็สามารถลุกขึ้นมาต่อสู้ใหม่ได้ ส่วนผู้ที่มี AQ ต่ำ เวลาเผชิญกับความผิดหวังหรือความทุกข์ยากก็จะยอมแพ้ บางคนอาจละทิ้งงานไปกลางคัน หรืออาจท้อแท้กับชีวิตถึงขั้นลาออกจากงานก่อนเกษียณก็มี

ดร.สโตลซ์ ยังได้ระบุถึงพบข้อแตกต่างระหว่างคนที่มี AQ สูงกับคนที่มี AQ ต่ำ โดยคนที่มี AQ สูงเมื่อเปรียบเทียบกับคนที่มี AQ ต่ำจะมีลักษณะดังนี้ [2]
• มีโอกาสได้รับการคัดเลือก (Selected) และได้รับการเลือกตั้ง (Elected) ให้เป็นผู้นำมากกว่า
• เป็นนักกีฬาที่มีความสามารถสูงกว่า
• มีอัตราในการละทิ้งงานหรือลาออกจากงานกลางคันน้อยกว่าคนที่มี AQ ต่ำ ถึง 3 เท่า
• เป็นผู้บริหารที่มีความสามารถในการปฏิบัติงานสูง
• สามารถเรียนรู้งานได้รวดเร็วกว่า และสามารถประยุกต์สิ่งที่เรียนรู้ไปใช้ในการทำงานได้อย่างชำนาญ
• เป็นนักแก้ไขปัญหาที่มีความสามารถสูง
• เป็นที่พึงพอใจหรือถูกใจของผู้ปฏิบัติงานที่มี AQ สูงเหมือน ๆ กัน

นอกจากนี้ สตอลท์ยังได้แบ่งบุคคลออกมาเป็น 3 กลุ่ม โดยเปรียบเทียบกับลักษณะของนักปีนเขา ไว้ดังนี้ [3]

1) พวกล้มเหลว (Quitter) กลุ่มคนเหล่านี้จะถอยห่าง ยอมแพ้ตั้งแต่เริ่มต้น ไม่มีการตั้งเป้าหมาย หรือจุดหมาย ลักษณะของคนกลุ่มนี้ จะลังเล ขี้กลัว ไม่กล้าเสี่ยง ถอดใจตั้งแต่เริ่มต้น
2) พวกล้มเลิก (Camper) กลุ่มเหล่านี้อาจจะสามารถเรียกอีกอย่าได้ว่า ท่าดีทีเหลว ช่วงแรกอาจจะมีเป้าหมายที่ดี พอทำไปสักพัก เจออุปสรรคหรือปัญหา ก็เกิดอาการท้อแท้ เลิกล้มไปโดยง่าย
3) พวกล้มลุก (Climber) บุคคลกลุ่มนี้จะมีลักษณะของนักปีนเขาโดยแท้ นั่นคือ เป็นที่มีความอดทน มุ่งมั่น มุ่งหน้า เพื่อไปสู่จุดหมายอย่างไม่ยอมแพ้โดยง่าย แม้ว่าจะมีอุปสรรคเข้ามาท้าทาย ตัวเขา แต่ก็ไม่ได้เป็นปัญหาจะทำให้กลุ่มคนกลุ่มนี้ เลิกล้มแต่ประการใด

จากที่กล่าวมาในข้างต้นจะพบว่า การที่กำลังพลของกองทัพมี AQ สูงย่อมจะช่วยให้ กองทัพปฏิบัติภารกิจได้อย่างสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี และเมื่อมองย้อนกลับไปยังกระบวนการที่ใช้ปรับเปลี่ยนบุคคลพลเรือนมาเป็นทหารนั้น จะพบว่ามีจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องทำการฝึกให้มีความทนทานต่อยากลำบากเป็นพื้นฐานลำดับแรกๆ สำหรับคนที่จะเป็นทหารทุกคน

ดังจะเห็นได้จาก รร.ทหาร ที่ทำหน้าที่ผลิตกำลังพลให้กับกองทัพในทุกระดับ(รร.นายร้อย – รร.นายสิบ) ล้วนแต่มีระบบและกระบวนการที่คอยคัดกรองผู้ที่มี ความอดทน อดกลั้น และการเผชิญกับปัญหาในเรื่องต่างๆ ในระดังที่ต่ำออกไป ซึ่งระบบเหล่านี้จะช่วยเปลี่ยนนักเรียนที่เป็นพลเรือนภายนอกให้กลายมาเป็นทหารตามที่กองทัพต้องการ ส่วนบุคคลอื่นๆ ที่เข้ามาเป็นทหารในกองทัพโดยมิได้ผ่าน รร.ทหาร ก็จะมีช่องทางหรือกระบวนการอื่นรองรับ เช่น การฝึกให้ข้าราชการกลาโหมพลเรือนก่อนที่จะทำการประดับยศ

ส่วนคนที่จะต้องปฏิบัติหน้าที่ในสนามรบหรือเกี่ยวพันกับการรบนั้นต้องได้รับการฝึกฝนเพิ่มเติม เพื่อให้กองทัพมีความมั่นใจได้ว่ากำลังพลที่จะเข้าปฏิบัติหน้าที่ในการรบมีความอกทนต่อความยากลำบาก มีขีดความสามารถในการที่จะเผชิญอุปสรรคต่างๆ นาๆ และสามารถที่จะผ่านพ้นอุปสรรคเหล่านั้นไปได้ ถ้าเขาเหล่านั้นสามารถผ่านพ้นความยากลำบากที่เกิดขึ้นจริงใน สนามรบ เช่นหลักสูตรทางการรบพิเศษต่างๆ อย่าง หลักสูตรของ ทบ. เช่น หลักสูตรจู่โจม หลักสูตรของ ทร.เช่น หลักสูตรนักทำลายใต้น้ำจู่โจม หลักสูตรการรบพิเศษ แขนงการลาดตระเวนสะเทินน้ำสะเทินบก และจู่โจม นย. และหลักสูตรของ ทอ. เช่น หลักสูตรปฏิบัติการพิเศษ

วันนี้สภาพการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและนวัตกรรมได้สร้างความสะดวกสบายให้กับเราผู้ซึ่งเป็นมนุษย์ทุกคน ในทุกอาชีพแต่อยากไรก็ตาม ไม่ว่าเราจะมีเครื่องที่ทันสมัยเพียงใดก็ตาม แต่ถ้าเราไม่มีคนที่มีความอดทน เราไม่มีคนที่ไม่ย่อท้อต่ออุปสรรค์ เราไม่มีคนที่ทนทานต่อปัญหา แล้วสังคมคงจะไม่สามารถขับเคลื่อนไปข้างหน้าได้อย่างมีดีและมีประสิทธิภาพ และจะยิ่งแย่หนักเข้าไปอีกถ้า เราไม่มีทหารที่มีความอดทน เราไม่มีทหารที่พร้อมจะเผชิญกับความยากลำบาก เราไม่มีทหารที่มีความมุ่งมั่นและไม่ย่อท้อแล้ว กองทัพไทยคงจะยุบตัวลงและประเทศชาติก็จะขาดหลักประกันด้านการป้องกันประเทศและคงดำรงอยู่ไม่ได้ในที่สุด เพราะฉะนั้นแล้ว ทหารอาชีพจึงต้องมีความสามารถในการแก้ปัญหา หรือ มี AQ ในระดับที่สูง

และทหารอย่างท่านล่ะครับคิดว่ามี AQ ในระดับที่มากน้อยเพียงใด…..

อ้างอิง
[1] มัณฑรา ธรรมบุศย์, “AQ กับความสำเร็จของชีวิต” วารสารวิชาการ ปีที่ 4,9 ( ก.ย. 2544) หน้า 12-17.
[2] ibid.
[3] http://www.sutenm.com/tag/aq.

วันอาทิตย์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

หลักการทรงงานใน"พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว"



หลักการทรงงานใน"พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว" ให้ข้าราชการสำนักพึงน้อมรับใส่เกล้าฯเป็นแนวทางปฏิบัติ

หมายเหตุ : "หลักการทรงงาน ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว" นี้เป็นการประมวลจากคำบรรยายของ นพ.เกษม วัฒนชัย องคมนตรี ในการสัมมนา เรื่อง องค์การที่มีคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาล จัดโดยสำนักพระราชวัง มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ข้าราชการสำนักพึงน้อมรับใส่เกล้าฯเป็นแนวทางปฏิบัติ "มติชน" เห็นว่าเนื้อหาของคำบรรยาย คนไทยโดยทั่วไปพึงน้อมรับใส่เกล้าฯเป็นแนวทางปฏิบัติด้วย จึงขอนำมาเสนอ
-----------------------
หลักการทรงงานในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
-----------------------
มนุษย์สามารถเข้าถึงที่สูงสุด 3 ประการคือ
1.ความดี
2.ความจริง
3.ความงาม
ในความจริงที่มีความดีและความงาม ในความดีที่มีความจริงและความงาม ในความงามที่มีความจริงและความดี
คุณธรรม คือ สิ่งกำกับจิตใจให้ปรากฏออกมาเป็นพฤติกรรมที่กำหนดได้ว่าเป็นความดี ความจริง และความงาม
คนมีคุณธรรม คือ คนที่มีเครื่องกำกับจิตใจให้การกระทำและคำพูดปรากฏออกมาเป็นความดี ความจริง และความงาม
คนไร้คุณธรรม คือ คนที่มีเครื่องกำกับจิตใจให้การกระทำและคำพูดปรากฏออกมาเป็นความเลว ความเท็จ และความอัปลักษณ์

หลักการทรงงาน ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว


"60 ปี ครองราชย์ ประโยชน์สุข ประชาราษฎร์"
(สำนักงานคณะกรรมการพิเศษ เพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ 2549)

1.ศึกษาข้อมูลอย่างเป็นระบบ

การ ที่จะพระราชทานโครงการใดโครงการหนึ่ง จะทรงศึกษาข้อมูล รายละเอียดอย่างเป็นระบบ ทั้งจากข้อมูลเบื้องต้น จากเอกสาร แผนที่ สอบถามจากเจ้าหน้าที่ นักวิชาการ และราษฎรในพื้นที่ให้ได้รายละเอียดที่ถูกต้องเพื่อจะพระราชทานความช่วยเหลือ ได้อย่างถูกต้องและรวดเร็วตามความต้องการของประชาชน

2.ระเบิดจากข้างใน
หมาย ความว่า ต้องสร้างความเข้มแข็งให้คนในชุมชนที่เราเข้าไปพัฒนาให้มีสภาพพร้อมที่จะรับ การพัฒนาเสียก่อน มิใช่การนำเอาความเจริญหรือบุคคลจากสังคมภายนอกเข้าไปหาชุมชนหมู่บ้านที่ยัง ไม่ทันได้มีโอกาสเตรียมตัวหรือตั้งตัว

3.แก้ปัญหาที่จุดเล็ก
ทรงมองปัญหาในภาพรวม (แมคโคร) ก่อนเสมอ แต่การแก้ปัญหาจะเริ่มจากจุดเล็กๆ (ไมโคร) คือ การแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า ที่คนมักจะมองข้าม
"...ถ้าปวดหัวคิดอะไรไม่ออก...ต้องแก้ไขการปวดหัวนี้ก่อน...เพื่อให้อยู่ในสภาพที่คิดได้..."

4.ทำตามลำดับขั้น
ทรง เริ่มต้นจากสิ่งที่จำเป็นที่สุดของประชาชนก่อน ได้แก่ สาธารณสุข ต่อไปจึงเป็นเรื่องสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน และสิ่งจำเป็นสำหรับประกอบอาชีพ การพัฒนาประเทศต้องสร้างพื้นฐานคือ ความพอมี พอกิน พอใช้ ของประชาชนส่วนใหญ่ก่อนจึงค่อยสร้าง ค่อยเสริมความเจริญ และเศรษฐกิจขั้นสูงโดยลำดับต่อไป

5.ภูมิสังคม
การ พัฒนาใดๆ ต้องคำนึงถึง (1) ภูมิประเทศของบริเวณนั้น (ดิน, น้ำ, ป่า, เขา ฯลฯ) (2) สังคมวิทยา (นิสัยใจคอของผู้คน ตลอดจนวัฒนธรรมประเพณีของท้องถิ่น)

6.องค์รวม

ทรงมีวิธีคิดอย่างองค์รวม (holistic) หรือมองอย่างครบวงจร
ทรงมองเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และแนวทางแก้ไขอย่างเชื่อมโยง

7.ไม่ติดตำรา

การพัฒนาตามแนวพระราชดำริ มีลักษณะของการพัฒนาที่อนุโลม และรอมชอมกับสภาพธรรมชาติสิ่งแวดล้อม และสภาพของสังคมจิตวิทยาแห่งชุมชน
"ไม่ติดตำรา"
ไม่ผูกมัดกับวิชาการและเทคโนโลยีที่ไม่เหมาะสมกับสภาพชีวิตความเป็นอยู่ที่แท้จริงของคนไทย

8.ประหยัด เรียบง่าย ได้ประโยชน์สูงสุด

ทรง ใช้หลักในการแก้ไขปัญหาด้วยความเรียบง่ายและประหยัด ราษฎรสามารถทำได้เอง หาได้ในท้องถิ่น และประยุกต์ใช้สิ่งที่มีอยู่ในภูมิภาคนั้นๆ มาแก้ไขปัญหา โดยไม่ต้องลงทุนสูงหรือใช้เทคโนโลยีที่ไม่ยุ่งยากนัก
"ให้ปลูกป่า โดยไม่ต้องปลูกป่า โดยปล่อยให้ขึ้นเองตามธรรมชาติ จะได้ประหยัดงบประมาณ"

9.ทำให้ง่าย - simplicity

ทรง คิดค้น ดัดแปลง ปรับปรุง และแก้ไขงานการพัฒนาประเทศตามแนวพระราชดำริโดยง่าย ไม่ยุ่งยากซับซ้อน ทรงโปรดที่จะทำสิ่งยากให้กลายเป็นง่าย ทำสิ่งที่สลับซับซ้อนให้เข้าใจง่าย
"ทำให้ง่าย"

10.การมีส่วนร่วม

ทรง เป็นนักประชาธิปไตย เปิดโอกาสให้สาธารณชน ประชาชน หรือเจ้าหน้าที่ทุกระดับได้มาร่วมกันแสดงความคิดเห็น เกี่ยวกับเรื่องที่ต้องคำนึงถึงความคิดเห็นของประชาชน หรือความต้องการของสาธารณชน
"... ต้องหัดทำใจให้กว้างขวาง หนักแน่น รู้จักรับฟังความคิดเห็นแม้กระทั่งความวิพากษ์วิจารณ์จากผู้อื่นอย่างฉลาด เพราะการรู้จักรับฟังอย่างฉลาดนั้นแท้จริง คือ การระดมสติปัญญาและประสบการณ์อันหลากหลาย มาอำนวยการปฏิบัติบริหารงานให้ประสบความสำเร็จที่สมบูรณ์นั่นเอง ..."

11.ประโยชน์ส่วนรวม

" ...ใครต่อใครก็มาบอกว่า ขอให้คิดถึงประโยชน์ส่วนรวม อาจมานึกในใจว่า ให้ๆ อยู่เรื่อยแล้ว ส่วนตัวจะได้อะไร ขอให้คิดว่า คนที่ให้เพื่อส่วนรวมนั้นมิได้ให้แต่ส่วนรวมอย่างเดียว เป็นการให้เพื่อตัวเองสามารถที่มีส่วนรวม ที่จะอาศัยได้..." (มข.2514) พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงระลึกถึงประโยชน์ของส่วนรวมเป็นสำคัญเสมอ

12.บริการที่จุดเดียว
ทรงให้ "ศูนย์ศึกษาการพัฒนา อันเนื่องมาจากพระราชดำริ" เป็นต้นแบบในการบริหารรวมที่จุดเดียว เพื่อประโยชน์ต่อประชาชนที่จะมาใช้บริการ จะประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย โดยมีหน่วยงานราชการต่างๆ มาร่วมดำเนินการและให้บริการประชาชน ณ ที่แห่งเดียว
"...เป็นสองด้าน ก็หมายถึงว่า ที่สำคัญปลายทางคือ ประชาชนจะได้รับประโยชน์และต้นทางของเจ้าหน้าที่จะให้ประโยชน์"

13.ใช้ธรรมชาติช่วยธรรมชาติ

การ เข้าใจถึงธรรมชาติ และต้องการให้ประชาชนใกล้ชิดกับธรรมชาติ ทรงมองอย่างละเอียดถึงปัญหาของธรรมชาติ หากเราต้องการแก้ไขธรรมชาติจะต้องใช้ธรรมชาติเข้าช่วยเหลือ เช่น การแก้ไขปัญหาป่าเสื่อมโทรม โดยพระราชทานพระราชดำริ การปลูกป่าโดยไม่ต้องปลูก (ต้นไม้) ปล่อยให้ธรรมชาติช่วยในการฟื้นฟูธรรมชาติ

14.ใช้อธรรมปราบอธรรม

ทรง นำความจริงในเรื่องความเป็นไปแห่งธรรมชาติและกฎเกณฑ์ของธรรมชาติมาเป็นหลัก การ และแนวปฏิบัติที่สำคัญในการแก้ปัญหาและปรับปรุงเปลี่ยนแปลงสภาวะที่ไม่ปกติ เข้าสู่ระบบที่เป็นปกติ เช่น การนำน้ำดีขับไล่น้ำเสีย การใช้ผักตบชวาบำบัดน้ำเสีย โดยดูดซึมสิ่งสกปรกปนเปื้อนในน้ำ

15.ปลูกป่าในใจคน
"...เจ้าหน้าที่ป่าไม้ควรจะปลูกต้นไม้ลงในใจคนเสียก่อน แล้วคนเหล่านั้นก็จะพากันปลูกต้นไม้ลงบนแผ่นดิน และรักษาต้นไม้ด้วยตนเอง..."
การที่จะฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติให้กลับคืนมา จะต้องปลูกจิตสำนึกให้คนรักป่าเสียก่อน

16.ขาดทุนคือกำไร

"... ขาดทุนคือกำไร Our Ioss is our gain...การเสียคือการได้ ประเทศก็จะก้าวหน้า และการที่คนจะอยู่ดีมีสุขนั้นเป็นการนับที่เป็นมูลค่าเงินไม่ได้..."
หลักการคือ "การให้" และ "การเสียสละ" เป็นการกระทำอันมีผลเป็นกำไร คือ ความอยู่ดีมีสุขของราษฎร
"... ถ้าเราทำอะไรที่เราเสีย แต่ในที่สุดที่เราเสียนั้นเป็นการได้ทางอ้อม ตรงกับงานของรัฐบาลโดยตรง เงินของรัฐบาล หรืออีกนัยหนึ่ง คือเงินของประชาชน ถ้าอยากให้ประชาชนอยู่ดีกินดีก็ต้องลงทุน..."

17.การพึ่งตนเอง

การ พัฒนาตามแนวพระราชดำริ เพื่อแก้ไขปัญหาในเบื้องต้น ด้วยการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า เพื่อให้เขาแข็งแรงพอที่จะดำรงชีวิตได้ต่อไป แล้วขั้นต่อไปก็คือ การพัฒนาให้เขาสามารถอยู่ในสังคมได้ตามสภาพแวดล้อม และสามารถ "พึ่งตนเองได้" ในที่สุด

18.พออยู่พอกิน

สำหรับ ประชาชนที่ตกอยู่ในวงจรแห่งความทุกข์เข็ญนั้น ได้พระราชทานความช่วยเหลือให้เขาสามารถอยู่ในนั้น "พออยู่พอกิน" เสียก่อนแล้วจึงค่อยขยับขยายให้มีขีดสมรรถนะ ที่ก้าวหน้าต่อไป
" ... ถ้าโครงการดี ในไม่ช้าประชาชนจะได้กำไร จะได้ผล ราษฎรจะอยู่ดีกินดีขึ้น จะได้ประโยชน์ต่อไป ..."

19.เศรษฐกิจพอเพียง
เป็น แนวทางการดำเนินชีวิต เพื่อสร้างความเข้มแข็งหรือภูมิคุ้มกันทุกด้าน ซึ่งจะสามารถทำให้อยู่ได้อย่างสมดุล ในโลกแห่งการเปลี่ยนแปลง
ปรัชญานี้ได้มีการประยุกต์ใช้ทั้งระดับบุคคล องค์กร ชุมชน และทุกภาคส่วนมาแล้วอย่างได้ผล

20.ความซื่อสัตย์ สุจริต จริงใจต่อกัน
" ...ผู้ที่มีความสุจริตและบริสุทธิ์ใจ แม้จะมีความรู้น้อยก็ย่อมทำประโยชน์ให้แก่ส่วนรวมได้มากกว่าผู้ที่มีความรู้ มากแต่ไม่มีความสุจริต ไม่มีความบริสุทธิ์ใจ... " (18 มี.ค.2533)

21.ทำงานอย่างมีความสุข

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระเกษมสำราญและทรงมีความสุข ทุกคราที่จะช่วยเหลือประชาชน
" ...ทำงานกับฉัน ฉันไม่มีอะไรจะให้ นอกจากการมีความสุขร่วมกันในการทำประโยชน์ให้กับผู้อื่น ... "

22.ความเพียร : พระมหาชนก

พระ บาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงริเริ่มทำโครงการต่างๆ ในระยะแรกที่ไม่มีความพร้อมมากนัก และทรงใช้พระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ทั้งสิ้น แต่พระองค์ก็มิได้ท้อพระราชหฤทัย มุ่งมั่นพัฒนาบ้านเมืองให้บังเกิดความร่มเย็นเป็นสุข

23.รู้-รัก-สามัคคี

รู้ : การที่เราจะลงมือทำสิ่งใดนั้น จะต้องรู้เสียก่อน รู้ถึงปัจจัยทั้งหมด รู้ถึงปัญหา และรู้ถึงวิธีแก้ปัญหา
รัก : เมื่อเรารู้ครบด้วยกระบวนความแล้ว จะต้องเห็นคุณค่า เกิดศรัทธา เกิดความรักที่จะเข้าไปลงมือปฏิบัติแก้ปัญหานั้นๆ
สามัคคี : เมื่อถึงขั้นลงมือปฏิบัติต้องคำนึงเสมอว่าเราทำคนเดียวไม่ได้ ต้องร่วมมือร่วมใจกัน สามัคคีกันเป็นหมู่คณะ จึงจะเกิดพลังในการแก้ปัญหาให้ลุล่วงด้วยดี

วันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 มติชนออนไลน์

วันพุธที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

ทศพิธราชธรรมของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว




ทศพิธราชธรรมของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

พระนิพนธ์ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

อำนวยพร ท่านอธิการบดี คณาจารย์ และท่านผู้เกียรติวันนี้อาตมาภาพได้รับอาราธนาให้มาบรรยายในรายการบรรยายพิเศษเรื่อง “พระราชจริยาวัตรของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว”
ในหัวข้อย่อยที่ว่า “ทศพิธราชธรรมของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว”
ซึ่งทาง สถาบันไทยศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้จัดขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองในวโรกาสที่
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระชนมายุครบ ๖๐ พรรษา ในปีพุทธศักราช ๒๕๓๐ นี้

และเพื่อเฉลิมฉลองวโรกาสรัชมังคลาภิเษก ในปีพุทธศักราช ๒๕๓๑ หัวข้อที่กำหนดให้บรรยายในวันนี้หากจะกล่าวกันอย่างกว้างๆ แล้วก็ได้แก่เรื่องพระจริยาวัตรในด้านที่เนื่องกับพระพุทธศาสนา
ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวนั่นเอง

• พ ร ะ พุ ท ธ ศ า ส น า กั บ ค น ไ ท ย

คงเป็นที่ยอมรับกันทั่วไปว่าพระพุทธศาสนาได้มีส่วนเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับคนไทยมาตั้งแต่ดึกดำบรรพ์ คืออาจจะกล่าวได้ว่าเริ่มตั้งแต่ชาติไทยขึ้นมาเป็นปึกแผ่น และก็ได้รับการอนุรักษ์สืบทอดต่อๆกันมาจนกระทั่งถึงปัจจุบัน โดยมิได้ขาดสาย

ความสัมพันธ์เกี่ยวข้องระหว่างพระพุทธศาสนากับคนไทยนั้นเราอาจจะกล่าวได้อย่างกว้างๆ ว่า
มีทั้งในด้านการปกครอง การศึกษา การสังคม และจารีตประเพณี ซึ่งทั้งหมดนี้ เมื่อประมวลเข้าด้วยกันแล้วก็รวมเรียกได้ว่า “วัฒนธรรมไทย” อันหมายความว่า ระบบหรือแบบแผนที่สร้างความวัฒนะ คือ ความเจริญให้แก่คนไทยหรือของคนไทย

ฉะนั้น จึงกล่าวได้ว่า วัฒนธรรมของไทย ทั้งในด้านการปกครอง การศึกษา การสังคมจารีตประเพณี นั้น ได้สร้างสมหรือเจริญเติบโตขึ้นมาโดยอาศัยพระพุทธศาสนา หรือธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าเป็นรากฐานมาโดยตลอด ความจริงดังนี้ คงจะเห็นได้จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ทั้งโดยตรงและทางอ้อม

• พระพุทธศาสนากับพระมหากษัตริย์ไทย

การปกครองของไทยแต่โบราณมา มีศูนย์ของการปกครองรวมอยู่ที่องค์พระมหากษัตริย์ ผู้ทรงเป็นพระประมุขของรัฐ เมื่อกล่าวถึงความสัมพันธ์เกี่ยวข้องระหว่าง พระพุทธศาสนากับการปกครองของไทย ก็คือการกล่าวถึงความสัมพันธ์เกี่ยวข้องระหว่าง พระพุทธศาสนากับพระมหากษัตริย์นั่นเอง

พระพุทธศาสนาเป็นศาสนา จึงมิได้แสดงระบบหรือระบอบการปกครองทางการเองอย่างใดอย่างหนึ่ง แสดงแต่ทางการศาสนาคือธรรม แต่ธรรมนี่เองพึงนำไปปฏิบัติให้การทุกๆอย่างโดยเหมาะสม เช่น ในทางการปกครอง ทางการศึกษา ทางสังคม เป็นต้น เพื่อให้เกิดความสุขความเจริญ เป็นวัฒนธรรม อารยธรรม ในทางต่างๆ

วิธีการที่พระพุทธเจ้าทางแสดงธรรมนั้น คือทรงแสดงธรรมเพื่อให้ผู้ฟังรู้ยิ่งเห็นจริงตามเหตุผล
ตามความเหมาะสมแก่สภาพสภาวการณ์เป็นต้นที่เกี่ยวข้องโดยวิธีที่จะให้เกิดประโยชน์แก่ผู้ฟังในทางที่เกื้อกูล ในทางก่อให้เกิดสุขเรียกสั้นด้วยคำในปัจจุบันว่า เพื่อความสุขความเจริญ

นอกจากนี้ ยังเป็นหลักธรรมที่นำไปปฏิบัติได้ตลอดไปทุกกาลสมัย ธรรมที่ตรัสสอนไว้ในครั้งพุทธกาล จึงปฏิบัติได้ผลเกื้อกูลให้เกิดความสุข ความเจริญได้ในปัจจุบัน บัดนี้ของทุกกาลสมัย เช่น เมื่อทรงแสดงธรรมแก่ผู้ปกครอง ก็ทรงแสดง "ทศพิธราชธรรม"
คือ ธรรมสำหรับพระราชา ๑๐ ประการ เพราะศูนย์รวมของการปกครอง หรือกลไกสำคัญ
อันจะนำไปสู่ความสำเร็จหรือความล้มเหลวในการปกครองอยู่ที่ผู้ปกครอง ตั้งต้นแต่พระราชาผู้เป็นพระประมุขของรัฐ

ฉะนั้น หลักทศพิธราชธรรม จึงเน้นความสำคัญของผู้นำ หรือเน้นที่ตัวผู้นำ ว่าจะต้องมีคุณสมบัติหรือมีคุณสมบัติอะไรบ้าง จึงจะนำประเทศชาติไปสู่ความร่มเย็นเป็นสุข

ทรงแสดง "อปริหานิยธรรม" คือ ธรรมอันจะไม่ก่อให้เกิดความเสื่อม แต่ก่อให้เกิดความเจริญอย่างเดียว ๗ ประการ แก่ คณะเจ้าลิจฉวีผู้ปกครองแคล้นวัชชี ซึ่งมีจุดสำคัญของการปกครองอยู่ที่การร่วมมือร่วมใจของคณะผู้ร่วมดำเนินการปกครอง หรือที่เรียกสั้นๆว่าคณะปกครอง

ฉะนั้น หลักอปริหานิยธรรม จึงเน้นที่ความสามัคคีพร้อมเพรียงและความเป็นธรรมของคณะผู้ปกครอง

นอกจากนี้ ก็ยังได้ทรงแสดงธรรมปลีกย่อยอันเนื่องในการปกครองและเกี่ยวกับผู้ปกครองไว้อีกมาก ดังเช่น ครั้งหนึ่ง เมื่อพระพุทธเจ้าประทับอยู่แคว้นสักกะ ตอนเช้าเสด็จเข้าบิณฑบาตในศากยนิคมแห่งหนึ่งในขณะที่พราหมณ์คฤหบดีกำลังประชุมกันอยู่ในสภาด้วยกรณีย์บางอย่าง ขณะนั้น ฝนลูกเห็บตก พระพุทธเจ้าจึงเสด็จหลบฝนเข้าไปในสภาพวกพราหมณ์คฤหบดีได้เห็นพระองค์แล้ว กล่าวว่าสมณะโล้นพวกไหน คงจะไม่รู้จักสภาธรรม คือ ธรรมบัณฑิตขนบธรรมเนียมพูดเป็นของสภา
พระพุทธองค์ได้ตรัสตอบว่า

“สภาที่ไม่มีสัตบุรุษ (คือผู้สงบ) หรือคนดี ไม่ชื่อว่าสภา ผู้ไม่พูดเป็นธรรม ไม่ชื่อว่าสัตบุรุษ ผู้ละ (หรือสงบ) ราคะ โทสะ โมหะ พูดเป็นธรรม ย่อมชื่อว่าสัตบุรุษ”

เป็นอันว่าได้ทรงประกาศว่าพระองค์รู้จักสภาธรรม

ดังนี้จะเห็นได้ว่า หลักธรรมสำหรับการปกครองพระพุทธศาสนาได้แสดงไว้นั้นมีลักษณะเป็นกลางๆ สามารถนำมาปรับใช้ได้กับการปกครองทุกรูปแบบ
ในทางทฤษฎีนั้นเหมือนว่าคำสอนหรือหลักธรรมที่ทรงแสดงไว้แต่ละหมวดหรือแต่ละเรื่องเหล่านี้ต่างกันหรือแยกจากกันแต่ในทางปฏิบัติหลักธรรมต่างๆ ล้วนมีความสัมพันธ์เกี่ยวโยงกันเสมอ
ดังเช่น เรื่องทศพิธราชธรรม แลอปริหานิยธรรมที่กล่าวมาแล้วข้างต้น

ก็หมายความว่า ผู้ปกครองควรปฏิบัติตนตาม หลักทศพิธราชธรรม และหลักอปริหานิยธรรม รวมทั้งตามหลักปกครองประการอื่นเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมในการปกครอง
อันอาจจะสรุปเข้าในคำเดียว คือ “โดยธรรม เพื่อธรรม” ได้แก่ โดยความเป็นธรรมเพื่อความเป็นธรรม

ฉะนั้น ธรรมทางการปกครองแม้จะมีเป็นอันมาก แม้ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ก็ดี
ที่ศาสตร์การปกครองต่างๆแสดงไว้ก็ดี ก็รวมเข้าในคำเดียวว่า “โดยธรรม เพื่อธรรม”
ที่จะให้เกิดประโยชน์เกื้อกูล และความสุขอันเป็นความเจริญงอกงามไพบูลย์ต่างๆ

พระพุทธเจ้าได้ตรัสถึงพระเจ้าจักรพรรดิโดยความว่าพระเจ้าจักรพรรดิ ทรงยังจักรคืออำนาจให้เป็นไปโดยธรรม จึงเป็นผู้ที่ใครๆ ปฏิวัติไม่ได้

หลักธรรมที่พระเจ้าจักรพรรดิทรงประกอบในการปกครองเพื่อให้เป็นไปโดยธรรมนั้นก็คือ ทรงรู้เหตุ ทรงรู้ผล ทรงรู้ประมาณ ทรงรู้กาลเวลา ทรงรู้บริษัท แม้พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงรู้จักเหตุ ทรงรู้จักผล ทรงรู้จักประมาณ ทรงรู้จักกาลเวลา ทรงรู้จักบริษัทดังนี้
ได้มีพระภิกษุรูปหนึ่ง กราบทูลพระพุทธเจ้าว่าใครเป็นพระราชาของพระเจ้าจักรพรรดิ
พระพุทธองค์ได้ตรัสตอบว่า คือ ธรรม นั่นเอง เป็นราชาของพระเจ้าจักรพรรดิ
พระเจ้าจักรพรรดิจึงได้ทรงเคารพนับถือธรรม มีธรรมเป็นธง มีธรรมเป็นใหญ่ ตรัสคำว่า “ธรรมาธิปไตย” มีธรรมเป็นใหญ่
ฉะนั้น เมื่อทุกฝ่ายยอมรับนับถือธรรมเป็นใหญ่ เป็นธรรมาธิปไตยตามที่พระพุทธเจ้าตรัสสรุปไว้อย่างยิ่งที่สุดนี้ ก็สำเร็จประโยชน์ของการปกครองได้ทั้งหมด

• ก า ร ป ก ค ร อ ง แ บ บ ไ ท ย

สำหรับประเทศไทยนั้น แต่โบราณกาลมามีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นองค์ประมุขตามรูปแบบมาจากคตินิยมดั้งเดิมของไทยเองเป็นที่ตั้ง ประกอบกับธรรมในพระพุทธศาสนาเป็นแกนและมีวิวัฒนาการมาโดยลำดับตามคตินิยม แบบนานาประเทศที่เกี่ยวข้องเช่น พราหมณ์จากอินเดีย และแบบอื่นๆที่เป็นมาโดยลำดับจนถึงปัจจุบันนี้ตามความเหมาะสมแก่ประเทศไทย คนไทย เป็นแกนมาโดยตลอด และมีพระมหากษัตริย์เป็นองค์พระประมุขมาโดยตลอด

ลักษณะที่พระมหากษัตริย์ไทยโบราณทรงปฏิบัติเกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนา ทรงปฏิบัติอยู่เป็นประจำนั้น มีปรากฏในประวัติการณ์ของคนชาติไทยนับตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ในรูปของพระราชานุกิจที่กำหนดไว้ในกฏมณเฑียรบาล

ดังเช่น กฏมณเฑียรบาลในแผ่นดินสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ เป็นต้น อันเป็นแบบแผนสำหรับพระมหากษัตริย์ทรงปฏิบัติเป็นประจำวันในการปกครองแผ่นดินพระราชานุกิจที่ได้ตราไว้ในกฏมณเฑียรบาลที่ตั้งขึ้นครั้งกรุงศรีอยุธยาดังกล่าวนี้ พระมหากษัตริย์ไทยได้ทรงปฏิบัติตามสืบๆกันมาทุกพระองค์ตั้งแต่ครั้งปรากฏกฏมณเฑียรบาลในสมัยกรุงศรีอยุยา จนกระทั่งถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์

แม้จะมีการเปลี่ยนแปลงไปบ้างก็เพียงรายละเอียด ส่วนสารัตถะนั้นยังคงเดิมจะขอยกมาพอเป็นตัวอย่างเฉพาะที่เกี่ยวกับพระพุทธศาสนา ดังนี้

“๙ นาฬิกา เสด็จประทับหอพระฯ
ฯลฯ
๒๓ นาฬิกา โหรและราชบัณฑิตเข้าเฝ้า ทรงสนทนาธรรม”

มาในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชมีเปลี่ยนแปลงไปบ้าง ดังนี้

“ ๙ นาฬิกา เสด็จลงบาตร
๑๐ นาฬิกา เสด็จออกท้องพระโรง ถวายภัตตาหาเลี้ยงพระสงฆ์ ในท้องพระโรง ฯลฯ
๑๙ นาฬิกา เสด็จออกท้องพระโรง ทรงสดับพระธรรมเทศนากัณฑ์หนึ่ง ฯลฯ

จากตัวอย่างที่ได้ยกมาพอเป็นสังเขปข้างต้นนี้ จะเห็นได้ว่า พระพุทธศาสนาได้มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับการปกครองของไทยอย่างแนบแน่นมาโดยตลอด
ตั้งแต่อดีตกาลนานไกลมาจนกระทั่งถึงยุคปัจจุบัน

และหลักธรรมสำคัญที่พระมหากษัตริย์ไทยทรงยึดถือปฏิบัติในการทรงปกครองแผ่นดินสืบๆ กันมาแต่โบราณกาลนั้นก็คือ

ทศพิธราชธรรม และราชธรรมประการอื่นๆ ที่พระพุทธศาสนาได้แสดงไว้ เช่น ราชสังควัตถุ ๕ จักรวรรดิวัตร ๑๒ พละ ๕ เป็นต้น

จากพระจริยาวัตรของพระมหากษัตริย์ไทยดังที่ปรากฏในพระราชานุกิจดังกล่าวแล้ว จะเห็นได้ว่าองค์พระประมุขของชาติทรงใฝ่พระราชหฤทัยในการศึกษาและปฏิบัติธรรมในพระพุทธศาสนาเป็นประจำวันมิได้ขาด
พระราชจริยาวัตรอันนี้มิได้ส่งผลดีเฉพาะแต่ในทางการปกครองแผ่นดินเท่านั้นแต่เป็นผลดีแก่พระพุทธศาสนาอีกด้วย
กล่าวคือ การที่ทรงสนทนาธรรมหรือทรงสดับพระธรรมเทศนาเป็นประจำทุกวันนั้น
เป็นเหตุให้พระเถรานุเถระต้องเรียบเรียงหรือแปลคำสอนของพระพุทธศาสนาจากพระคัมภีร์ต่างๆ เป็นบทเทศนาบ้าง เป็นบทวิสัชนาพระราชปุจฉาบ้างถวายเป็นประจำวันตามที่เห็นสมควรถวายหรือตามพระราชประสงค์

ด้วยเหตุนี้เอง ตำรับตำราทางพระพุทธศาสนาในภาษาไทยอันเป็นอุปกรณ์สำคัญในการศึกษาพระพุทธศาสนาจึงได้เกิดขึ้นมีขึ้นตั้งแต่ครั้งโบราณ

เช่น พระไตรปิฎกแปล มิลินทปัญหาแปล พระปฐมสมโพธิ (พระพุทธประวัติ) เป็นต้น
อันนับได้ว่าเป็นการส่งเสริมการศึกษา และการเผยแผ่พระพุทธศาสนาอีกส่วนหนึ่งด้วย

เหตุไฉนพระมหากษัตริย์หรือผู้ปกครองจึงจะต้องปฏิบัติทศพิธราชธรรม

ตามคติทางพระพุทธศาสนานั้น ถือว่าการปฏิบัติทศพิธราชธรรมก็คือการบำเพ็ญบารมีของพระมหากษัตริย์ เช่นเดียวกับการปฏิบัติบารมีธรรม ๑๐ ประการ อันเป็นการบำเพ็ญบารมีของพระโพธิสัตว์

ต่างกันแต่ว่า การบำเพ็ญบารมีของพระมหากษัตริย์หรือผู้ปกครองนั้น มุ่งผลคือ ความสุขของประชาชนในปกครองส่วนการบำพ็ญบารมีของพระโพธิสัตว์นั้น มุ่งผลคือความเป็นพระพุทธะหรือความหลุดพ้น ฉะนั้น จึงกล่าวได้ว่า ทศพิธราชธรรม คือบารมีธรรมของผู้ปกครองแผ่นดิน เช่นเดียวกับ บารมี ๑๐ คือบารมีธรรมของพระโพธิสัตว์ผู้มุ่งพระโพธิญาณหรือความหลุดพ้น

ฉะนั้นตามคติแห่งพระพุทธศาสนาจึงถือว่าทศพิธราชธรรมนั้น เป็นคุณธรรมจำเป็นสำหรับผู้ปกครองแผ่นดิน เพราะความผาสุกของแผ่นดินจะมีมากน้อยเพียงใดนั้น
ขึ้นอยู่กับธรรมของผู้ปกครองทั้งปวง

• ทศพิธราชธรรมของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลปัจจุบัน

ทั้งหมดที่กล่าวมาในตอนนี้ ก็เพื่อแสดงให้เห็นถึงความเป็นมาแห่งความสัมพันธ์ระหว่างพุทธศาสนากับการปกครองของไทย ซึ่งถ้าจะกล่าวเจาะจงลงไปก็คือ เรื่องทศพิธราชธรรมกับองค์พระประมุขของชาติไทยนั่นเอง ในฐานะที่เป็นคุณธรรมหลักแห่งพระราชจริยาวัตรในการทรงปกครองแผ่นดินเพื่อประโยชน์สุขของพสกนิกรทั้งปวง

คุณธรรมนี้ได้เป็นที่ยึดถือปฏิบัติของพระมหากษัตริย์ไทยสืบเนื่องกันตลอดมาโดยมิได้สลาย เพราะนั้น การปกครองของมืองไทยเราตั้งแต่โบราณกาลจึงกล่าวได้ว่า แม้องค์พระมหากษัตริย์จะทรงอยู่ในฐานะที่เรียกว่า“สมบูรณาญาสิทธิ” หรือ “ปริมิตสิทธิ” ก็ตาม
ก็จำกัดอยู่โดยธรรม คือทรงปกครองโดยธรรม คือธรรม ปริมิตะ คือว่ากำหนดอยู่โดยธรรมทุกกาลสมัย

ดังจะพึงเห็นได้ว่า องค์พระมหากษัตริย์ตั้งแต่สมัยโบราณกาลมาแล้วนั้นมิได้มีพระบรมราชโองการในการปกครองที่เป็นหลักสำคัญโดยลำพังเพียงพระองค์เดียวแต่ย่อมมีมุขอำมาตย์มนตรีและมีกฏหมายต่างๆที่บัญญัติขึ้นสำหรับในการปกครอง ทรงบัญชาให้การปกครองนั้นเป็นไปตามตัวบทกฏหมาย เป็นต้น ที่ได้ตราขึ้นไว้ในสมัยนั้น ซึ่งกล่าวได้ว่า ให้เป็นไปโดยธรรม หรือที่เรียกว่าโดยยุติธรรมนั่นเอง

เพราะฉะนั้น การปกครองแบบไทยตั้งแต่โบราณกาล คือตั้งแต่ก่อนสมัยกรุงสุโขทัยมาก็ดี จากกรุงสุโขทัยมาแล้วก็ดีเมื่อได้รับนับถือพระพุทธศาสนามาเป็นศาสนาประจำชาติแล้ว
ก็ย่อมเป็นไปเช่นนั้น เป็นธรรมปริมิตะอยู่เช่นนี้เสมอเหมือนกันหมด จะมียิ่งหรือหย่อนกันบ้างก็ตามยุคสมัยนั้นๆ

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในฐานะที่ทรงเป็นพระประมุขของชาติไทย ก็ได้ทรงดำรงมั่นอยู่ในทศพิธราชธรรมตามเยี่ยงโบราณราชประเพณีมาโดยตลอดนับแต่ได้เสด็จเถลิงถวัลย์ราชสมบัติ
เมื่อวันที่ ๙ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๔๘๙ เป็นต้นมา และได้ทรงประกาศพระราชปณิธานในการปกครองแผ่นดินไว้อย่างชัดเจน ดังพระปฐมพระบรมราชโองการที่ได้พระราชทานในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกเมื่อวันที่ ๕ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๔๙๓ ว่า

“เราจะครองแผ่นดินโดยธรรมเพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม”

คำว่า โดยธรรมในพระบรมราชโองการนี้ พึงเข้าใจว่า ตามครรลองแห่งทศพิธราชธรรม
และพระคุณธรรมในทางพระพุทธศาสนานั่นเองคำสอนเรื่อง ทศพิธราชธรรม นั้น
มีแสดงไว้ในคัมภีร์พระพุทธศาสนาว่า เป็นของเก่า มีมาก่อนพุทธกาลโบราณบัณฑิตนิยมแสดงถวายพระราชาผู้ปกครองประชาชน
ครั้นพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าได้เสด็จอุบัติขึ้น ทรงเห็นว่าเป็นคำสอนที่ดีมีประโยชน์
จึงได้ทรงนำมาตรัสสอนโดยตรัสเล่าไว้ในคัมภีร์ชาดก นั้นเป็นที่รวมของเรื่องเก่าก่อนพุทธกาลเรียกคำสอนหมวดนี้ว่า "ราชธรรม" มี ๑๐ ประการ คือ

๑. ทาน การให้ เพื่อสงเคราะห์ อนุเคราะห์ บูชา เป็นต้น
๒. ศีล การระวังรักษาความประพฤติทางการ วาจา ตลอดถึงใจ ให้สงบเรียบร้อย
๓. ปริจาคคะ การเสียสละ เช่น การเสียสละสุขส่วนตน เพื่อประโยชน์ส่วนสุขรวม การเสียสละสุขที่พอประมาณเพื่อประโยชน์สุขที่เป็นส่วนใหญ่ การเสียสละทรัพย์เพื่อรักษาอวัยวะ การเสียสละอวัยวะเพื่อรักษาชีวิต การที่ยอมเสียสละทั้งชีวิต ทั้งทรัพย์เพื่อรักษาธรรม
๔. อาชชวะ ความซื่อตรง
๕. มัททวะ ความอ่อนโยน
๖. ตปะ ความเพียรพยายามเพื่อกำจัดความเกียจคร้าน และความชั่ว ในอันปฏิบัติหน้าที่ให้สำเร็จด้วยดี ไม่ทอดทิ้งหน้าที่
๗. อักโกธะ ความไม่โกรธ ตลอดถึงไม่พยาบาท มุ่งร้ายผู้อื่น
๘. อวิหิงสา ความไม่เบียดเบียนผู้อื่น ตลอดจนถึงสัตว์มีชีวิตให้ได้ทุกข์เดือดร้อน
๙. ขันติ ความอดทนต่อความทุกข์ยาก ต่อถ้อยคำและเหตุการณ์อันไม่พึงประสงค์ทั้งปวง
๑๐. อวิโรธนะ การปฏิบัติไม่ให้ผิดจากทางที่ถูกที่ควร ไม่ให้ผิดจากทำนองคลองธรรม แต่ให้เป็นไปตามธรรม

เนื่องจากราชธรรมมี ๑๐ ประการ จึงนิยมเรียกกันว่า “ทศพิธราชธรรม” ซึ่งแปลตรงตัวว่า ธรรมสำหรับพระราชา ๑๐ ประการ

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชจริยาวัตรเนื่องใน ทศพิธราชธรรม อย่างไรบ้าง
สำหรับประชาชนทั่วไปซึ่งส่วนใหญ่ก็ไม่ค่อยจะมีความรู้เกี่ยวกับทศพิธราชธรรมแล้วก็คงจะไม่เข้าใจหรือมองไม่เห็นว่า ทรงมีพระราชจริยาวัตรที่นับว่าเป็นการปฏิบัติทศพิธราชธรรมอย่างไรบ้าง
แต่สำหรับผู้ที่รู้เรื่องทศพิธราชธรรมดีก็คงประจักษ์ด้วยตนเองว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวนั้น
ทรงมีพระราชจริยาวัตรที่มั่นคงอยู่ในหลักทศพิธราชธรรมอย่างไรบ้างพระราชกรณียกิจของพระ บาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในด้านต่างๆ เท่าที่ทรงปฏิบัติเป็นประโยชน์สุขแก่ประชาชาติและประชาชน นับแต่เสด็จเถลิงถวัลย์ราชสมบัติมาจนกระทั่งถึงบัดนี้ซึ่งเป็นเวลายาวนานถึง ๔๒ ปีนั้น
มีมากมายเกินกว่าที่จะบรรยายได้ในที่นี้ และพระราชกรณียกิจเหล่านั้น ก็ล้วนแต่แสดงให้เห็นถึงพระราชจริยาวัตรอันนับเนื่องใน ทศพิธราชธรรม ทั้งนั้น ในที่นี้จะขอนำมาแสดงพอเป็นตัวอย่าง
เพื่อประกอบความเข้าใจในเรื่องทศพิธราชธรรมแต่เพียงบางประการเท่าที่เวลาจะอำนวยให้
พระราชกรณียกิจที่สำคัญประการหนึ่งของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่พวกเราคุ้นหูคุ้นตากันเป็นอย่างดี ก็คือการเสด็จพระราชดำเนินทรงเยี่ยมเยียนประชาชนในที่ต่าง ๆ ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค และทุกครั้งที่เสด็จฯ ไปทรงเยี่ยมเยียนนั้น ก็จะพระราชทานสิ่งของต่างๆ แก่ประชา ชนของพวกเขาเหล่านั้น เพื่อเป็นการช่วยบรรเทาหรือแก้ไขปัญหาต่างๆ ของประชาชนบ้าง
เพื่อเป็นการช่วยส่งเสริมคุณภาพชีวิตของประชาชนให้ดียิ่งขึ้นบ้าง เช่น ในดินแดนที่ห่างไกลไร้สถานที่ศึกษา ก็พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ให้สร้างโรงเรียนตลอดถึงพระราชทานอุปกรณ์การเรียนแก่นักเรียนในที่ที่ประชาชนขาดที่ที่ทำมาหากิน ก็ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้มีการจัดสรรที่ดินให้ประชาชนเข้าทำมาหากินในรูปของโครงการจัดพัฒนาที่ดินตามพระราชประสงค์

เช่น โครงการฯ หุบกะพงจังหวัดเพชรบุรี โครงการฯ ทุ่งลุยลาย จังหวัดชัยภูมิ และพระราชทานที่นาของสำนักงานทรัพย์สินส่วนมหากษัตริย์ในจังหวัดต่างๆ รวมกว่า ๕๐,๐๐๐ ไร่สำหรับจัดสรรให้ประชาชนผู้ยากจนทำกิน เป็นต้น ในบางท้องที่ที่ขาดแคลนอุปกรณ์การเกษตร ก็ทรงพระมหากรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานอุปกรณ์ที่จำเป็น พร้อมทั้งพันธุ์พืช พันธุ์สัตว์เลี้ยงชนิดต่างๆ
ในท้องถิ่นที่ขาดแคลนน้ำก็ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดสร้างเหมืองฝายบ้าง อ่างเก็บน้ำบ้าง
พระราชทานหรือพระราชทานโครงการพัฒนาแหล่งน้ำบ้างเป็นต้น
นอกจากจะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพัสดุสิ่งของอันจำเป็นแก่การยังชีพและการพัฒนาชีวิตให้ดีขึ้นในด้านต่าง ๆ ดังกล่าวแล้ว ยังได้ทรงกรุณาพระราชทานพระราชดำริและพระราชดำรัสในทางวิชาการอันเป็นประโยชน์ต่อการสร้างสรรค์และพัฒนาการศึกษา การอาชีพ การสุขอนามัย และความเป็นอยู่ของประชาชนอีกเป็นอเนกประการ

ดังเป็นที่รู้กันอยู่ สิ่งที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานแก่ประชาชนในลักษณะต่างๆ ดังกล่าวมานี้ ก็มีทั้งส่วนที่พระราชทานจากพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์และจากทุนทรัพย์ที่มีผู้โดยเสด็จพระราชกุศล ที่กล่าวมาพอเป็นตัวอย่างนี้ก็ คือพระราชจริยาวัตรในส่วนที่เป็นการปฏิบัติ

ทศพิธราชธรรม ข้อที่ ๑ คือ ทาน

การให้ปันอันเป็นการเฉลี่ยความสุขแก่ผู้อื่นตามควรแก่ฐานะนั้นเอง และจะเห็นได้ว่า สิ่งที่พระราชทานแก่ประชาชนนั้น มีทั้งพัสดุสิ่งของและความรู้ความคิดอันเป็นประโยชน์ ฉะนั้น จึงกล่าวได้ว่า พระราชจริยาวัตรใน ทศพิธราชธรรมข้อที่ ๑ คือ ทาน นั้น ได้ทรงปฏิบัติอย่างครบถ้วน คือทั้ง อามิสทาน การให้ปันพัสดุสิ่งของและ ธรรมทาน การให้ปันธรรม คือ ความรู้ ความคิด และข้อแนะนำอันเป็นประโยชน์ต่อผู้รับในด้านต่างๆ ผู้ที่มีโอกาสได้เฝ้าแทนหรือใกล้ชิดพระยุคลบาท คงจะได้ประจักษ์ว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวนั้น ทรงมีพระราชจริยาวัตรทั้งทางพระกายและพระวาจาสงบเรียบร้อยงดงามทรงดำรงพระองค์อยู่ในความสงบและมั่นคง ไม่ว่าจะเสด็จฯหรือประทับ ณ ที่ใด ๆ ไม่ว่าจะอยู่ทามกลางสถานการณ์ใดๆ ไม่ทรงกระทำการใด ๆ ที่จะก่อให้เกิดเป็นทุกข์เป็นโทษแก่ผู้อื่น
ตรงกันข้าม ทรงปฏิบัติแต่พระราชภารกิจอันจะก่อประโยชน์สุขทั้งแก่ทั้งพระองค์เองและผู้อื่นเท่านั้น ไม่ตรัสพระวาจาอันจะก่อให้เกิดความแตกร้าวและเสียหายต่อผู้อื่น แต่ตรัสเท่าที่จำเป็นและในสิ่งที่มีประโยชน์เท่านั้นอันแสดงถึงการที่ทรงควบคุมพระองค์ได้เป็นเลิศในทุกสถานการณ์
ฉะนั้น ไม่ว่าพระองค์จะเสด็จฯหรือประทับอยู่ ณ ที่ใด จึงเป็นที่เย็นใจของผู้ใกล้ชิด เป็นที่เคารพยำเกรงของผู้ประสบพบเห็น และเป็นที่ชื่นชมของพสกนิกรทั่วไป พระราชจริยาวัตรอันสงบเยือกเย็นและงดงาม ดังนี้ นับได้ว่าเป็นการทรงปฏิบัติใน ทศพิธราชธรรรม ข้อที่ ๒ คือ ศีล การระวังรักษาความประพฤติทางกาย ทางวาจาให้สงบเรียบร้อยด้วยทรงรักษาพระราชหฤทัยให้สงบเรียบร้อย
นอกจากจะทรงดำรงพระองค์อยู่ในศีลอย่างมั่นคงแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวยังทรงใฝ่พระราชหฤทัยศึกษาและปฏิบัติธรรมทางพระพุทธศาสนาตลอดมามิได้ขาด
ทำให้พระราชหฤทัยประกอบด้วยพระคุณธรรมอื่น ๆ อีกอเนกประการ อันเป็นผลสนับ สนุนให้ทรงดำรงพระองค์อยู่ในศีลอย่างมั่นคงได้โดยไม่ลำบากจนกลายเป็นพระปกตินิสัย
ซึ่งเป็นศีลแท้ดังเป็นที่ปารกฎเราท่านทั้งหลายแล้ว

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงใช้เวลาเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมเยียนประชาชนในถิ่นต่าง ๆ ทุกภาคของพระราชอาณาจักรประมาณปีละ ๘ เดือน ท้องถิ่นที่เสด็จฯ ไปทรงเยี่ยมเยียนนั้น บางแห่งก็ทุรกันดารมากบางแห่งถึงต้องเสด็จพระราชดำเนินด้วยพระบาทเป็นระยะทางนับเป็นกิโลเมตร cต่ก็มิได้ทำให้ทรงย่อท้อพระราชหฤทัย เพราะทรงมีพระราชหฤทัยมุ่งมั่นในอันที่จะเสด็จฯ ไปให้ถึงที่ที่มีปัญหา ทรงมีพระราชประสงค์ที่จะเสด็จฯ ไปทอดพระเนตรทุกข์สุขของประชาชนด้วยพระองค์เอง เพื่อที่จะได้ทรงประจักษ์ถึงปัญหาและความต้องการของประชาชนโดยตรงด้วยพระองค์ ทั้งนี้ก็เพื่อที่จะได้พระราชทานความช่วยเหลือหรือที่จะพระราชทานพระราชดำริแนะนำได้อย่างถูกต้อง คราวหนึ่งได้ทรงมีพระราชดำรัสกับนักข่าวว่า

“ในหลาย ๆ ประเทศสถาบันกษัตริย์เปรียบเสมือนรูปปิระมิดที่มีประชาชนเป็นฐาน
สูงขึ้นไปก็มีข้าราชการต่าง ๆ และกษัตริย์อยู่บนยอดปิระมิด แต่หน้าที่ของพระมหา กษัตริย์ไทยในปัจจุบันกลับกันเป็นปิระมิดที่คว่ำหัวลง คือ ประชาชนประชาชนทั้งหลายอยู่ข้างบนและสถาบันพระมหากษัตริย์กลับอยู่ข้างล่างสุด ทำหน้าที่บริการสนองความต้องการของประชาชนที่อยู่ข้างบน”

จากพระราชดำรัสนี้แสดงถึงพระราชปณิธานในอันที่จะทรงปฏิบัติพระองค์ เพื่อประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชนตามพระปฐมบรมราชโองการที่พระราชทานประชาชนว่า

“เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม”

ด้วยพระราชปณิธานดั่งนี้นั่นเอง ที่กระตุ้นเตือนให้พระองค์ทรงเสียสละความสุขสำราญส่วนพระองค์เสด็จฯ ไปทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจต่าง ๆ ในที่ทุกสถานไม่ว่าจะใกล้ไกลหรือยากลำบากเพียงไรดังเป็นภาพที่คุ้นตาของพวกเราทั้งหลายอยู่แล้ว ซึ่งอันที่จริงแล้วโดยฐานะที่ทรงเป็นพระมหากษัตริย์อันเป็นที่เคารพสักการะสูงสุดของชาติ พระองค์ไม่จำต้องทรงปฏิบัติดังกล่าวมาแล้วข้างต้นก็ได้ แต่ด้วยพลังแห่งพระมหากรุณาและพระราชปณิธานอันแน่วแน่
จึงทำให้พระองค์ไม่อาจจะทรงเฉยเมยต่อความเป็นไปของพสกนิกรของพระองค์ได้
พระราชกรณียกิจในส่วนนี้ นับได้ว่าเป็นการเสียสละประโยชน์สุขส่วนพระองค์เพื่อประชาชนและประเทศชาติโดยแท้ นับได้ว่าเป็นพระราชจริยาวัตรใน ทศพิธราชธรรม ข้อที่ ๓ คือ ปริจจาคะ การเสียสละประโยชน์สุขส่วนตนเพื่อประโยชน์สุขส่วนรวม
การที่ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจต่าง ๆ อย่างเที่ยงตรงต่อภาระหน้าที่ เที่ยงตรงต่อกาลเวลา และเที่ยงตรงพระราชปณิธานในพระราชหฤทัยที่ทรงมีต่อพสกนิกร โดยมิได้ทรงละเลยและย่อท้อนั้น
นับว่าเป็นพระราชจริยาวัตร ใน ทศพิธราชธรรม ข้อที่ ๔ คือ อาชชวะ ความซื่อตรงต่อตนเอง ต่อหน้าที่ และต่อประชาชน และด้วยพระราชสำนึกในพระคุณธรรมข้อนี้นั้นเอง บางครั้งแม้จะทรงพระประชวร หากไม่มีพระอาการมากจนเกินไป ก็จะเสด็จพระราชดำเนินไปทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจโดยมิได้ทรงผัดเพี้ยน

ในการเสด็จพระราชดำเนินไปทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจต่าง ๆ ไม่ว่าจะในวโรกาสใด หรือ ณ สถานที่ใดจะทรงมีความละมุนละไมและอ่อนโยนเสมอ เป็นต้นว่า ทรงมีพระราชปฏิสันถารกับประชาชนตามควรแก่ฐานะด้วยพระพักตร์ที่ยิ้มแย้ม ด้วยพระสุรเสียงที่อ่อนโยนเป็นปกติโดยมิได้ทรงแบ่งชั้นวรรณะ และโดยมิได้ทรงถือพระองค์ บ่อยครั้งที่เราจะเห็นภาพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวประทับราบบนพื้นเพื่อทรงสนทนากับประชาชน พระราชจริยาวัตรในส่วนนี้นับได้ว่า
ทรงปฏิบัติใน ทศพิธราชธรรมข้อที่ ๕ คือ มัททวะ ความอ่อนโยน ไม่เย่อหยิ่งถือตัว และด้วยพระคุณธรรมข้อนี้นั้นเองจึงทรงเป็นที่เคารพรักของประชาชนทั่วไปไม่ว่าจะเสด็จ ที่ไหนประชาชนต่างก็พอใจที่จะเฝ้าชมพระบารมีโดยไม่รู้จักเบื่อบางคนอาจจะเดินทางมาจากที่ไกล ๆ เพียงเพื่อขอได้เฝ้าชมพระบารมีเท่านั้นก็พอใจแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานโครงการและพระราชดำริไว้มากมายหลายสาขา ในอันที่จะบรรเทาหรือแก้ไขปัญหาความทุกข์ยากเดือดร้อนของประชาชน ตลอดถึงได้ทรงติดตามตรวจสอบผลอันจะพึงได้จากโครงการและพระราชดำรินั้น ๆ โดยใกล้ชิดเสมอ ซึ่งส่วนใหญ่มักจะเสด็จฯไปทอดพระเนตรโครงการตามพระราชดำริต่าง ๆ นั้นด้วยพระองค์เองเสมอมิได้ขาด เมื่อทรงพบข้อบกพร่อง ก็จะทรงพยายามปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้น
เมื่อทรงเห็นว่าได้ผลดีมีประโยชน์ก็จะพระราชทานพระบรมราชูปถัมภ์ส่งเสริมให้พัฒนายิ่ง ๆ ขึ้น
นี้นับว่าเป็นพระราชวิริยะอุตสาหะในอันที่จะแก้ไขปัญหาและพัฒนาสิ่งที่จะเป็นประโยชน์สุขแก่ประเทศชาคิและประชาชนโดยแท้ พระองค์ทรงมีพระราชวิริยะอุตสาหะในพระราชกรณียกิจส่วนนี้อย่างมิรู้จักหยุดยั้ง ฉะนั้น ในปัจจุบันจึงมีโครงการตามพระราชดำริในสาขาต่าง ๆ เกิดขึ้นมากกว่า ๑,๐๐๐ โครงการซึ่งโครงการเหล่านี้มีลักษณะคล้ายเป็นการเริ่มต้นให้รัฐบาลก่อน เป็นแบบที่เรียกกันว่า Pilot Project เมื่อทรงริเริ่มแล้ว รัฐบาลเห็นว่าเป็นประโยชน์อย่างแท้จริงก็จะเข้ามาร่วมสนับสนุนในภายหลัง เหล่านี้คือพระราชจริยาวัตรใน ทศพิธราชธรรม ข้อที่ ๖ คือ ตปะ
ความเพียรพยายามเพื่อกำจัดสิ่งเลวร้ายและสร้างสรรค์สิ่งดีงาม อันจะก่อให้เกิดประโยชน์สุขทั้งแก่ตนเองและผู้อื่นทั้งในรูปของวัตถุธรรมและนามธรรมส่วนพระราชจริยาวัตรอันแสดงออกซึ่งพระเมตตาต่อปวงพสกนิกรในทุกโอกาสที่เสด็จฯ ไปทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจต่าง ๆ ไม่เคยทรงแสดงความเกรี้ยวกราดแข็งกระด้างต่อใคร ๆ แต่ทรงปฏิบัติต่อบุคคลต่าง ๆ ด้วยความสุภาพอ่อนโยนอย่างพอเหมาะพอควรแก่สถานะนั้นนับเป็นการทรงปฏิบัติใน ทศพิธราชธรรม ข้อที่ ๗ อักโกธะ ความไม่โกรธไม่แข็งกระด้างและไม่พยาบาทมุ่งร้ายต่อใคร ๆ พระคุณธรรมข้อนี้ คงเป็นที่ประจักษ์แก่ทุกคนอยู่แล้วเช่นกันเนื่องจากทรงดำรงพระองค์มั่นอยู่ในทศพิธราชธรรมข้อ อักโกธะ คือความไม่โกรธ ไม่พยาบาทมุ่งร้ายต่อใคร ๆ จึงเป็นการตัดทางที่จะนำไปสู่การกระทำใด ๆ ที่จะก่อให้เกิดความเดือดร้อนเสียหายต่อผู้อื่นอย่างปราศจากศีลธรรมและเหตุผลด้วย และก็ไม่เคยปรากฏว่า ได้ทรงกระทำการใด ๆ อันเป็นการเบียดเบียนผู้อื่น ตลอดไปถึงสัตว์ด้วย
มีแต่พระราชทานความร่มเย็นอันเป็นพระมหากรุณาในลักษณะต่าง ๆ ฉะนั้นจึงกล่าวได้ว่า
ได้ทรงปฏิบัติพระองค์อยู่ใน ทศพิธราชธรรม ข้อที่ ๘ อวิหิงสา ความไม่เบียดเบียนผู้อื่นให้เดือดร้อน อย่างบริบูรณ์ การปฏิบัติพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในโอกาสและสถานที่ต่าง ๆ ดังที่ได้กล่าวมาพอเป็นตัวอย่างทั้งหมดนี้ ล้วนแสดงให้เห็นพระคุณธรรมอีกข้อหนึ่งคือ ขันติ ความอดทน อันเป็นทศพิธราชธรรม ข้อที่ ๙ เพราะในการทางปฏิบัติพระราชกรณียกิจในหลาย ๆ โอกาส ในหลายๆ สถานที่ ต้องทรงบุกป่าฝ่าดงไปเป็นระยะทางไกล ๆ
บางครั้งก็ต้องทรงพระราชดำเนินไปท่ามกลางแสงแดดที่ร้อนระอุบ้าง ท่ามกลางสายฝนบ้าง
และพระราชกรณยกิจที่ต้องทรงปฏิบัตินั้นก็มีมากมายจนแทบจะไม่มีเวลาทรงพระสำราญส่วนพระองค์แต่ถึงกระนั้นก็ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจต่าง ๆ เหล่านั้นให้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดีโดยมิได้ทรงย่อท้อ ทั้งนี้ด้วยพลังแห่งพระขันติธรรมอันเต็มเปี่ยมอยู่ในพระราชหฤทัยนั่นเองและเมื่อประมวลพระราชจริยาวัตรทั้งมวลที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้นเข้าด้วยกันก็จัดได้ว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงปฏิบัติพระองค์อยู่ในทำนองคลองธรรมและต้องตามพระราชประเพณีที่พระมหากษัตริยาธิราชเจ้าทั้งหลายในอดีตที่ได้ทรงปฏิบัติสืบ ๆ กันมาแต่โบราณ ไม่ทรงปฏิบัติพระองค์แผกเพี้ยนไปจากขัตติยราชประเพณีอันดีงาม และไม่ทรงละเลยคุณธรรมในทางพระศาสนา ไม่ทรงแสวงหาความสุขสำราญส่วนพระองค์โดยทรงละเลยพระราชภารกิจอันจะพึงปฏิบัติ
หรือก่อให้เกิดความทุกข์ยากแก่ประชาชน แต่ตรงกันข้าม ทรงดำรงพระองค์มั่นอยู่ใน ทศพิธราชธรรม ทรงใฝ่พระราชหฤทัยในการพระศาสนาและศีลธรรม ทรงปฏิบัติรักษาขนบประเพณีอันดีงามของชาติ และทรงปฏิบัติพระองค์เป็นแบบอย่างที่ดีแก่ประชาชนในทุกด้าน ทั้งหมดนี้นับได้ว่าเป็นพระราชจริยาวัตรใน ทศพิธราชธรรมข้อสุดท้าย คือ อวิโรธนะ การไม่ปฏิบัติให้ผิดจากที่ถูกที่ควร ไม่ผิดจาดทำนองคลองธรรมก็คือปฏิบัติให้เป็นไปตามธรรมดังที่ได้ตรัสไว้ในพระปฐมบรมราชโองการว่า “เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม” นั่นเองพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจต่าง ๆ ดังตัวอย่างที่ได้กล่าวมานี้อย่างสอดคล้องกลมกลืนเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับรัฐบาลและประชาชน โดยมิได้ทรงยกหรือแยกพระองค์ออกไปเป็นอีกส่วนหนึ่งต่างหากจากรัฐบาลและประชาชนโดยฐานที่ทรงเป็นพระองค์พระประมุขแห่งชาติ ก็ด้วยทรงปฏิบัติพระองค์ตามหลักของทศพิธราชธรรม
เพื่อบำบัดทุกข์บำรุงสุขของปวงพสกนิกร
เช่นเดียวกับที่คนไทยทั้งปวงปฏิบัติตามหน้าที่ของตนเองเพื่อความเจริญก้าวหน้าของชาติบ้านเมืองนั่นเอง ทรงมีพระราชสำนึกอยู่เสมอว่าคนไทยทุกคนไม่ว่าจะในฐานะเป็นองค์พระประมุขแห่งรัฐคณะรัฐบาล หรือประชาชนสามัญทั่วไป ต่างก็จะต้องใช้สติปัญญาความสามารถให้เป็นประโยชน์ต่อชาติบ้านเมืองตามควรแก่สถานภาพของตน ด้วยสำนึกในความเป็นชาติและโดยมีหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาเป็นหลักเป็นแกนแห่งการกระทำเสมอเหมือนกัน ไม่มียกเว้น
ในการปฏิบัติพระราชกรณียกิจต่าง ๆ นั้น จึงทรงปฏิบัติด้วยพระราชสำนึกและตามพระคุณธรรมมีทศพิธราชธรรม เป็นต้น เยี่ยงที่คนไทยทั้งหลายในทุกฐานะปฏิบัติกันอยู่โดยฐานที่เป็นคนไทย เพราะฉะนั้นพระองค์จึงทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจน้อยใหญ่
ตลอดมามิได้หยุดหย่อน นับแต่เริ่มรัชกาลเป็นต้นมาจนทุกวันนี้
ในปัจจุบันมีคณะกรรมการซึ่งมาจากหน่วยงานต่าง ๆ ของรัฐบาลปฏิบัติสนองพระราชดำริทุกแห่ง
และมีคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริที่เรียกสั้นว่า กปร.
มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณแก่ปวงชนชาวไทยอย่างหาที่สุดมิได้
ตามที่ได้กล่าวมาค่อนข้างจะยืดยาวนี้
เป็นเพียงส่วนหนึ่งของพระราชจริยาวัตรของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน
ที่แสดงให้เห็นว่า พระองค์ทรงปฏิบัติตามหลักทศพิธราชธรรมอย่างไรบ้าง และผลของการที่องค์พระมหากษัตริย์ทรงดำรงมั่นอยู่ในทศพิธราชธรรมนั้นก่อให้เกิดประโยชน์สุขแก่ประเทศชาติและประชาชนอย่างไร ทั้งยังเป็นการชี้ให้เห็นอีกด้วยว่า

สำหรับชาติไทยนั้น ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ เป็นสิ่งที่จะแยกจากกันไม่ได้

เพราะ ชาติ ก็คือเอกภาพแห่งปวงชน ปวงชนจะมีเอกภาพได้ก็เพราะมี พระมหากษัตริย์ หรือผู้นำเป็นจุดรวมใจ พระมหากษัตริย์หรือผู้นำที่จะเป็นจุดรวมใจของปวงชนได้นั้นจะต้องมี พระศาสนา คือคุณธรรมเป็นที่ยึดมั่น เพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีและเป็นที่พึ่งได้ของปวงชน

พระศาสนาคือคุณธรรมจึงเท่ากับเป็นจุดศูนย์กลางของเอกภาพแห่งชาติ เพราะจะต้องเป็นหลักยึดสำหรับทุกคนในชาตินับแต่พระมหากษัตริย์ตลอดไปจนถึงประชาชนทั้งปวงโดยนัยนี้ แม้คำสอนเรื่องทศพิธราชธรรมก็เช่นเดียวกัน เป็นหลักธรรมที่ไม่เพียงแต่พระมหากษัตริย์เท่านั้นที่ควรปฏิบัติแม้รัฐบาล ข้าราชการ ประชาชนทั่วไป ก็ควรปฏิบัติ
เพราะแต่ละคนก็มีส่วนในการปกครองด้วยกันทั้งนั้น ต่างกันแต่มากน้อยไปตามฐานะ
เริ่มแต่ปกครองตน ปกครองสังคม ตลอดไปจนถึงปกครองประเทศ

แต่ที่ทรงยกพระราชาขึ้นมาแสดงเพราะว่า พระราชาหรือพระมหากษัตริย์ทรงเป็นธงของประเทศชาติ ทรงเป็นแบบอย่างของประชาชน และเป็นที่ปรากฏชัดกว่าบุคคลใด ๆ ในสังคมเดียวกัน

ฉะนั้น จึงทรงอยู่ในฐานะที่ต้องให้ความสำคัญและเน้นเป็นพิเศษ เพื่อเป็นเยี่ยงอย่างแก่คนทั่วไป ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวของเราทั้งหลายได้ทรงปฏิบัติมาแล้วเป็นอย่างดียอดเยี่ยม

ขอพระราชทานถวายพระพรชัยมงคลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐ

และถ้าจะมีข้อผิดพลาดบกพร่องไม่ถูกไม่ควรประการใด ขอพระราชทานอภัยและขออภัยท่านผู้ฟังทั่วไป

ขออวยพรแก่ทุกท่านที่มาร่วมฟังการบรรยาย และขอเชิญให้ร่วมอธิษฐานจิตถวายถวายพระพรให้ทรงพระเจริญ

ขออวยพร.



(ที่มา : “ทศพิธราชธรรมของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว”
: พระนิพนธ์ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก)

http://board.palungjit.com/showthread.php?t=162943

วันจันทร์ที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

ลักษณะนิสัย 6 ประการของผู้ประสบความสำเร็จ

ลักษณะนิสัย 6 ประการของผู้ประสบความสำเร็จ

มีชีวิตอยู่อย่างพอเพียง
พวกเขามักใช้ชีวิตอยู่อย่างเรียบง่าย ไม่หรูหราฟุ่มเฟือยจนเกินความจำเป็น กินอยู่และแต่งกายอย่างประหยัดและเหมาะสมตามกาลเทศะ เมื่อมีสิ่งของหรือเครื่องใช้เกิดการชำรุด เหล่าบรรดาเศรษฐีทั้งหลายมักเลือกที่จะลองซ่อมแซมดูก่อน มากกว่าเลือกที่จะซื้อใหม่เพราะพวกเขารู้ถึงคุณค่าของเงิน จึงไม่ใช้จ่ายอย่างสุรุ่ยสุร่าย นอกจากนั้น คำว่า "ร่ำรวย" ในสายตาของบุคคลเหล่านี้หมายถึง การมีรายรับสูงและมีรายจ่ายต่ำ ในทางกลับกัน การมีรายได้สูงแต่มีการใช้จ่ายอย่างไม่จำกัด ประเภทหลังนี้ พวกเขาเรียกว่า การมีความเป็นอยู่แบบ "ยากจน"

ไม่เป็นพวกที่บ้างาน
พวกเขาให้ความสำคัญต่อการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับคนรอบข้าง ไม่ว่าจะเป็นสมาชิกในครอบครัว เพื่อนฝูง หรือญาติมิตรมาเป็นอันดับหนึ่ง เพราะพวกเขาเชื่อว่า ความสบายใจ ความอบอุ่นภายในครอบครัว การมีสุขภาพที่ดี และการมีชีวิตส่วนตัวที่สมดุลกับชีวิตการทำงานจะเป็นรากฐานสำคัญของความสำเร็จในอนาคต ฉะนั้น พวกเขาจึงไม่ทำงานจนเกินตัว และเลือกทำเฉพาะชิ้นงานที่สำคัญและเกิดผลประโยชน์อย่างมากต่อองค์กร อย่างไรก็ตาม สิ่งนี้ไม่ได้หมายความว่า พวกเขาเหล่านั้นจะเป็นคนที่ชอบเกี่ยงงานหรือเป็นคนที่เกียจคร้านแต่อย่างใด แต่มันหมายถึงการทำงานด้วยสติปัญญา ไม่ใช่สักแต่ว่าทำ ๆ ไป และในความเป็นจริงแล้วพวกเขาเหล่านี้เป็นบุคคลที่ตั้งใจทำงานทุ่มเทแรงกายแรงใจอย่างเต็มที่ เพื่อให้งานสำเร็จลุล่วงไปตามแผนการที่วางไว้ นอกจากนั้น การที่พวกเขาพยายามสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับคนรอบข้างเพราะพวกเขาเชื่อว่า คนเหล่านั้นอาจจะกลายมาเป็นลูกค้าหรือเพื่อนร่วมงานที่ต้องช่วยเหลือเกื้อผมลกันในภายภาคหน้าก็เป็นได้

ไม่จำเป็นต้องร่ำรวยมาตั้งแต่เกิด
ถึงแม้ว่าพวกเขาจะไม่ได้มีเงินทองหรือมรดกมากมายจากพ่อแม่มาตั้งแต่เกิด แต่พวกเขาก็พยายามต่อสู้ สร้างเนื้อสร้างตัวด้วยน้ำพักน้ำแรงของตนเอง และก็ประสบความสำเร็จเสียด้วย เพราะผู้แต่งกล่าวว่า พวกเขาเหล่านั้นส่วนใหญ่มักจะร่ำรวยตั้งแต่ก่อนอายุ 45 ปีเสียด้วยซ้ำ อย่างไรก็ดี การที่พวกเขาต้องลำบากลำบนมาตั้งแต่เด็กก็ไม่ได้หมายความว่า พวกเขาจะตามใจลูก ๆ ของตนเองทุกอย่างเพื่อทดแทนสิ่งที่ตนเองขาดหายไปในวัยเด็ก แต่พวกเขากลับมีวิธีการสอนให้ลูกรู้จักอดทน รู้จักคุณค่าของเงิน มีความเป็นผู้ใหญ่ และกล้าที่จะเสี่ยง โดยเหล่าบรรดาเศรษฐีอเมริกันทั้งหลาย มักจะสอนให้ลูก ๆ รู้จักใช้เวลาให้เป็นประโยชน์ในช่วงปิดเทอม โดยการทำงานพิเศษเพื่อหาเงินด้วยตนเอง ฝึกความมีระเบียบวินัย และฝึกฝนทักษะในการพึ่งพาตนเอง

ไม่ได้มีสติปัญญามากนัก

เนื่องจากพวกเขาไม่ได้มีฐานะร่ำรวยมาตั้งแต่เกิดจึงจำเป็นต้องทำงานไปด้วยเรียนหนังสือไปด้วย ทำให้ผลการเรียนที่ออกมาไม่ค่อยสูงมากนัก ส่วนใหญ่แล้ว GPA ในระดับปริญญาตรีจะอยู่ประมาณ 2.9 เท่านั้น และด้วยความลำบากตรากตรำในการเรียน สิ่งนี้ทำให้เขารู้จักความอดทนและไม่ยอมแพ้อะไรง่าย ๆ แม้เมื่อเจออุปสรรคในการทำธุรกิจ เขาก็จะไม่ตื่นเต้นอะไรมากนัก เพราะพวกเขารู้ดีว่า อุปสรรคกับความสำเร็จเป็นของคู่กัน หากไม่มีอุปสรรคให้ข้ามผ่าน ชัยชนะที่ได้มาย่อมไม่อาจเรียกได้ว่า ความสำเร็จ นอกจากนั้น ช่วงเวลาในรั้วมหาวิทยาลัย บรรดาเศรษฐีเหล่านี้ยังชอบที่จะผูกสัมพันธ์กับคนหลาย ๆ ประเภท เพื่อศึกษาพฤติกรรมและแนวความคิดของบุคคลเหล่านั้น และเพราะการได้พบปะเจอะเจอคนมากมาย ทำให้พวกเขามีทักษะในการเลือกคบคน ซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการคัดเลือกบุคลากรเข้ามาร่วมงานในองค์กรได้เป็นอย่างดี และสุดท้าย จากมุมมองของเหล่าเศรษฐีทั้งหลาย พวกเขาเชื่อว่า ชีวิตสี่ปีในรั้วมหาวิทยาลัย เป็นช่วงเวลาแห่งการแสวงหาตนเอง เพื่อให้รู้ว่า ตนเองชอบหรือมีความถนัดในสิ่งใด และทุกคนต่างบอกเป็นเสียงเดียวกันว่า การที่เขารู้จักตนเองดีพอ ทำให้เขาสามารถเลือกทำงานที่ชอบและมีความถนัดได้ ซึ่งสองสิ่งนี้เองก็คือ ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้พวกเขาประสบความสำเร็จอย่างยิ่งยวดนั่นเอง

มีคุณธรรมในจิตใจ

เขาเชื่อว่า ศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ไม่ได้อยู่ที่เงินตรา แต่อยู่ที่คุณธรรมความจริงใจที่มีให้แก่กัน ฉะนั้น พวกเขาจึงทำธุรกิจด้วยความซื่อตรง ซื่อสัตย์ และตรงไปตรงมา ไม่มีการหลอกลวง ทำให้ธุรกิจของพวกเขาเจริญก้าวหน้าอย่างไม่หยุดยั้ง นอกจากนั้น เขายังตระหนักดีว่า การหลอกลวงลูกค้าด้วยวิธีใดก็ตาม แม้ว่าจะได้ผลกำไรที่งอกเงย แต่มันจะเป็นเพียงในระยะเวลาสั้น ๆ เท่านั้น เพราะเมื่อลูกค้าจับได้ เขาย่อมไม่กลับมาซื้อสินค้าหรือใช้บริการของเราอีกอย่างแน่นอน ในทางกลับกัน การค้าขายอย่างตรงไปตรงมา แม้ว่าจะได้ผลกำไรอย่างค่อยเป็นค่อยไป แต่วิธีนี้สามารถซื้อใจลูกค้าได้ จึงทำให้บริษัทมีผลกำไรอย่างต่อเนื่องในระยะยาว

ที่มา : http://www.thainn.com/blog.php?m=bunjerd&d=7730

วิธีสอนธรรมของ ‘พระบรมครู’



เดือนมกราคม นอกเหนือจากเป็นเดือนแรกของปีแล้ว ยังมีวันสำคัญเนื่องถึงกันอยู่สองวัน คือ วันเด็กแห่งชาติ และวันครูแห่งชาติ ดังนั้น เพื่อเป็นการระลึกถึงพระคุณของครูอันหาที่สุดมิได้ จึงจะขอนำวิธีการสอนธรรมของพระบรมครูของเหล่าเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย นั่นก็คือ พระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งทรงมีกลวิธีในการสอนธรรมะหลากหลายแบบที่สามารถทำให้พุทธบริษัทตรัสรู้ธรรมได้
วิธี การของพระองค์นั้นเริ่มจากการพิจารณาถึงอุปนิสัยใจคอ และจริตของผู้ที่ทรงสั่งสอนว่า มีพื้นฐานการเรียนรู้มากน้อยแค่ไหน ทรงหยั่งรู้ถึงการสั่งสมบารมีในชาติก่อนอย่างไร และธรรมะใดเหมาะแก่ อุปนิสัยของผู้ฟัง เป็นต้น

ทรงสอนคนโง่ที่สุดให้บรรลุธรรม
เรื่องมีอยู่ว่า พระจูฬปันถกเป็นผู้มีปัญญาทึบ พระมหาปันถก ผู้เป็นพี่ชายสอนให้ท่องคาถา แค่คาถาเดียวนานถึงสี่เดือนก็จำไม่ได้ จึงไล่ให้ออกไปนอกกุฎี พระจูฬปันถกน้อยใจร้องไห้คิดจะสึก พระพุทธเจ้าทรงทราบความ จึงตรัสเรียกมาปลอบโยน แล้วประทานผ้าขาวผืนหนึ่งให้ลูบคลำพร้อมบริกรรมว่า "ผ้าเช็ด ธุลี ผ้าเช็ดธุลี" นั่งคลำไปๆ ผ้าก็เศร้าหมอง จึงน้อมมา เปรียบเทียบกับตนว่า "สังขารทั้งหลายไม่เที่ยงหนอ"
พระพุทธเจ้าทรงตักเตือนว่า "จูฬปันถก เธออย่าหมายแต่ว่าผ้านั้นอันธุลีย้อมให้เศร้าหมอง ยัง มีธุลีคือราคะที่มีอยู่ในใจของเธอ เธอจงชำระมันเสียด้วย" แล้วตรัสพระคาถาเป็นต้นว่า "ราคะเราเรียกว่า ธุลี ธุลีเรากล่าวว่าฝุ่นละอองก็หามิได้ คำว่าธุลีนี้เป็นชื่อแห่งราคะก็มี"
ในที่สุดแห่งการตรัสพระคาถาทั้งหลายเหล่านั้น พระจูฬปันถกก็ได้บรรลุพระอรหัตผล พร้อมด้วยปฏิสัมภิทา แตกฉานในพระไตรปิฎก การที่ท่านได้บรรลุธรรมอย่างง่ายนี้ เพราะในอดีตชาติท่านเกิดเป็นพระราชา ขณะที่เสด็จประทักษิณเลียบพระนคร พระเสโทหลั่งไหลจากพระนลาฏ พระองค์ทรงใช้ผ้าขาวบริสุทธิ์เช็ดพระเสโท ทำให้ผ้าเศร้าหมอง ทรงดำริว่า ผ้าขาวซับเหงื่อเพียงเล็กน้อยก็เศร้าหมองแล้ว สังขารทั้งปวงไม่เที่ยงหนอ จึงเป็นปัจจัยให้ท่านบรรลุธรรมในชาตินี้
ขณะที่พระมหาปันถกไม่ทราบอัธยาศัย และบารมี ธรรมของพระจูฬปันถก ที่ได้สั่งสมมาแต่อดีตชาติ จึง ไม่สามารถสอนได้ แต่พระพุทธองค์ทรงสอนเพียงครู่ เดียว พระจูฬปันถกก็ตรัสรู้ธรรมได้อย่างน่าอัศจรรย์
ครูที่สอนนักเรียนแล้วนักเรียนไม่เข้าใจ โปรดอย่า คิดว่านักเรียนโง่ แต่ครูเองไม่ฉลาดในการสอนใช่หรือไม่?

การสอนโดยกุศโลบาย หนามยอกเอาหนามบ่ง
มีเรื่องเล่าว่า เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จทรงโปรดพระพุทธบิดา ณ กรุงกบิลพัสดุ์ พระองค์ได้พาพระนันทะ พระอนุชาต่างพระมารดา ผู้กำลังจะอภิเษกสมรสกับนางชนบทกัลยาณี เข้ามาบวชในพระพุทธศาสนา พระนันทะนั้นไม่ได้บวชเพราะศรัทธา วันๆจึงมัวแต่ คิดถึงคนรัก จนไม่เป็นอันทำความเพียรเพื่อบรรลุ ธรรม เมื่อพระพุทธเจ้าทรงทราบ จึงพาพระนันทะไปสู่ดาวดึงส์เทวโลก ระหว่างทางเสด็จทรงชี้ให้พระนันทะดูนางลิงตัวหนึ่ง มีหู จมูก และหางขาดวิ่น นั่งอยู่บนตอไม้ที่ไฟไหม้ในท้องนาแห่งหนึ่ง เนื้อตัวมอม แมมไปด้วยเถ้าถ่าน และเมื่อมาถึงชั้นดาวดึงส์ทรงชี้ให้ดูนางอัปสร ๕๐๐ ซึ่งมีเท้าแดงดุจเท้านกพิราบ
พระพุทธเจ้าตรัสถามพระนันทะว่า นางอัปสร ๕๐๐ กับนางชนบทกัลยาณี ใครงามกว่ากัน
พระนันทะกราบทูลว่า นางชนบทกัลยาณีก็เหมือน นางลิงบนตอไม้ ไม่ได้เสี้ยวหนึ่งของนางอัปสรเลย
พระพุทธองค์ตรัสต่อว่า "ถ้าเธอยินดีในนางอัปสร กว่านั้น จงประพฤติพรหมจรรย์ให้ถึงที่สุด แล้วเราจะ ประทานนางอัปสรแก่เธอ" พระนันทะดีใจมากรีบรับพระพุทธดำรัส
ต่อมาบรรดาภิกษุต่างพูดกันไปทั่วว่า พระนันทะประพฤติพรหมจรรย์เพราะต้องการนางอัปสร ไม่ได้ประพฤติพรหมจรรย์เพราะศรัทธา จึงทำให้ท่านเกิดความอาย และตั้งใจประพฤติธรรม พิจารณาจิตของตนว่า มีแต่ความรักไม่สิ้นสุด เห็นใครสวยก็รักเรื่อยไป เกิดสังเวชสลดใจ จึงได้บรรลุพระอรหัตผล
เรื่องนี้แสดงว่าพระพุทธเจ้าทรงใช้กุศโลบายอันแยบคาย ล่อให้พระนันทะประพฤติพรหมจรรย์ เมื่อ บรรลุแล้วก็ไม่ต้องประทานรางวัลแต่อย่างใด ทั้งนี้เพราะพระนันทะไม่ทราบมาก่อนว่า พรหมจรรย์นั้นเป็นการตัดขาดจากความต้องการทางโลกิยวิสัย

ทรงสอนโดยใช้วิธีอุปมาอุปไมย
ทรงสอนด้วยวิธีอุปมาอุปไมย เป็นเรื่องที่ทำได้ง่าย และเข้าใจง่าย และมีผลต่อจิตของผู้ถูกสอน เช่น ตรัสว่า
"ภิกษุทั้งหลาย เธอเห็นสุนัขจิ้งจอกตัวหนึ่ง ในเวลาใกล้รุ่งราตรีหรือไม่?"
"ได้เห็นพระเจ้าข้า"
"สุนัขจิ้งจอกตัวนั้นแล ภิกษุทั้งหลาย เวลามันเป็นโรคเรื้อน ซึ่งเกิดในฤดูหนาว เมื่อโรคเกิดขึ้นแล้วขนของมันหลุดร่วงไปสิ้น ตัวของมันซึ่งปราศจากขนนั้น เป็นแผลพุพองโดยรอบ แผลนั้นครั้นถูกลมโกรก ก็ทำให้กำเริบหนัก มันวิ่งไปบนบกก็ไม่รู้สึกยินดี หรือไปที่โคนไม้ ไปในที่แจ้ง ก็ไม่รู้สึกยินดี จะยืน เดิน นั่ง นอน ใดๆ ก็ถึงความวิบัติในที่นั้นๆ ฉันใด
ภิกษุ ทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ก็ฉันนั้น อันลาภ สักการ ชื่อเสียง ครอบงำรัดรึงตรึงจิตแล้ว ไปสู่เรือนว่างเปล่า ก็ไม่รู้สึกยินดี ไปที่โคนไม้ หรือไปในที่แจ้ง ก็ไม่รู้สึกยินดี จะยืน เดิน นั่ง นอน ในที่ใดๆ ก็ถึงความวิบัติในที่นั้นๆ เพราะเหตุนั้นแล พวกเธอจงสำเหนียก อย่าให้ลาภ สักการ ชื่อเสียง ครอบงำจิต ตั้งอยู่ได้"

ความเป็นพระบรมครู คือ การไม่ปิดบังความรู้แก่พระสาวก
ใน พระมหาปรินิพพานสูตรมีคำกราบบังคมทูลของพระอานนท์ตอนหนึ่งว่า เมื่อพระองค์ทรงพระประชวรนั้น ร่างกายจิตใจของข้าพระองค์นั้นระงมไปทุกทิศานุทิศย่อมไม่ปรากฏ แต่กระนั้นก็ยังอุ่นใจได้หน่อยหนึ่งว่าพระองค์ยังมิได้ตรัสเรื่องปรินิพพาน
พระพุทธองค์ตรัสแก่พระอานนท์ว่า "ดูกร อานนท์ สงฆ์จะหวังอะไรในตัวเราอีกเล่า ธรรมอันเราแสดงแล้ว ไม่มีภายนอกไม่มีภายใน ความซ่อนเร้นธรรม ย่อมไม่มีแก่เรา"
เพราะฉะนั้น ถ้าครูทั้งหลายสอนโดยไม่ปิดบังความรู้ ก็จะเป็นผลดีต่อเด็กไทยเราอย่างยิ่ง


ที่มา http://www.manager.co.th/

วันอาทิตย์ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2552

ครูผู้มีอุดมการณ์

ครูผู้มีอุดมการณ์

คอลัมน์ กระแสทรรศน์ สพฐ.

โดย ทรงวุฒิ มลิวัลย์



แรง บันดาลใจจากการเสียชีวิตของครูจูหลิง ปงกันมูล ได้ก่อให้เกิดพลังขับเคลื่อนในการค้นหาครูผู้มีอุดมการณ์และจิตวิญญาณครู ครูที่เสียสละเพื่อเด็กและการศึกษาไทย โดยกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งจะมีการคัดเลือกให้เหลือภาคละ 1 คน รวม 4 คน และรับรางวัลจาก ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี ในวันครูที่ 16 มกราคม 2552

การคัดเลือกครูผู้มี อุดมการณ์เพื่อเฟ้นหาตัวจริงเสียงจริง เริ่มจากให้แต่ละโรงเรียนเสนอชื่อพร้อมผลงานไปยังสำนักงานเขตพื้นที่การ ศึกษา (สพท.) เพื่อให้ สพท.คัดเลือกตัวแทนเข้ามาคัดเลือกระดับภาคให้เหลือภาคละ 1 คน ขณะเดียวกันหน่วยงานต่างๆ ที่มีครูอยู่ในสังกัดก็คัดเลือกครูในสังกัดตัวเองส่งมาคัดเลือกเป็นตัวแทน ระดับภาคได้ด้วยเช่นเดียวกัน

คณะกรรมการซึ่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิ หลายสาขา หลายหน่วยงาน ได้ทำหน้าที่อย่างยากลำบาก เพราะมีการส่งเข้าคัดเลือกจำนวนมากกว่าจะคัดเลือกให้เหลือเพียงภาคละ 1 คน แสดงให้เห็นว่ายังมีครูดี ครูที่มีอุดมการณ์ เสียสละเพื่อเด็กและสังคมได้อีกมาก ซึ่งครูเหล่านี้คือที่พึ่งที่หวังของการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน

เมื่อทราบผลจากการคัดเลือกไม่ทำให้ผิดหวังจริงๆ เพราะชื่อเสียงและเกียรติศักดิ์เป็นที่กล่าวขานและขจรขจายอยู่ในสังคมโดยรวมอยู่แล้ว

นาย กิจจา ชูประเสริฐ ผู้อำนวยการโรงเรียนปทุมวิไล อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี ครูผู้ผ่านประสบการณ์ทั้งชีวิตครูในป่าและครูในเมือง ต้องนำพาเด็กให้พ้นจากภัยทั้งปวง ทั้งขณะอยู่ในป่าและในเมือง ต่อสู้กับธุรกิจผิดกฎหมายรอบโรงเรียนอย่างไม่สะทกสะท้าน บริหารงานแบบพ่อปกครองลูก จนได้รับการเรียกขานจากนักเรียนว่าพ่อใหญ่ ผู้มุ่งหวังให้เด็กเป็นคนดีของครอบครัว คนดีของสังคม และอยู่ในสังคมโลกได้อย่างมีความสุข

นายสำเร็จ ไกรพันธ์ ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านแม่จ๊าง อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน ครูผู้ต่อสู้ปัญหาและอุปสรรคจากวัฒนธรรมที่แตกต่างจากใต้สู่ภาคเหนือ กว่าจะสำเร็จก็ใช้เวลากว่า 20 ปี ที่สร้างโรงเรียนจากไม่มีเด็กมาเรียน อาคารเก่าๆ สู่สิ่งแปลกใหม่ที่ใครเห็นเป็นต้องตะลึงกับความมุมานะ ความเพียรพยายาม จนเป็นโรงเรียนขนาดเล็กต้นแบบผู้นำการเปลี่ยนแปลงอย่างแท้จริงในปัจจุบัน

ดาบ ตำรวจ นิยม มานะสาร ครูใหญ่โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนการท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย เฉลิมฉลองครบรอบ 100 ปี วันคล้ายวันพระราชสมภพสมเด็จพระศรีนครินทรา บรมราชชนนี อำเภอดงหลวง จังหวัดมุกดาหาร ตำรวจผู้มีหัวใจเป็นครูและไม่ยอมให้ความเสี่ยงมาเป็นปัญหาและอุปสรรคในการทำ งาน มุ่งสร้างเด็กด้อยโอกาสให้มีโอกาสและได้รับโอกาสอย่างไม่ย่อท้อ

นาง ศุภวรรณ แซ่ลู่ ครูชำนาญการโรงเรียนบ้านเบตงสุภาพอนุสรณ์ อำเภอเบตง จังหวัดยะลา ครูผู้รอดชีวิตจากเหตุร้ายภาคใต้ แต่มีไฟและอุดมการณ์ ผู้ไม่ยอมย้ายจากพื้นที่เสี่ยงภัย เสี่ยงชีวิต ทั้งต่อตัวเองและครอบครัว ทั้งที่บุตรสาวเสียชีวิตไปต่อหน้าต่อตาแล้วก็ตาม เพราะสิ่งแรกที่สามารถสื่อต่อสาธารณชนได้ คือลายมือที่เขียนว่าไม่ย้ายนะ ไม่ย้ายนะ

ขอให้คุณครูผู้มีอุดมการณ์และจิตวิญญาณของความเป็นครูทั้ง 4 ท่าน ได้เป็นแรงบันดาลใจให้คุณครูทุกท่านมุ่งมั่นบากบั่นสู่รางวัลเกียรติยศสูง สุดของความเป็นครู ตามคำขวัญวันครูปี 2552 ที่ว่า "ครูสร้างคนดี เป็นศรีแผ่นดิน ทั่วถิ่นศรัทธา บูชาคุณครู"

หน้า 7

วันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2552 ปีที่ 32 ฉบับที่ 11271 มติชนรายวัน

9 ครูดีเด่นปี 2551

หมายเหตุ - เมื่อวันครูที่ 16 มกราคมที่ผ่านมา นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ได้เป็นประธานงานวันครู ณ หอประชุมคุรุสภา กรุงเทพฯ พร้อมทั้งได้มอบรางวัลแก่ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษารับรางวัลคุรุสภา หรือครูดีเด่น ประจำปี 2551 จำนวน 9 คน ประกอบด้วย ประเภทครูผู้ปฏิบัติการสอน นางจุรี โก้สกุล โรงเรียนภูเก็ตปัญญานุกูล จ.ภูเก็ต นายจตุรพัฒน์ วิไลรัตน์ โรงเรียนวัดสันติธรรม จ.นครสวรรค์ นายพลศักดิ์ เผ่ากันทรากร วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีบุรีรัมย์ นายไพบูลย์ กฤษณจักราวัฒน์ โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) 2 กรุงเทพฯ และนายเสกสรร กาวินชัย โรงเรียนแจ้ห่มวิทยา จ.ลำปาง ประเภทผู้บริหารสถานศึกษา นายธำรงค์ น่วมศิริ ผู้อำนวยการโรงเรียนอนุบาลอุตรดิตถ์ และภราดาประภาส ศรีเจริญ อธิการโรงเรียนลาซานจันบุรี (มาดาพิทักษ์) จ.จันทบุรี ประเภทผู้บริหารการศึกษา ดร.สุรัตน์ ดวงชาทม ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามหาสารคาม เขต 1 และ ประเภทบุคลากรทางการศึกษาอื่น นายเสริม คงประเสริฐ ศึกษานิเทศก์เชี่ยวชาญ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานราธิวาส เขต 1

"มติชน" จึงขอนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับครูดีเด่นทั้ง 9 คนนี้

@ นางจุรี โก้สกุล โรงเรียนภูเก็ตปัญญานุกูล

คุณ ครูจุรี วัย 51 ปี เป็นครูที่มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ โดยเก็บเกี่ยวประสบการณ์ที่ได้เป็นครูมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2522 ได้ทำงานวิจัยในชั้นเรียนเรื่องการแก้ปัญหาการออกเสียงพยัญชนะ ต สำหรับผู้พิการที่บกพร่องทางการได้ยิน ระดับชั้น ป.4 ผลงานวิจัยนี้ได้นำเผยแพร่ต่อโรงเรียน ผู้ปกครองและบุคคลทั่วไป เป็นสื่อนวัตกรรมทางการศึกษาที่เป็นประโยชน์สำหรับนักเรียนที่มีปัญหาทางการ ได้ยิน นอกจากนี้ ยังได้จัดทำโปรแกมประดิษฐ์พจนานุกรมภาษามือ ช่วยสื่อสารคนพิการทางหู โดยเป็นสื่อที่สามารถติดต่อออนไลน์ได้ทางอินเตอร์เน็ต จากความรู้ ความสามารถและความมุ่งมั่น ส่งผลให้ครูจุรีมีผลงานเป็นที่ยอมรับ และได้รับรางวัลต่างๆ อย่างต่อเนื่อง 5 ปีซ้อน เช่น รางวัล "ครูเกียรติยศ" รางวัลพระราชทานจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และรางวัลครูการศึกษาพิเศษดีเด่น

@ นายจตุรพัฒน์ วิไลรัตน์ โรงเรียนวัดสันติธรรม

ครู จตุรพัฒน์ อายุ 53 ปี ตลอดระยะเวลาที่ทำการสอนมามากกว่า 33 ปี ได้เป็นแบบอย่างที่ดี ได้มุ่งเน้นการเรียนรู้โดยผู้เรียนเป็นสำคัญ และเนื่องจากนักเรียนที่สอนเป็นนักเรียนที่ด้อยโอกาส มีสติปัญญาในระดับปากลางถึงอ่อนและอ่อนมาก จึงได้พยายามจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยให้โอกาสนักเรียนในการพัฒนารูปแบบ การเรียนรู้ตามศักยภาพของตนเอง จากการปฏิบัติงานที่เสียสละและทุ่มเทส่งผลให้ครูจตุรพัฒน์ได้รับโล่รางวัล เกียรติยศ/ครูดีเด่น/รางวัลแห่งความภาคภูมิใจ จนถึงปัจจุบันรวมทั้งสิ้น 45 รางวัล อาทิ ครูผู้สอนคณิตศาสตร์ดีเด่นระดับประเทศ ปี พ.ศ.2528, 2533 รางวัลผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาที่ปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรฐานวิชาชีพและ จรรยาบรรณ สร้างคุณประโยชน์ในด้านการศึกษาให้แก่ประเทศชาติ ของคุรุสภา ในปี พ.ศ.2550 ฯลฯ

@ นายพลศักดิ์ เผ่ากันทรากร วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีบุรีรัมย์

คุณ ครูพลศักดิ์ วัย 52 ปี เป็นครูที่มีความริเริ่มสร้างสรรในวิชาชีพเป็นอย่างสูง นับตั้งแต่เริ่มเข้ารับการครูได้นำความรู้ทางด้านพืชไร่ที่ได้ศึกษามาฝึกสอน ถ่ายทอดให้กับนักศึกษา จนนักศึกษาได้รับรางวัลชนะเลิศลำดับที่ 1 และได้นำความรู้เกี่ยวกับการขยายพันธุ์พืชมาใช้ให้นักศึกษาหารายได้ระหว่าง เรียน ทำให้นักศึกษามีรายได้แบ่งเบาภาระครอบครัว นอกจากนี้ ยังได้คิดค้นหานวัตกรรมการสอนที่สามารถช่วยให้นักศึกษาเข้าใจได้ดียิ่งขึ้น พร้อมทั้งหาเทคนิคใหม่ๆ เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ในวิชาที่ได้ศึกษา ไม่ว่าจะเป็นวิชาโครงงานขยายพันธุ์พืช หลักพันธุศาสตร์ พฤกษศาสตร์ การปรับปรุงพันธุ์พืช และการปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลงานชุดปลูกพันธุ์พืชโดยไม่ใช้ดินแบบไม้ไผ่ ได้รับรางวัลชนะเลิศระดับภาค ซึ่งอุปกรณ์ชุดนี้ได้นำไปถ่ายทอดให้แก่เกษตรกรเพื่อใช้ปลูกผักปลอดสารพิษ จนเกษตรกรสามารถนำไปสร้างเองเพื่อใช้ประกอบอาชีพแบบเกษตรพอเพียง

@ นายไพบูลย์ กฤษณจักราวัฒน์ โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) 2

ครู ไพบูลย์ อายุ 52 ปี ได้พัฒนาความรู้ของตนเองในรายวิชาที่สอน โดยเฉพาะวิชากระบี่กระบอง และมวยไทย ได้ก่อตั้งชมรมกระบี่กระบองมวยไทย บดินทรเดชา 2 ตั้งแต่ปี พ.ศ.2539-ปัจจุบัน เพื่อเพิ่มพูนพัฒนาทักษะการเรียนการสอน และสร้างจิตสำนึกให้แก่นักเรียนได้ตระหนักถึงคุณค่ากีฬาประจำชาติไทย และยังได้ร่วมกับนักเรียนในชมรมกระบี่กระบองและมวยไทย บดินทรเดชา 2 ให้บริการสังคม โดยเป็นวิทยากรสาธิตกีฬากระบี่กระบองและมวยไทยให้แก่ชุมชนและมูลนิธิการ ศึกษาและวัฒนธรรมสัมพันธ์ไทย-นานาชาติ (A F S X ประเทศไทย) เป็นการเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมไทยให้ชาวต่างชาติได้ชื่นชม และได้ร่วมกับนักเรียนมูลนิธิ YOUNG EXCHANG SERVICE (Y E S) ซึ่งเป็นนักเรียนทุนจากแคนาดา ฝึกซ้อมจนสามารถออกแสดงตามงานต่างๆ ได้ นอกจากนี้ ยังเป็นผู้ที่มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์พัฒนาการเรียนการสอนให้มี ประสิทธิภาพอยู่เสมอ โดยพัฒนาสื่อและอุปกรณ์การเรียนการสอนให้สอดคล้องกับเนื้อหาที่สอน เช่น สื่อสิ่งพิมพ์ ดีวีดี และเว็บไซต์ จนได้รับการยกย่องและได้รับรางวัลต่างๆ มากมาย เช่น โล่เกียรติคุณ "บุคคลที่ทำคุณประโยชน์เยาวชน สาขากีฬาและนันทนาการ" ประจำปี 2550 ของสำนักงานส่งเสริมสวัสดิการและพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส คนพิการและผู้สูงอายุ

@ นายเสกสรร กาวินชัย โรงเรียนแจ้ห่มวิทยา

ครู เสกสรร วัย 42 ปี ตั้งแต่เริ่มเป็นครูได้เริ่มศึกษาเรียนรู้เทคนิควิธีการเรียนการสอน ศึกษาสภาพข้อมูลท้องถิ่น นักเรียน บริบทของโรงเรียนและสภาพสังคมปัจจุบัน ทดลองออกแบบนวัตกรรม เรื่อง "ชิ้นงานฝึกทักษะจากเศษไม้" โดยมีการพัฒนาปรับปรุงให้มีความเหมาะสมกับสภาพความต้องการของโรงเรียน ชุมชนมากยิ่งขึ้น ทำให้นักเรียนสามารถสร้างสรรค์ผลงานได้หลากหลายมากยิ่งขึ้น มียอดการจำหน่ายผลผลิตเพิ่มขึ้น และได้รับการยอมรับมากยิ่งขึ้น นวัตกรรมชิ้นนี้ได้พัฒนาสร้างสรรค์ให้ก้าวสู่เวทีการประกวดระดับชาติ จนได้รับรางวัลต่างๆ มากมาย รวมทั้งผลงานของนักเรียนได้รับการยอมรับเป็นผลิตภัณฑ์ OTOP ระดับ 4 ดาว จากความรู้ ความสามารถของคุณครูเสกสรรได้รับการยกย่องเกียรติคุณจากหน่วยงานต่างๆ อาทิ ได้รับพระราชทานโล่เป็นบุคคลผู้ทำคุณประโยชน์ต่อเยาวชน ประจำปี 2550 ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ de chevalier แห่งราชอาณาจักรเบลเยียม ในฐานะนักประดิษฐ์คิดค้น 1 ใน 5 คนไทย ผู้ทำคุณประโยชน์ต่อมวลมนุษยชาติ ปี พ.ศ.2548 และได้รับรางวัลเหรียญทอง Brussels Eureka 2005 นวัตกรรมทางการศึกษา ในการจัดงาน World Exhibition กรุงบรัสเซลส์ ราชอาณาจักรเบลเยียม

@ นายธำรงค์ น่วมศิริ ผู้อำนวยการโรงเรียนอนุบาลอุตรดิตถ์

นาย ธำรงค์ อายุ 51 ปี เป็นผู้บริหารมืออาชีพ ใช้ความรู้ ความสามารถพัฒนาโรงเรียนให้มีเจริญก้าวหน้าจนได้รับรางวัลติดต่อกันหลายปี เป็นผู้ที่นำโทรทัศน์และจานดาวเทียมมาใช้ในการจัดการศึกษา นำเทคโนโลยีมาใช้ในการสอนนาฏศิลป์ และส่งเสริมให้ครูและนักเรียนแสดงออก จนได้รับรางวัลโรงเรียนเอกลักษณ์ดีเด่น เป็นผู้ริเริ่มโครงการพัฒนาความสามารถพิเศษ 7 ศูนย์ อันประกอบด้วย ศูนย์พัฒนาความสามารถด้านคณิตศาสตร์ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ดนตรี นาฏศิลป์ ศิลปะ จิตวิทยาและแนะแนว และทักษะการคิดระดับสูง มีการนำระบบคุณธรรมมาใช้ในการบริหารงาน และพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมของครู จนโรงเรียนได้รับรางวัลสถานศึกษาดีเด่นด้านการปลูกฝังพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม ของสำนักพัฒนาการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม เขตการศึกษา 7 และยังได้รับการยอมรับทั่วไป ทั้งระดับชาติ ระดับท้องถิ่น

@ ภราดาประภาส ศรีเจริญ อธิการโรงเรียนลาซานจันบุรี (มาดาพิทักษ์)

ภราดา ประภาส อายุ 50 ปี เป็นผู้รับใบอนุญาต ผู้จัดการและอธิการโรงเรีนยลาซานจันบุรี (มาดาพิทักษ์) เป็นผู้บริหารที่มีระเบียบวินัยในตนเอง บริหารโรงเรียนอย่างเป็นระบบ มีการวางแผนการทำงาน และพยายามแสวงหาความรู้ด้วยตนเองอยู่เสมอ เพื่อนำความรู้มาขยายผลให้แก่คณะครูในโรงเรียน และเพื่อนครูในชุมชนนำไปปฏิบัติได้ และยังเป็นผู้นำด้านการจัดกิจกรรมต่างๆ บริหารงานโดยยึดหลักธรรมาภิบาล เปิดโอกาสให้บุคลากรในโรงเรียนมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นในการตัดสินใจ ดำเนินงานต่างๆ ของโรงเรียน ส่งผลให้ในปีการศึกษา 2550 โรงเรียนได้รับคัดเลือกให้เป็นโรงเรียนส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ตามแนว ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงดีเด่น ในงานมหกรรมเศรษฐกิจพอเพียงเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสทรงเจริญพระชนมพรรษา 80 พรรษา ฯลฯ

@ ดร.สุรัตน์ ดวงชาทม ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามหาสารคาม เขต 1

ดร. สุรัตน์ อายุ 53 ปี เป็นผู้บริหารการศึกษาที่พัฒนาตนเองด้านวิชาชีพอย่างไม่หยุดนิ่ง โดยขวนขวายหาความรู้ให้กับตนเองอยู่เสมอ ได้สนับสนุนให้สถานศึกษาพัฒนาเทคนิควิธีการสอนใหม่ๆ ให้กับครู ผลงานที่เป็นที่ประจักษ์ในการเป็นผู้บริหารการศึกษา คือ ดร.สุรัตน์สามารถพัฒนาให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามหาสารคาม เขต 1 ได้รับการคัดเลือกจาก สพฐ.ให้เป็นเขตนำร่องในการใช้ระบบควบคุมเชิงประจักษ์ (Visual Control) ในการดำเนินงานตามคำรับรองปฏิบัติราชการ และนำไปใช้เป็นเครื่องมือในการบริหารจัดการของหน่วยงานทางการศึกษาในสังกัด ทุกระดับ โดยมุ่งโรงเรียนเป็นฐาน (SMB : School Based Management) และโครงการสำนักงานอัตโนมัติ (One Stop Service) และใช้ระบบ E-Office ในงานธุรการ ทำให้ลดการรับส่งเอกสารและลดการเดินทางระหว่างสำนักงานเขตพื้นที่กับ โรงเรียน ดร.สุรัตน์ยังได้รับรางวัลเป็นจำนวนมาก อาทิ โล่เกียรติคุณผู้บริหารการศึกษาขั้นพื้นฐานดีเด่น และเครื่องหมายเชิดชูเกียรติ "คุรุสดุดี" จากคุรุสภา นักบริหารดีเด่น สาขานักบริหาร-พัฒนาและส่งเสริมการศึกษา ฯลฯ

@ นายเสริม คงประเสริฐ ศึกษานิเทศก์เชี่ยวชาญ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานราธิวาส เขต 1

นาย เสริม วัย 58 ปี ได้คิดริเริ่มสร้างสรรค์ในการปฏิบัติวิชาชีพ พัฒนานวัตกรรมสร้าง "งานเกษตรสมุนไพรตามแนวพระราชดำริ" โดยบูรณาการ "คุณธรรมจริยธรรมนำความรู้" สู่นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้แหล่งการเรียนรู้พัฒนาคุณภาพ "การจัดการเรียนรู้สร้างโรงเรียนเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้" ได้พัฒนารูปแบบการนิเทศก์ที่มีผลต่อการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนใน สถานการณ์วิกฤต โดยใช้กระบวนการนิเทศแบบเครือข่ายและการมีส่วนร่วม "สคลิบแดน โมเดล" (Networks & Participation "SCLIPDAN Model") จนได้รับการยกย่องเป็นศึกษานิเทศก์ดีเด่นระดับจังหวัด ระดับชาติ และระดับประเทศ ในปี พ.ศ.2533 และได้เป็นศึกษานิเทศก์เกียรติยศ ในปี 2546

หน้า 7

วันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2552 ปีที่ 32 ฉบับที่ 11271 มติชนรายวัน