พระบรมราโชวาทเกี่ยวกับ "ความรู้"

“...ความรู้นั้นสำคัญยิ่งใหญ่ เพราะเป็นปัจจัยให้เกิดความฉลาดสามารถ และความเจริญก้าวหน้า มนุษย์จึงใฝ่ศึกษากันอย่างไม่รู้จบสิ้น แต่เมื่อพิเคราะห์ดูแล้ว การเรียนความรู้ แม้มากมายเพียงใด บางทีก็ไม่ช่วยให้ฉลาดหรือเจริญได้เท่าไรนัก ถ้าหากเรียนไม่ถูกถ้วน ไม่รู้จริงแท้ การศึกษาหาความรู้จึงสำคัญตรงที่ว่า ต้องศึกษาเพื่อให้เกิด “ความฉลาดรู้” คือรู้แล้ว สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้จริงๆ โดยไม่เป็นพิษเป็นโทษ การศึกษาเพื่อความฉลาดรู้ มีข้อปฏิบัติที่น่าจะยึดถือเป็นหลักอย่างน้อยสองประการ ประการแรก เมื่อจะศึกษาสิ่งใดเรื่องใดให้รู้จริง ควรจะได้ศึกษาให้ตลอดครบถ้วนทุกแง่ทุกมุม ไม่ใช่เรียนรู้แต่เพียงบางส่วนบางตอน หรือเพ่งเล็งเฉพาะแต่เพียงบางแง่บางมุม อีกประการหนึ่ง ซึ่งจะต้องปฏิบัติประกอบพร้อมกันไปด้วยเสมอคือต้องพิจารณาศึกษาเรื่องนั้นๆ ด้วยความคิดจิตใจที่ตั้งมั่นเป็นปรกติ และเที่ยงตรง เป็นกลาง ไม่ยอมให้ความรู้เห็นและเข้าใจตามอำนาจความเหนี่ยวนำของอคติ ไม่ว่าจะเป็นอคติฝ่ายชอบหรือฝ่ายชัง มิฉะนั้นความรู้ที่เกิดขึ้นจะไม่เป็นความรู้แท้ หากแต่เป็นความรู้ที่ถูกอำพรางไว้ หรือที่คลาดเคลื่อนวิปริตไปต่างๆ จะนำไปใช้ให้เป็นประโยชน์จริงๆ โดยปราศจากโทษไม่ได้...”

พระบรมราโชวาท ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรโรฒ วันที่ ๒๒ มิถุนายน ๒๕๒๔

วันพฤหัสบดีที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2553

วันเฉลิมพระชนมพรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕๓




ในวโรกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕๓ ข้าพระพุทธเจ้าขอน้อมเกล้าฯ ถวายพระพรให้จงทรงพระเกษมสำราญ มีพระสุขภาพพลานามัยแข็งแรง ทรงเจริญพระชนมพรรษายิ่งยืนนาน สถิตย์เป็นมิ่งขวัญของพสกนิกรชาวไทยไปชั่วกาลนาน

ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ

วันพุธที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2553

วันคล้ายวันเฉลิมพระชนมพรรษา ๑๒ สิงหาคม ๒๕๕๓



ในวโรกาสวันคล้ายวันเฉลิมพระชนมพรรษา ข้าพระพุทธเจ้าขอน้อมเกล้าฯ ถวายพระพรให้จงทรงพระเกษมสำราญ ปราศจากพระโรคาพาธ ขอจงทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน

ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ

วันอังคารที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2553

วันที่ ๙ มิถุนายน ๒๕๕๓



วันที่ ๙ มิถุนายน ๒๕๕๓ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงครองสิริราชสมบัติครบ ๖๔ ปี ขอน้อมเกล้าฯ ถวายพระพรให้ทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน

ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ

วันพฤหัสบดีที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

Crisis Leadership ผู้นำในภาวะวิกฤต

Crisis Leadership ผู้นำในภาวะวิกฤต

คอลัมน์ Executive Coach

โดย คม สุวรรณพิมล Leadership Coach kom@coachforgoal.com


"วิกฤตการณ์ !"

คำนี้อาจฟังดูน่าตกใจนะครับ แต่เหลือเชื่อที่ปัจจุบันธุรกิจของเราก็กำลังเผชิญกับมันอยู่

"เรา ไม่เคยเดินเข้าไปหาวิกฤตการณ์ แต่มันก็มักจะเดินมาหาเรา"

คำว่า "วิกฤตการณ์" นี้หลาย ๆ ท่านฟังดูอาจจะรู้สึกเหมือนว่ามันเป็นสิ่งที่ต้องมีผลกระทบในวงกว้างและยิ่ง ใหญ่ระดับประเทศเท่านั้น

แต่ในความเป็นจริงแล้ว วิกฤตการณ์สามารถเกิดขึ้นได้เสมอ ๆ ในทุกระดับ

ซึ่งเราสามารถจัดให้ สิ่งที่เกิดขึ้นเหล่านี้อยู่ในประเภท "วิกฤตการณ์ที่กระทบธุรกิจ" ได้ทั้งนั้น

เพราะ "วิกฤตการณ์ คือ เครื่องมือวัดความสามารถของผู้บริหาร"

พอเกิดวิกฤตการณ์ขึ้น ผู้บริหารหลายท่านก็จะนึกถึง "Crisis Management" หรือการจัดการในภาวะวิกฤตที่เคยศึกษามา

แต่ในความเป็นจริงแล้ว "Crisis Management กับ Crisis Leadership นั้นมีความแตกต่างกันสิ้นเชิง

โดย Crisis Management นั้นจะเกี่ยวข้องกับ "ขั้นตอน" ในการปฏิบัติงานเมื่อต้องเจอกับภาวะวิกฤต

แต่ Crisis Leadership จะเกี่ยวข้องกับ "ภาวะการเป็นผู้นำ" ที่ต้องจัดการกับปฏิกิริยาตอบสนองของคนในองค์กร ซึ่งรวมถึง "การจัดการตัวเอง" ด้วย

ซึ่งสิ่งนี้แหละที่เป็นเครื่องชี้ให้ เห็นความแตกต่างระหว่างผู้นำในภาวะปกติกับผู้นำในสถานการณ์ฉุกเฉิน

และ ที่สำคัญผู้บริหารหลาย ๆ คนยังจัดการในภาวะเช่นนี้ได้ไม่ค่อยดีนัก

อุปสรรค สำคัญก็คือ "อารมณ์และบุคลิกลักษณะของผู้บริหารเอง"

เพราะเมื่อเกิด เรื่องร้ายขึ้นอย่างฉับพลัน สิ่งที่เกิดขึ้นคือผู้บริหารส่วนใหญ่ที่ขาดทักษะนี้มักจะหลุดความเป็นตัวของ ตัวเอง

บางครั้งกลับทำให้สถานการณ์เลวร้ายลงไปอีก ซึ่งในระหว่าง Crisis นั้น ผู้บริหารจะต้องเผชิญกับอารมณ์ที่สับสน ทั้งของตนเองและทีมงาน ซึ่งบางครั้งอาจจะขาดสติบางอย่างที่ควรจะเป็นไป

ผู้บริหารที่ดีจะ ต้องคอยระวังและควบคุมอารมณ์ของตนเอง

ผมมีหลักการง่าย ๆ ที่จะทำให้ผู้บริหารเปลี่ยนตัวเองให้เป็น Crisis Leadership ที่สามารถจะควบคุมทีมงาน และนำพาธุรกิจในผ่านพ้นวิกฤตไปให้ได้

ผมขอ เรียกหลักการนี้ว่า "Crisis Leadership Competency" โดยมีหลักที่สามารถจำได้ง่าย ๆ คือ "H.O.P.E"

คำง่าย ๆ นี้สามารถสร้างบุคลิกการเป็นผู้นำในภาวะวิกฤต ที่บ่งบอกถึงความรับผิดชอบ การสร้างความมั่นใจให้เกิดขึ้นได้

โดย H.O.P.E สามารถแบ่งออกได้ ดังนี้

hope : วันที่ดีที่สุด เกิดขึ้นในอนาคต

ผู้บริหาร ต้องเริ่มต้นในการตั้งทัศนคติในใจก่อนเป็นอันดับแรกว่า สิ่งที่ดี ๆ จะสามารถเกิดขึ้นได้อีกในอนาคต

เพราะถ้าเราไม่เริ่มตั้งต้นที่ ทัศนคติแบบนี้แล้ว คุณจะเป็นผู้นำในช่วงนี้ลำบาก เพราะคุณจะกลายเป็นคนที่ไม่ยอมรับความจริง มองแต่เรื่องในอดีต

และ ก็จะเกิดการ "กล่าวโทษ" ทุกอย่างตั้งแต่สถานการณ์ หรือคนอื่น ๆ แทนที่จะทุ่มเทกำลังกาย กำลังใจไปกับการแก้ไขภาวะคับขัน กลับใช้เวลานึกแต่อดีต และหา "แพะ"กับสถานการณ์ซึ่งไม่มีประโยชน์ใด ๆ

ถ้า เราตั้งต้นด้วยความคิด ความหวัง ความมุ่งมั่น สติในการจัดการจะตามมา

optimism : ทุกสิ่งทุกอย่างจะดีขึ้น

"Be realistic but optimistic" เมื่อคุณเผชิญกับปัญหา จงมองมันด้วยความเป็นธรรม ด้วยความเป็นจริง จะเสียหายรุนแรงเท่าใดก็จงมองมันให้เห็น อย่าหลบอย่าเลี่ยงที่จะไม่มอง แต่การมองของคุณนั้นต้องมองความจริงนั้นในทางที่ดี !

"เป็นอะไรที่ ดูขัดแย้ง" เพราะการมองที่ความจริงเราจะเห็นแง่ดีได้อย่างไร ?

แต่ ถ้าคุณมองมันแต่ในแง่ดีแล้วคุณจะเห็นความจริงได้อย่างไร ?

มันเป็น หลักการที่ดูเหมือนหลอกตัวเอง แต่ความจริงแล้วมันคือ "การยอมรับความจริง แต่ไม่ท้อถอย"

ถ้าคุณไม่ยอมรับความจริง คุณจะไม่มีทางเห็นปัญหาอย่างแท้จริง อย่าหลอกตัวเองว่าทำ "ชนะ" หรือ "เราไม่กระทบ"

เพราะในความเป็นจริงเราได้รับผลกระทบนั้นเต็ม ๆ ฉะนั้นต้องเปิดใจให้กว้าง เพราะ Crisis ต้องการความจริง

ถ้าหามัน ให้เจอแล้วคุณจะได้รับซึ่งทักษะที่คุณต้องมีเพื่อให้บรรลุ competency นั่นก็คือ "การวินิจฉัย" ปัญหาและ "การวางกลยุทธ์" ที่ทำให้คุณมองทุกอย่างทะลุปรุโปร่งและสร้าง solutionได้อย่างถูกต้อง

people : คนอื่น ๆ ต้องการเรา

คุณคือคนสำคัญที่จะนำพาทีมงานให้รอดพ้น

ถ้า คุณมีทัศนคติแบบนี้คุณจะไม่มีวันทิ้งคนอื่นถึงแม้คุณจะไม่ใช่คนที่เก่งที่ สุด แต่คุณรู้ว่าคนอื่น ๆ ต้องการคุณทักษะการเป็นผู้นำที่อยู่ในสัญชาตญาณของคุณจะออกมาโดยอัตโนมัติ

ซึ่ง หัวใจสำคัญของหลักการในข้อนี้คือ "การสื่อสาร" ที่คุณจะต้องสร้างให้มีความน่าเชื่อถือและเป็นที่พึ่งของคนอื่น ๆ ให้ได้

โดย หลักการสื่อสาร 3 ประการ คือ Tell the fact, Define situation และ Give the hope

คุณต้องบอกความจริงและประเมินสถานการณ์ให้ทีมงานเข้าใจ

สุด ท้าย คือการให้ความหวัง

การสื่อสาร 3 ขั้นที่จะทำให้ "หัวใจของทีมงานรวมเป็นหนึ่งเดียว" และพร้อมที่จะก้าวข้ามอุปสรรคโดยมีคุณเป็นผู้นำ

empathy : ความทุกข์ของผู้อื่น กระทบจิตใจเรา

ความเข้าอกเข้าใจเป็นสิ่งที่ผู้ บริหารจำเป็นต้องมีอย่างยิ่งในภาวะคับขันเช่นนี้ สิ่งที่คุณประสบอยู่มันกระทบจิตใจของ ผู้เกี่ยวข้องอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

ความเข้าใจนี้เริ่มตั้งแต่ ระดับองค์กรที่คุณต้องเข้าใจความรู้สึกขององค์กร และเข้าใจความรู้สึกทีมงาน ไม่ว่าจะเป็นความรู้สึก ความเจ็บปวด ความท้อถอย ความลังเลสงสัย

ซึ่ง ความเข้าอกเข้าใจนี้ ทักษะสำคัญ ก็คือ "การฟังทีมงาน" ของเราเอง

ถ้า เราฟัง เราจะเข้าใจ อย่าคิดแต่เพียงการ "สั่ง" เพราะในภาวะฉุกเฉิน ผู้บริหารหลายคนลืมที่จะฟัง ทำให้ขาดโอกาสดี ๆ ในการแก้ปัญหาและรวมทีมเป็นหนึ่งเดียว

Crisis Leadership Competency นี้ เป็นการสร้างพฤติกรรมของผู้บริหาร โดยเปลี่ยนทัศนคติและอารมณ์ที่สับสนในช่วงวิกฤตให้กลับเข้าสู่ภาวะปกติ โดยมีเป้าหมายและนำทักษะที่ถูกต้องมาใช้ให้ตรงกับสถานการณ์

คุณลอง ฝึกดูนะครับ ผมเชื่อเหลือเกินว่า "สถานการณ์ตอนนี้คุณจำเป็นต้องใช้มันแน่นอน"

หน้า 26
วันที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 ปีที่ 33 ฉบับที่ 4209 ประชาชาติธุรกิจ

วันอังคารที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

วันฉัตรมงคล ๒๕๕๓ และวันคล้ายวันบรมราชาภิเษกครบ ๖๐ ปี


ในวโรกาสวันฉัตรมงคลและวันคล้ายวันบรมราชาภิเษกครบ ๖๐ ปี ข้าพระพุทธเจ้าขอน้อมเกล้าฯ ถวายพระพรให้ทรงพระเกษมสำราญในไอศูรย์สิริราชสมบัติ มีพระพลานามัยแข็งแรง สถิตย์เป็นมิ่งขวัญของชนชาวไทยตลอดกาลนานเทอญ

ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ

วันอังคารที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2553

อด ทน...ภูมิคุ้มกันเบื้องต้น

อด ทน...ภูมิคุ้มกันเบื้องต้น

คอลัมน์ สอนลูกอย่างไรให้เป็นนักบริหาร

โดย สุจินต์ จันทร์นวล mu1943@hotmail.com



ตั้งแต่ลูก เริ่มชีวิตการทำงาน เมื่อมีโอกาสมักจะถามไถ่ถึงเรื่องนี้อยู่เสมอ เพื่อจะได้รู้ว่าสถานการณ์ของเขาเป็นอย่างไร ภาวะความรู้สึกเป็นอย่างไร ปีแรก ๆ ก็ดูเต็มไปด้วยไฟของคนหนุ่ม กระตือรือร้น กระปรี้กระเปร่า สนุกกับงานเต็มที่ ทุกอย่างไปได้สวย เจอกับนายที่ดี ทั้งสอน ทั้งเป็นโค้ช เป็นพี่เลี้ยง ให้โอกาส ปกป้องและสนับสนุน เขาเองก็ไม่ได้ทำให้นายผิดหวัง

จน กระทั่งนายเขาได้โปรโมตเลื่อนตำแหน่งสูงขึ้นไปอีก ต้องไปรับผิดชอบงานที่อื่น ผู้ช่วยของนายได้ขึ้นมารั้งตำแหน่งแทนในลักษณะรักษาการ ไม่ได้รับการ แต่งตั้งขึ้นมาอย่างเป็นทางการ ก็เริ่มสังเกตความรู้สึกที่เปลี่ยนไปของลูกได้ เกี่ยวกับเรื่องความสัมพันธ์กับรักษาการหัวหน้าคนใหม่ที่เคยไล่บี้เขาบ่อย ๆ ตอนที่นายเก่ายังอยู่ ซึ่งอดีตนายก็คอยปกป้องให้ทุกครั้ง

เขาเริ่ม มีเรื่องในทางลบเกี่ยวกับว่าที่ ผู้จัดการคนนี้มาเล่าให้ฟังอยู่บ่อย ๆ ประเด็นก็มักจะเป็นแง่มุมการเปรียบเทียบกับอดีตนายที่เขาเคารพนับถือ และมักจะปนเปมากับความผิดหวังของเขา จนบางครั้งก็รู้สึกไม่เข้าใจในพฤติกรรมและการแสดงออกของอีกฝ่าย

บาง จังหวะต่อหน้าผู้ใหญ่ในที่ประชุม ก็ดูเหมือนว่าเขาให้เครดิตลูกน้องคนนี้ ไม่ต่างจากนายคนเก่า แต่เมื่อพูดกันตามลำพังก็เป็นหนังคนละม้วน คือนอกจาก ไม่สนับสนุนแล้วยังมาในแนวดึงและกดไว้ด้วยคำสั่งและสไตล์สกัดดาวรุ่ง

แต่ เหตุการณ์และสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ระหว่างเขากับรักษาการนายคนนี้ก็อยู่ในสายตาทุกคน แม้แต่แผนกอื่นที่อยู่ในฟลอร์เดียวกัน ก็เกิดอาการเห็นอกเห็นใจเขา พากันช่วยกันปลอบใจเขาถึงขนาดมีแผนกหนึ่งแสดงความจำนงอยากได้เขาไปร่วมงาน ด้วย จากผลงานของเขาที่โดดเด่น จากการให้โอกาสของอดีตนาย

มีการพูด ทาบทามทั้งในแบบทีเล่นทีจริงเพื่อหยั่งว่าเขาจะอยากขอย้ายไปไหม ทั้งเป็นการส่วนตัวและการพูดเปรย ๆ ในที่ประชุม ต่อหน้าผู้บริหารระดับสูง ช่วงนั้นลูกก็เอาปัญหานี้มาปรึกษาว่าควรจะทำอย่างไรดี ก็ถามลูกไปว่า

"ลูกคิด ว่าอย่างไรล่ะ เอาละ...สมมติว่าไม่มีพ่อจะถาม จะปรึกษาด้วย จะต้องคิดและตัดสินใจด้วยตัวเอง เรื่องนี้จะหาทางออกอย่างไร ?"

"ความ จริงผมชอบงานที่ผมทำนะ และผมคิดว่าผมทำได้ดีด้วย มันยังมีอะไรอีกเยอะที่คิดไว้ว่าจะทำ แต่ยังไม่ได้ทำ อยากทำเพื่อพิสูจน์ว่าความคิดของผมถูกต้อง ที่มันรบกวนใจและความรู้สึกก็คือคนคนเดียวนี่แหละมันทำให้ผมทำงานยาก ความเห็นและแนวคิดมันดูจะไม่ตรงกันเอาเสียเลย พยายามทำแบบที่พ่อสอนมันก็ไม่ค่อยจะเวิร์กเท่าไร น่ากลัวว่ายังต้องฝึกอีกเยอะ ความรู้สึกมันแย่นะ พยายามทำใจให้ยอมรับเขานะ แต่เขาก็ทำแย่ ๆ จนอย่าว่าแต่ผมเลย คนอื่น ๆ เขาก็รู้สึกแบบเดียวกับผมนั่นแหละ คือรับไม่ได้"

"เข้าตำรารักพี่ เสียดายน้องล่ะสิ แล้วแผนกที่เขาคิดจะเอาเราไปล่ะ ความสัมพันธ์ระหว่างเรากับเขาเป็นอย่างไร คนที่มาชักชวนน่ะเป็นใครระดับไหน"

"โอ้ ย ผมเข้ากับพวกเขาได้ทุกระดับเลย ยิ่งกับรุ่นพี่ที่เป็นรองหัวหน้าที่นั่นยิ่งสนิทกันมาก คนที่ชวนก็มีทุกระดับเลยพ่อ ผู้จัดการก็เป็นคนออกปากเองด้วยว่าให้ไปอยู่กับพี่ ดีกว่า"

"เวลา ที่พวกเขาถาม ลูกตอบพวกเขาว่าอย่างไรล่ะ ?"

"ผมก็ไม่ได้พูดอะไรมาก ก็แค่ทำท่าอยากไป แต่ก็บอกว่า แล้วใครจะทำหน้าที่ ที่ผมทำล่ะ น้อง ๆ ยังรับงานนี้ไม่ได้เลย ยอดขายในแถบนี้ยิ่งสู้แถบอื่นไม่ได้อยู่ด้วย"

"ก็ ตอบได้ดีลูก เห็นไหมว่าบางครั้งการพูดความจริงน่ะมันไม่ได้ยากเย็นอะไรเลย ไม่ต้องไปคิดอะไรมากด้วย เพียงแต่ใช้คำพูดให้เป็นเท่านั้น ทำได้ดีลูก เอาล่ะ... พ่อพอจะเดาออกว่า ความท้าทายของงานมันก็ยังแรงอยู่ในใจลูก มันมีแค่คนคนเดียวที่รบกวนสมาธิอยู่เท่านั้น ลองคิดอย่างนี้นะลูก

ไอ้ การจะย้ายหรือไม่ย้าย ลูกไม่มีสิทธิที่จะทำได้ หรือหากมีสิทธิก็ไม่ควรทำเพราะผู้ใหญ่จะมองว่า แค่เจอหัวหน้าคนละสไตล์ก็ทำงานไม่ได้แล้ว น่าจะเปราะบางเกินไป ความอดทนไม่มี และการปรับตัวมีปัญหา คนที่เป็นแบบนี้จะให้ทำงานใหญ่ขึ้น หรือดันให้สูงขึ้นลำบากแน่ ดังนั้นจะย้ายหรือไม่ย้ายปล่อยให้พวกผู้ใหญ่เขาว่ากันเอง ส่วนเราก็ตั้งหน้าตั้งตาทำงานของเราไปให้ดีที่สุด

วิธีที่จะปรับตัว ปรับความรู้สึกให้สามารถทำงานกับว่าที่นายคนนี้ให้ได้ มันอยู่ที่แนวคิดและใจของเราเอง พ่อจะเล่าอะไรให้ฟัง พ่อน่ะเจอกับสถานการณ์แบบนี้มาตลอดทางตั้งแต่เริ่มทำงานในทุกระดับ มีลูกน้องก็มีทั้งที่ชอบเราไม่ชอบเรา มีเพื่อนร่วมงานก็มีทั้งที่จริงใจและไม่จริงใจ มีนาย มีผู้ช่วยนาย มีรองนาย ก็มีทั้งที่ดีกับเรา หรือเกลียดขี้หน้าเรา

สถานการณ์ที่ลูก เจออยู่ขณะนี้ พ่อเคยเจอมาแล้ว บ่อยเสียด้วย ยิ่งขึ้นไปสูงเท่าไรก็ยิ่งเจอ คนที่พร้อมจะหนุนเรากับคนที่จ้องจะโค่นเรา คิดดูว่ามันจะหนักหนาขนาดไหนเมื่อพ่อเป็นมือปืนรับจ้างเข้าไปคนเดียวในระดับ สูง ซึ่งบางทีก็มีระดับสูงอยู่ตั้งหลายคน ล้วนแต่มีก๊กมีก๊วนของตัวเอง พ่อหลุดเดี่ยวเข้าไป มือเปล่า คิดดูว่าพ่อจะทำงานได้ยากเย็นแสนเข็ญขนาดไหน แต่พ่อก็จะต้องทำงานให้สำเร็จให้ได้ คำว่าถอยไม่มีในพจนานุกรมของพ่อ มีแต่บุกและสู้ลูกเดียว

ไม่ต้องรอนานสักเท่าไร คนที่จะสกัดพ่อก็จะแสดงตัวออกมาเอง พ่อก็จัดวางแยกประเภทของคนคนนั้นไว้ในใจทันที โอเคนี่คือคนที่เราต้องระวัง ฉะนั้นก็จะตั้งการ์ดไว้อย่างรัดกุม เรียกว่าป้องกันไม่ให้อีกฝ่ายเล่นงานพ่อได้ถนัดนัก นิด ๆ หน่อย ๆ พ่อก็ไม่ว่าจะเก็บอาการไว้ แต่หากแรงขึ้น ๆ จนเห็นว่าขืนไม่ทำอะไรพ่อก็จะเสียชื่อเสียเครดิต พ่อถึงจะตอบโต้ แต่จะเป็นการตอบโต้เพื่อป้องกันตัวเท่านั้น ไม่มีการโจมตีให้ย่อยยับกันไปข้าง

แต่ในการตอบโต้มันต้องมีศิลปะ มีแท็กติก คือทำให้คนอื่น ๆ เห็นว่าพ่อถูกรังแกก่อนนะ และพ่อก็อดทน จังหวะที่ตอบโต้มันจะตรงกับความรู้สึกคนอื่น ๆ ที่มองอยู่ว่ามันเป็นความจำเป็นที่จะต้องทำแล้ว หรือแปลว่าพ่อจะได้รับความเห็นใจจากคนดู และพ่อจะเป็นฝ่ายถูก เป็นพระเอกในสายตาคนดู ยิ่งมาตรการตอบโต้ของพ่อทำให้อีกฝ่ายหน้าหงายไปแบบหมดรูปได้ คนดูก็จะยิ่งชอบใจ

ถ้าเขาไม่ยุ่งกับพ่ออีก ทุกอย่างก็เป็นปกติ พ่อจะไม่เอาเรื่องเก่ามาเล่าใหม่ ลืม ๆ มันเสีย รักษาสัมพันธภาพให้มันราบรื่น พยายามทำงานร่วมกันให้มีปัญหาน้อยที่สุด ส่วนในใจและความรู้สึกนั้น พ่อก็คิดว่า เอาล่ะ...ทีนี้จะมาไม้ไหนกับพ่ออีก จะคอยดู นึกสนุกด้วยซ้ำว่าคราวนี้ต้องมาให้ลึกซึ้งและมีชั้นเชิงกว่าเก่านะ คือคิดแบบนี้แล้วพ่อก็ไม่มีอะไรมารบกวนความรู้สึก คอยแต่นึกว่ามาไม้ไหนพ่อก็จะเอาชนะให้ได้ คนอื่นเขาเห็นว่ามันเป็นความกดดัน แต่พ่อกลับรู้สึกว่ามันน่าสนุกและท้าทาย"

"พ่อกำลังจะบอกว่า ผมต้องปรับเปลี่ยนความคิดใหม่กับคนคนนี้ พยายามรับมือเขาให้ได้ ในความรู้สึกอย่างพ่อคือเป็นเรื่องสนุกและท้าทาย"

"ถูกต้องลูก จำไว้นะปัญหาแบบนี้คือ บททดสอบเบื้องต้นของคนที่คิดจะเอาดีทางสายบริหาร เพราะอุปสรรคแบบนี้ก็คืออุปสรรคพื้นฐานที่ทุกคนทำงานต้องเจอ คิดดูแล้วกันหากคนคนหนึ่งจะทำงานได้ก็เฉพาะต้องเจอนาย เจอหัวหน้าที่ตัวเองชอบ ถ้าไม่ชอบก็ทำไม่ได้ แปลว่าคนคนนั้นใช้อารมณ์ในการทำงาน ไม่ได้ใช้เหตุผล หรือเข้าถึงความเป็นจริงของสังคม เท่ากับเข้ากับคนยาก แฮนเดิลความแตกต่างของคนไม่เป็น มันจะไปทำอะไรได้

ในทางตรงกันข้าม มันจะต้องทำได้ เดินได้ในทุกสถานการณ์ มันต้องรู้จักปรับตัว ปรับความคิด ปรับตัวเองให้เข้ากับสถานการณ์ ยอมรับเงื่อนไขที่หลีกเลี่ยง ไม่ได้ ความท้าทายคือต้องฝ่า ต้องเอาชนะให้ได้ ไม่ใช่การยอมแพ้หรือหนี

หาก เราไม่ได้อยู่ในฐานะที่เลือกนายได้ ก็ต้องทำใจว่านายแบบไหนเราก็ต้องไปกับเขาให้ได้ เราปรับเปลี่ยนเขาไม่ได้ แต่เราต้องปรับเปลี่ยนตัวเราให้ได้ นั่นคือคำตอบ"

"พ่อพูดฟังดูไม่ ยากนะ แต่ผมยังนึกไม่ออกเลยว่าผมจะทำได้สักแค่ไหน"

"ใจเย็น ๆ ลูก ตั้งใจให้ดี พ่อเชื่อว่าผู้ใหญ่และทุกคนในระดับบนเขากำลังมองลูกอยู่ว่าลูกจะทำตัวอย่าง ไรในเงื่อนไขสถานการณ์ขณะนี้ พ่อจะบอกให้ พ่อก็เคยทดสอบลูกน้องในสภาพนี้มาเหมือนกัน ดูซิว่าจะอดทน จะอึดขนาดไหน มันคือการทดสอบความแข็งแกร่งของจิตใจ และจะหาทางคลี่คลายอย่างไรถ้าลูกผ่านช่วงนี้ไปได้ รับรองว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงแน่สำหรับเส้นทางของลูก"

วันที่ 05 เมษายน พ.ศ. 2553 ปีที่ 33 ฉบับที่ 4198 ประชาชาติธุรกิจ หน้า 31

วันพฤหัสบดีที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2553

Creative Leader

Creative Leader

คอลัมน์ Executive Coach

โดย คม สุวรรณพิมล



ที่ผ่านมา ผู้บริหารหลาย ๆ ท่านมักจะถามผมว่า การเป็นผู้บริหารที่ประสบความสำเร็จ ควรจะต้องมีคุณสมบัติอะไรที่โดดเด่น ?

ก่อน จะตอบคำถามนี้ ผมอยากทบทวนให้เข้าใจหลักการบริหารก่อน ที่มักจะหนีไม่พ้นระหว่างการบริหาร "งาน" กับ "คน" ซึ่งเป็นความรู้พื้นฐานที่น่าประหลาดใจว่า "ผู้บริหารส่วนใหญ่ยังทำผิดพลาดอยู่ โดยที่ตัวเองก็ยังไม่รู้ตัวด้วยซ้ำ ว่าพลาดตรงไหน"

ซึ่งข้อผิดพลาดส่วนใหญ่ที่เกิดขึ้น คือ ผู้บริหารบางท่านให้ความสำคัญกับการบริหารงานมากไป โดยสาเหตุมาจากหลากหลายประเด็น ทั้งต้องการให้งานสำเร็จโดยเร็ว ต้องการให้งานสมบูรณ์ หรือมีความคาดหวังที่สูง รวมถึงการมองว่าตัวเองเป็น ผู้เชี่ยวชาญในงานนั้นทุนเดิมอยู่แล้ว และคิดว่าลูกน้องน่าจะเชี่ยวชาญงานนี้เช่นกัน

ผลดีที่เกิดขึ้น คืองานเดินหน้า แต่อาจจะไม่มากเท่าที่ควรจะเป็น เพราะถูกหักล้างด้วย "ความเต็มใจของคนในทีม" เพราะ ผู้บริหารประเภทนี้ไม่สามารถดึง "คน" ให้มาทำงานกับเราได้อย่างเต็มที่ทั้งกายและใจ เหมือนกับมี "รถดี ๆ สักคัน แต่คนขับไม่ค่อยเต็มใจจะขับสักเท่าไร"

แต่สำหรับบางคนก็เน้นการ บริหารคนด้วยความเข้าอกเข้าใจ จนเกิดความน่าเชื่อถือ ไว้วางใจในการทำงานระหว่างผู้บริหารกับพนักงาน เพราะผู้บริหารกลุ่มนี้มักจะยึดหลักเอาใจเขามาใส่ใจเรา ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้อาจจะดีในแง่ของการทำงานเป็นทีม แต่ถ้าความแตกต่างในความสามารถระหว่างสมาชิกในทีมมีมากเกินไป ก็อาจเกิดผลเสียได้ เช่นงานที่ออกมามักไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควรจะเป็น

ดัง นั้น ความสำเร็จในการบริหาร คือการสร้างความสมดุลระหว่างการบริหารงานกับคนให้ได้ ซึ่งหมายถึงการบริหารงานให้ได้ความสำเร็จ แต่ยังไม่ละเลยที่จะเข้าอกเข้าใจและพร้อมที่จะพัฒนาคนไปด้วยกัน ให้เหมือนกับ "มีรถดี ๆ วิสัยทัศน์ดี และมีคนขับที่พร้อมทั้งความสามารถและความตั้งใจ"

แต่สำหรับคำถามที่ว่า "คุณสมบัติอะไรที่โดดเด่นสำหรับการเป็นผู้บริหาร ?"

คำตอบของผมก็คือ "ความคิดสร้างสรรค์ในการบริหาร" นั่นเอง

แต่ ความคิดสร้างสรรค์ในที่นี้หมายถึงการนำความคิดสร้างสรรค์มาใช้ในการบริหาร งานและการบริหารคน ไม่ได้หมายถึงการคิดค้นสินค้าหรือบริการอะไรที่อยู่นอกเหนืออำนาจหน้าที่ของ คุณ

คำตอบนี้อาจจะขัดแย้งในใจของผู้บริหารหลาย ๆ ท่าน แต่ "ความคิดสร้างสรรค์คืออาวุธลับสุดท้ายในการแบ่งแยกระหว่างผู้บริหารในระดับ ธรรมดากับ สุดยอดผู้บริหาร"

ยกตัวอย่าง ถ้ามีผู้บริหาร 2 ท่านที่มีความสามารถในการบริหารคนและงานเท่าเทียมกันแล้ว คุณลองถามตัวคุณเองว่า ประเด็นอะไรที่ทำให้ทั้งสองท่านนี้ประสบความสำเร็จแตกต่างกัน

แน่นอนว่า นั่นก็คือความคิดสร้างสรรค์ที่ถูกใส่เข้าไปในขั้นตอนการบริหารงาน

จาก ประเด็นนี้ ผมขอยกตัวอย่าง ผู้บริหารท่านหนึ่งที่ใช้ความคิดสร้างสรรค์เพียงเล็กน้อยในการบริหาร แต่ได้ผลลัพธ์มหาศาล เรื่องนี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับพนักงานขับรถส่งของบริษัท ซึ่งส่วนใหญ่เป็น พนักงานประจำ ที่ทำงานมานาน กินเงินเดือนประจำ โดยธรรมชาติ พนักงานกลุ่มนี้ชอบอู้งาน ไม่ชอบวิ่งงานเยอะ ทำงานช้า ๆ เพื่อกินค่าล่วงเวลา ซึ่งเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นมาจนกลายเป็นวัฒนธรรมของบริษัท แต่ผู้บริหารท่านนี้ ซึ่งมารับตำแหน่งใหม่ ก็เกิดความรู้สึกว่า การทำงานเช่นนี้ ทำให้งานไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร เขาจึงใช้ความคิดสร้างสรรค์มาใช้ในการบริหารงาน โดยเปลี่ยนว่าบริษัทจะซื้อรถให้กับพนักงาน ขับรถกลุ่มนี้ ซึ่งแน่นอน พนักงานทุกคนดีใจที่จะมีรถเป็นของตัวเอง แต่แลกกับการไม่กินเงินเดือนประจำ แต่บริษัทจะส่งงานขับรถให้ต่อเนื่องและคิดค่าจ้างเป็นต่อเที่ยว โดยจะหักเงินไว้ 25% ของค่าจ้างเป็นค่าผ่อนรถ ยิ่งวิ่งรถมากเที่ยวเท่าไร รถก็เป็นของตัวเองเร็วขึ้นเท่านั้น

หลังจากนั้นมา คนกลุ่มนี้แทนที่จะอู้งาน กลับยิ่งมาของานส่งของทำมากขึ้น ทำให้ประสิทธิภาพงานในส่วนนี้ดีขึ้นมาทันที และค่าใช้จ่ายโดยรวมก็ลดลงอย่างมาก เกิดความพึงพอใจกันทั้งสองฝ่าย

ตัวอย่าง ข้างต้นนี้ น่าจะพอทำให้ผู้บริหารหลาย ๆ ท่านมองภาพออกว่าจะสามารถนำความคิดสร้างสรรค์มาใช้ใน การบริหารงานได้อย่างไร ซึ่งผมมีหลักการง่าย ๆ 3 ประการ ในการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ตามแบบฉบับ Coach ! For Goal มานำเสนอ

1.ไม่ เชื่อ หมายถึงผู้บริหารต้องไม่เชื่อในสิ่งที่เห็น หรือในสิ่งปัจจุบันที่เป็นอยู่ว่าคือสิ่งที่ดีที่สุดแล้ว เพราะถ้าเชื่อเมื่อไรว่าวิธีการนี้คือสิ่งที่ดีที่สุดแล้ว ยังไงคุณก็ไม่มีทางสร้างสรรค์อะไรใหม่ ๆ ได้ ซึ่งในกรณีนี้รวมถึงการไม่เชื่อว่าปัญหาที่เกิดขึ้นนั้นจะแก้ไขไม่ได้

กรณีนี้ ผู้บริหารไม่เชื่อว่าปัญหานี้ไม่มีทางออก เขาเลยสามารถหาทางออกที่สวยงามให้กับทุกฝ่ายได้

2.ไม่ แคร์ หมายถึงไม่แคร์กับการกระทำและความคิดของตัวว่าจะเกิดขึ้นได้จริงหรือไม่ แต่มีข้อแม้อย่างหนึ่ง คือการไม่แคร์นี้ยังอยู่บนพื้นฐานที่ไม่ได้ไปกระทบสิทธิหรือเสรีภาพของคน อื่น เพราะการที่คุณแคร์หรือใส่ใจกับประเด็นต่าง ๆ ที่ยังไม่เกิดขึ้นมากเกินไป ตัวคุณนั่นแหละที่เป็นคนสร้างข้อจำกัดให้ตัวเอง

3.ไม่ ยอมแพ้ หมายถึงการไม่ยอมแพ้กับทุกเรื่องที่เกิดขึ้น เพราะความสำเร็จมักจะอยู่บนซากปรักหักพังของความล้มเหลวเสมอ ดังนั้น ถ้าคุณคิดอะไรขึ้นมาได้แล้วมันยังไม่สำเร็จ คุณก็ต้องไม่ยอมแพ้ เพราะถ้ายอมแพ้หรือยอมจำนนเมื่อไร ความคิดสร้างสรรค์ขั้นสุดยอดที่มักจะออกมาในช่วงท้าย ๆ ก็ไม่มีโอกาสเกิดขึ้นได้เลย

สามหลักการง่าย ๆ เช่นนี้ ผมอยากให้ผู้บริหารนำไปปฏิบัติ ลองเริ่มดูจากอุปสรรคในการบริหารงานของคนก่อนว่ามีอะไรบ้าง แล้วใช้สามหลักการนี้มาเริ่มปฏิบัติดู แล้วความคิดใหม่ ๆ ในการบริหารจะเกิดขึ้นเอง

"ถ้าคุณคิดเหมือนเดิม คุณก็จะปฏิบัติเหมือนเดิม ผลลัพธ์ก็ออกมาเช่นเดิม แต่ถ้าคุณเปลี่ยนความคิดใหม่ คุณก็จะปฏิบัติแบบใหม่ ผลลัพธ์ก็จะแตกต่างจากเดิม" เพราะความคิดเดิม ๆ แก้ไขปัญหาเดิม ๆ ไม่ได้อย่างแน่นอน

หน้า 30
วันที่ 04 มีนาคม พ.ศ. 2553 ปีที่ 33 ฉบับที่ 4189 ประชาชาติธุรกิจ

7 กลวิธีเพิ่มผลตอบแทน จากการทำงานของบุคลากร

7 กลวิธีเพิ่มผลตอบแทน จากการทำงานของบุคลากร

คอลัมน์ HR Corner

แหล่งข้อมูลจาก APM Group



ช่วง เวลานี้ทุกคนทราบกันดีอยู่แล้วว่า เศรษฐกิจกำลังอยู่ในยุคที่ถดถอย หลายคนกำลังอยากหางาน แต่สิ่งนี้ไม่อาจหมายความได้ว่าคนเหล่านี้จะมีคุณสมบัติเหมาะสมกับบริษัทของ ท่านเสมอไป ดังนั้นแทนที่บริษัทจะมองว่าพนักงานเป็นบุคคลที่บริษัทจะปรับลดจำนวนลงเมื่อ ใดก็ได้ บริษัทควรมุ่งเน้นไปที่การทำให้เกิดผลตอบแทนที่ดีที่สุดจากบุคลากรที่ตนมี อยู่มากกว่า

การรักษาพนักงานไว้กับบริษัทเป็นปัญหาใหญ่มาก และไม่ว่าสภาพเศรษฐกิจจะเป็นอย่างไร ปัญหานี้จะเป็นเช่นนี้ต่อไปเสมอ ดังนั้นปัจจัยที่มีผลต่อการเติบโตและประสิทธิภาพในการทำงานในระยะยาว คือ ตัวพนักงานที่คุ้นเคยกับบริษัทของท่าน และดำเนินการทำงานได้ตรงตามเป้าหมาย

บริษัทควรสร้างความตื่นเต้นและแรงจูงใจในการทำงานให้กับพนักงาน เพื่อที่พนักงานจะได้รู้สึกอยากทำงานให้บริษัทต่อไป ซึ่งหมายถึงท่านต้องสร้างสภาพแวดล้อมที่สร้างความท้าทายให้บุคลากร และช่วย ให้พวกเขาเติบโตต่อไป ไม่ใช่ในฐานะ พนักงาน แต่เป็นทรัพยากรมนุษย์ต่างหาก

ฉะนั้น ต่อไปนี้จึงเป็น 7 กลวิธีที่องค์กรสามารถนำไปใช้สร้างความเป็นบริษัทที่มุ่งเน้นการเติบโต ซึ่งจะทำให้เกิดการอยู่รอดและดำเนินกิจการต่อไปได้แม้จะประสบกับภาวะ เศรษฐกิจถดถอยก็ตาม

หนึ่ง ลืมเรื่องเงิน สนใจเรื่องความสัมพันธ์

ถึง แม้ว่าท่านจะให้เงินเดือนหรือโบนัสก้อนโต วันหยุดยาว หรือสวัสดิการอื่น ๆ ก็ตาม แต่สิ่งเหล่านี้จะไม่สร้างความซื่อสัตย์ในหมู่พนักงานแต่อย่างใด ในทางตรงกันข้ามกลับสร้างความสัมพันธ์ที่เหมือนกับการฝึกสุนัขให้นอนนิ่ง ๆ อยู่ในสวนหลังบ้าน และรอคอยเพื่อนบ้านที่จะโยนกระดูกชิ้นที่โตและอร่อยกว่า

การสร้างวัฒนธรรมซึ่งเห็นคุณค่าของการมีความสัมพันธ์ที่ดีจะสร้าง เหตุผลในการมาทำงานทุกวันที่แท้จริง และช่วยสร้าง ผลตอบแทนให้กับพนักงาน พนักงานจะเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีและเติบโตขึ้นได้ก็ต่อเมื่อมีความสัมพันธ์ ที่ดีเท่านั้น และการเติบโตส่วนบุคคลถือเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการอยู่รอดของธุรกิจในสภาวะที่ โลกเรา ซับซ้อนขึ้นทุกขณะ

สอง ช่วยให้พนักงานค้นหาความคุ้นเคยของตนเจอ

ความคุ้นเคยคืออะไร หากพูดอย่างง่ายคือสภาวะทางอารมณ์ที่ควบคุมเราครั้งแล้วครั้งเล่า เป็นอิทธิพลที่มี

ผล อย่างใหญ่หลวงต่อทางเลือก ความสัมพันธ์กับผู้อื่น และหน้าที่การงานของเรา ความคุ้นเคยเป็นสิ่งที่ได้รับการปลูกฝังมาจาก ครอบครัว และการอบรมเลี้ยงดูในวัยเยาว์ เป็นความรู้สึกที่เราสร้างขึ้นมาอีกโดยไม่รู้สึก บางครั้งเป็นไปเพื่อประโยชน์ต่อตัวเรา

แต่ส่วนใหญ่แล้วกลับเป็น อันตรายต่อตัวเรา ตัวอย่างเช่น ลูกคนโตในครอบครัวใหญ่ต้องเติบโตขึ้นมาพร้อมกับการต้องเสียสละความต้องการ ส่วนตนให้น้อง ๆ บางทีลูกคนโตนี้อาจได้รับการปลูกฝังว่าจะเป็นคนเห็นแก่ตัวหากเรียกร้องสิ่ง ต่าง ๆ เพื่อตนเอง จึงไม่น่าสงสัยว่าเมื่อโตขึ้นเด็กคนนี้จะมีปัญหาในการทำงาน ทั้งเบื่องาน และมีปัญหาในการสื่อสารถึงความต้องการที่ตนเองมีออกไปให้หัวหน้าทราบและช่วย เหลือต่อไป

ความคุ้นเคยซึ่งในที่นี้คือความรู้สึกที่เด็กคนนี้ไม่ สมควรจะร้องขอสิ่งใด ๆ เลยจะเกิดขึ้นอีกในสภาพการทำงานของเธอ ซึ่งเป็นที่ที่เธอไม่อาจยืนยันถึงความต้องการของตนเองได้เลย ท่านสามารถช่วยพนักงานได้อย่างมากโดยการเรียนรู้ความคุ้นเคยเหล่านี้ และกระตุ้นให้พนักงานระบุความคุ้นเคยนี้ และกำจัดเสียในที่สุด

สาม หาข้อมูลพนักงานไว้

ส่วน สำคัญของการสร้างบริษัทที่มุ่งเน้นการเติบโต คือ การถามคำถามพนักงานอย่างสม่ำเสมอ คุณได้สังเกตไหมว่าคุณได้ทำอะไรไว้ที่นั่น ทำไมคุณถึงได้กล่าวเช่นนั้น ถ้าสังเกตเห็นในระหว่างประชุมว่าเมื่อมีคนมาท้าทายเอาตำแหน่งของคุณ คุณไม่ได้พยายามรักษาไว้ คุณคิดว่าทำไมคุณถึงไม่สู้ล่ะ การสร้างวัฒนธรรมแห่งการถามคำถามจะช่วยให้พนักงานสามารถระบุความคุ้นเคยได้ และช่วยยกระดับความคาดหวังที่มีต่อผลการปฏิบัติงานทั่วทั้งองค์กรได้

รวมทั้งยังช่วยฝึกให้พนักงานพิจารณาวิธีการทำงานของตนอย่างรอบคอบ และทำให้มั่นใจว่ามีเหตุผลที่ฟังขึ้นสำหรับการตัดสินใจทุก ๆ ครั้ง

สี่ กระตุ้นให้เกิดความขัดแย้งและการเผชิญหน้า

ไม่ ต้องตกใจว่าท่านอ่านผิดหรอก นาน ๆ ทีความขัดแย้งและการเผชิญหน้าจะมีคุณสักครั้ง แต่จริง ๆ แล้วกลับเป็นความหมายของการทำงานเป็นทีมที่แท้จริง และยังจำเป็นต่อการสร้างความสัมพันธ์ต่อการเติบโต จุดประสงค์ของการมาทำงานไม่ใช่การทำให้ทุกคนมีความสุข แต่เป็นการสร้างการเติบโตของพนักงานให้ถึงขีดสุด

ดังนั้น การที่บริษัทต่าง ๆ นิยมใช้การตัดสินใจ/การเจรจา การบริหารการมีส่วนร่วม และระบบทีมงานที่ควบคุมตนเองได้อย่างมากมาย จึงเป็นสัญญาณร้ายต่อประสิทธิผลในการทำงาน

ห้า ให้ข้อมูลป้อนกลับตามตรงและเอาใจใส่

เปิด ช่องทางการสื่อสารไว้ตลอด โดย การบอกผลการปฏิบัติงานให้กับพนักงานอยู่เสมอ ความสัมพันธ์ที่ไม่มีการให้ข้อมูลป้อนกลับตามตรงถือเป็นสังคมแห่งการอดทน ทั้งสองฝ่าย การยอมรับโดยไม่มีเงื่อนไขทั้งด้านความสัมพันธ์ส่วนตัวและในหน้าที่การงาน ถือเป็นรูปแบบหนึ่งของการเพิกเฉยไม่เอาใจใส่ เพราะเป็นการปิดโอกาสที่สำคัญที่สุดที่จะทำให้เกิดการเติบโตและการเปลี่ยน แปลง ได้ของผู้อื่น จึงเป็นเหตุผลว่าการให้ข้อมูลป้อนกลับนั้นเป็นการเอาใจใส่ประการหนึ่ง

หก ฝึกฝนศิลปะการเปิดเผยตนเอง

การ ให้ข้อมูลป้อนกลับมีอยู่ 2 ทางเสมอ ท่านจำต้องให้พนักงานเป็นผู้ให้ข้อมูลป้อนกลับกับท่านด้วย วิธีหนึ่งคือการเปิดเผยตนเอง ถ้าท่านต้องการเปลี่ยนความสัมพันธ์ที่มีกับพนักงานที่ไม่ค่อยพูดจาให้เป็น ความสัมพันธ์ที่มุ่งเน้นการเติบโตหรือสร้างความสัมพันธ์ใหม่ที่สวยงาม ท่านต้องแลกเปลี่ยนความรู้สึกของท่านเป็นอย่างแรก แต่นับว่าเป็นความเสี่ยงอยู่ทีเดียว เพราะไม่อาจรู้ได้ว่าปฏิกิริยาของคู่สนทนาจะเป็นอย่างไร

ท่าน ต้องเตรียมรับมือกับปฏิกิริยาทุก รูปแบบที่ท่านอาจได้รับ แต่นับว่าคุ้มค่าอีกเช่นกันเพราะท่านจะมีโอกาสเรียนรู้จาก พนักงานได้มาก เปิดเผยตนเองให้บ่อยและท่านจะสามารถสร้างรูปแบบโมเดลความสัมพันธ์ที่ท่าน ต้องการให้เกิดขึ้นในองค์กรท่านได้

เจ็ด จัดตั้งกลุ่มพนักงานผู้เปี่ยมด้วยความรับผิดชอบ

หลาย คนกลัวที่จะได้รับหรือให้ข้อมูล ป้อนกลับ เพราะไม่อยากแสดงออกถึงข้อบกพร่องหรือสร้างความขุ่นเคืองให้ผู้อื่น แต่หากท่านจัดการอย่างถูกวิธีแล้วผู้อื่นก็จะเต็มใจที่จะมีส่วนร่วมกับการ ให้ข้อมูลป้อนกลับนี้ ในกลุ่มพนักงานผู้เปี่ยมด้วยความรับผิดชอบนี้จะมีการให้และรับข้อมูล ป้อนกลับ สร้างแผนการทำงานโดยยึดตามข้อมูลป้อน กลับนั้น

และปลูกฝัง ความรับผิดชอบต่อการดำเนินแผนงานนั้นของสมาชิกกลุ่ม ซึ่ง ผู้เขียนพบว่ากลุ่มพนักงานผู้เปี่ยมด้วยความรับผิดชอบนี้สามารถช่วยให้ ลูกค้าแก้ปัญหางานและความสัมพันธ์ส่วนบุคคลได้อย่างมีประสิทธิผลอย่างไม่น่า เชื่อ หากท่านให้ข้อมูลป้อนกลับอย่างถูกวิธีแล้วจะสามารถนำพาบุคลากรและองค์กรไป สู่การเปลี่ยน แปลงตนเองจากคุณลักษณะภายในได้

ฉะนั้น ผู้เขียนจึงมั่นใจว่ารายละเอียดในบทความนี้ น่าจะช่วยเพิ่มประสิทธิผลในการทำงานขององค์กรท่านได้ พนักงานที่มีความมุ่งมั่นทั้งเรื่องส่วนตัวและอาชีพการงานจะส่งมอบงานที่มี คุณภาพกว่าได้ เพราะเป็นเรื่องที่เข้าใจได้ง่ายมาก

แต่เหตุผลสำคัญ ของการดำเนินกลยุทธ์เหล่านี้เกี่ยวข้องกับอนาคตมากกว่าปัจจุบัน การสร้างสภาพแวดล้อมในการทำงานที่เปิดโอกาสให้พนักงานค้นพบตนเองได้อย่างมาก ถือเป็นการลงทุนเพื่ออนาคตขององค์กรท่าน เริ่มเสียตั้งแต่ตอนนี้ และเมื่อบริษัทท่านกลับเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจที่เติบโตได้แล้ว พนักงานจะไม่ลาออกไปอยู่บริษัทที่ให้เงินเดือนดีกว่า และบริษัทของท่านจะสามารถตอบสนองความต้องการที่ซับซ้อนมากขึ้นไปอีกกว่านี้ ได้

หน้า 29

วันที่ 04 มีนาคม พ.ศ. 2553 ปีที่ 33 ฉบับที่ 4189 ประชาชาติธุรกิจ

วันอาทิตย์ที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

"มาฆบูชา" วันแห่งความรัก




"มาฆบูชา" วันแห่งความรัก


ความรักของสมเด็จพระพุทธองค์ สูงส่งบริสุทธิ์ผ่องใส
ไม่ให้ทุกข์ไม่ให้โทษไม่ให้ภัย แก่ชีวิตจิตใจใดทั้งนั้น

ด้วยทรงมีความรักบริสุทธิ์สูงส่ง ไม่มีเสมอเหมือน
พระพุทธองค์จึงทรงแผ่พระมหากรุณาได้กว้างใหญ่ไพศาล
ไม่มีขอบเขต ทั้งแก่พรหมเทพ มนุษย์สัตว์
ปรากฏแจ้งชัดใน โอวาทปาติโมกข์ ที่ทรงแสดงในวันมาฆบูชา

พึงไม่ทำบาปทั้งปวง
พึ่งทำกุศลให้ถึงพร้อม
พึงรักษาจิตของตนให้ผ่องใส

บาปย่อมก่อให้เกิดทุกข์โทษภัยแก่ผู้ทำและผู้อื่น
พระพุทธองค์จึงทรงเตือนไม่ให้ทำ

กุศลย่อมเป็นคุณแก่ผู้ทำและผู้อื่น
พระพุทธองค์จึงทรงเตือนให้ทำ

จิตผ่องใสคือจิตที่ไกลได้จากกิเลสโกรธหลง ที่มีอยู่เต็มโลก
ย่อมให้ความสุขสงบอย่างยิ่งจนถึงเป็นบรมสุข
พระพุทธองค์จึงทรงเตือนให้รักษาจิตของตน

: แสงส่องใจ มาฆบูชา ๒๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๕
: สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

ที่มา dhammajak.net

วันพุธที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2553

ส.ค.ส. พระราชทาน ๒๕๕๓

อยู่อย่างเข้มแข็งในสังคมทีแข่งขัน

อยู่อย่างเข้มแข็งในสังคมทีแข่งขัน

มนุษย์มีการแข่งขันกันตลอดชีวิต ไม่ว่าจะตั้งแต่ก่อนเกิดจนถึงวาระสุดท้ายของชีวิต ขนาดการตั้งครรภ์แม่ก็ต้องแย่งคิวฝากท้องกับหมอที่มีชื่อเสียง

คงปฏิเสธไม่ได้ว่าความเจริญก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยี สามารถทำให้การดำเนินชีวิตของผู้คนในปัจจุบันมีความสะดวกสบายมากขึ้นกว่าใน อดีต ยุคดิจิตอลนี้มีรถยนต์ความเร็วสูง มีเครื่องซักผ้า ตู้เย็น ไมโครเวฟ ทีวีจอแบน โทรศัพท์มือถือ บีบี ไอโฟน คอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊ค หรือเน็ตบุ๊ค เป็นต้น

แต่สิ่งเหล่านี้เป็นเพียงความสะดวกสบายทางกายเท่านั้น ไม่ได้รับประกันว่าคนในสมัยปัจจุบันจะมีความสุขทางใจมากกว่าคนในอดีต ซึ่ง นพ.ไกรสิทธิ์ นฤขัตพิชัย จิตแพทย์โรงพยาบาลมนารมย์ ระบุว่า มีการศึกษาจำนวนมากบ่งบอกว่าผู้คนในประเทศอุตสาหกรรมที่มีความเจริญทาง เทคโนโลยี มีดัชนีความสุขต่ำกว่าผู้คนประเทศที่ไม่ได้มีการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีมาก นัก เช่น ผู้คนในประเทศภูฏานมีดัชนีความสุขสูงกว่าประเทศสหรัฐอเมริกา หรือญี่ปุ่นหลายเท่า และในประเทศญี่ปุ่นมีสถิติการฆ่าตัวตายสูงอันดับต้นๆ ของโลก แต่ในขณะที่ประเทศภูฏาน แม้จะไม่เจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยี แต่ประชาชนกลับมีความสุข คนในครอบครัว ในชุมชน มีเวลาให้กัน มีน้ำใจ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่กัน มีรอยยิ้มให้กัน ถึงแม้ GDP ของประเทศจะต่ำ แต่ GNH (Gross National Happiness) กลับมีสูงมาก

นพ.ไกรสิทธิ์ ให้ข้อมูลอย่างน่าสนใจว่า สาเหตุที่คนเราไม่มีความสุข เกิดความทุกข์อยู่ตลอดเวลา เป็นเพราะมนุษย์มีการแข่งขันกันตลอดชีวิต ไม่ว่าจะตั้งแต่ก่อนเกิดจนถึงวาระสุดท้ายของชีวิต ขนาดการตั้งครรภ์แม่ก็ต้องแย่งคิวฝากท้องกับหมอที่มีชื่อเสียง ต้องรีบจองคิวเนอร์สเซอรี่หรือโรงเรียนอนุบาลชื่อดังตั้งแต่อยู่ในท้องแม่ เด็กสมัยนี้จบจากอนุบาลจะเข้าประถม 1 ก็ต้องเริ่มมีการกวดวิชาสอบเข้ากันแล้ว ไม่ค่อยมีเวลาวิ่งเล่น สนุกสนานเหมือนเด็กยุคก่อนๆ ยิ่งโดยเฉพาะการสอบเข้ามหาวิทยาลัย การแข่งขันยิ่งรุนแรง เรียนกวดวิชาเตรียมสอบล่วงหน้ากันเป็นปีๆ จบออกมาก็ต้องแย่งงานดีๆ กันทำอีก

“นอกจากนั้นยังต้องแข่งขันเปรียบเทียบกับเพื่อนรุ่นเดียวกันว่าใครจะประสบ ความสำเร็จในชีวิตมากกว่า เร็วกว่า ใครขับรถแพง บ้านหลังใหญ่หรูกว่า ลูกใครเรียนโรงเรียนดัง มีชื่อเสียง เรียนเก่ง ประสบความสำเร็จมากกว่ากัน การเปรียบเทียบแข่งขันทั้งหมดนี้เป็นสิ่งที่มากเกินความจำเป็นพื้นฐานของ ชีวิต แต่เป็นการตอบสนองทางด้านจิตใจมากกว่า เพื่อให้ตนเองมั่นใจว่าชีวิตฉันมั่นคงกว่า ปลอดภัยกว่า ประสบความสำเร็จมากกว่า ฉันเก่งกว่าเพื่อนในรุ่นเดียวกัน ฉันใช้ได้ ฉันชนะ ฉันเหนือกว่าคนอื่นๆ”

จิตแพทย์ ระบุว่า ความจริงชีวิตคนเรามีสิ่งที่จำเป็นพื้นฐาน (Need) ไม่มากกว่าปัจจัยสี่เท่าใดนัก แต่สิ่งที่คนเราต้องการ (Want) ในชีวิตนั้นไม่มีที่สิ้นสุด และเหตุผลก็คือเป็นไปเพื่อตอบสนองความสะดวกสบาย ความสนุกสนานและเสริมความมั่นใจ ในเรื่องของภาพลักษณ์ หน้าตา ศักดิ์ศรี เกียรติยศ ชื่อเสียง อำนาจ ซึ่งคนจำนวนมากยอมทุ่มเทชีวิตเพื่อให้ได้สิ่งเหล่านี้มาจนกระทั่งลืมไปว่า เป้าหมายของชีวิตคืออะไร ชีวิตขาดสมดุลย์ ครอบครัวล้มเหลว สุขภาพทรุดโทรม หรือแม้แต่สังคมและสภาพแวดล้อมก็เสื่อมถอย เพราะผู้คนมุ่งประโยชน์ส่วนตน

“คนจำนวนมากที่มีทรัพย์สินเงินทองมากมายแล้ว แต่ก็ยังไม่มีความสุขเพราะครอบครัวล้มเหลว ความสัมพันธ์ในบ้านมีปัญหา สามี ภรรยา พ่อ แม่ ลูก เข้ากันไม่ได้ ในบ้านมีแต่ความร้อนรุ่ม หาความสงบสุขไม่ได้ บางรายถึงมีเงินทองมากมายก็ยังไม่มีความสุข เพราะเฝ้ามองเปรียบเทียบกับเพื่อนที่รวยกว่า ต้องมีมากกว่าเขาถึงจะรู้สึกมีความสุข รู้สึกมั่นใจ รู้สึกว่าเหนือกว่า หรือบางคนก็ไม่มีความสุขเพราะต้องมาคอยระแวดระวังว่าจะมีคนมาโกง มาปล้น มาขโมย มายักยอกทรัพย์สินไป ต้องคอยคิดหาวิธีป้องกันและตรวจสอบอยู่ตลอดเวลา”
นพ.ไกรสิทธิ์ ชี้ให้เห็นว่า คนเราไม่มีความสุข ต้องดิ้นรน แข่งขัน เปรียบเทียบกับคนอื่น ก็เพราะรู้สึกไม่มั่นใจว่าตัวเองมีมากพอ ดีพอ ซึ่งเป็นความรู้สึกที่ลึกอยู่ในระดับจิตใต้สำนึก การปรับเปลี่ยนแก้ไข ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ ตราบใดที่ยังมีความรู้สึกเช่นนี้ก็ยังคงมีความรู้สึกว่าตัวเองขาดอยู่ ยังไม่รวย (ทั้งที่มีทรัพย์สินมากมาย) ยังไม่ปลอดภัย คนเหล่านี้มีความรู้สึกไม่มั่นคงจากภายในจิตใจ แต่จะหาวิธีแก้ไขให้เกิดความมั่นคงโดยอาศัยจากปัจจัยภายนอก ตั้งแต่ทรัพย์สิน เงินทอง ความสำเร็จ ชื่อเสียง การยอมรับจากบุคคลอื่น ซึ่งปัจจัยภายนอกนี้เป็นสิ่งที่ไม่แน่นอน อยู่นอกเหนือการควบคุมของแต่ละคน

ดังนั้นถ้าการจะมีความสุขได้โดยต้องอาศัยสิ่งภายนอกเหล่านี้ ก็ต้องใช้กำลังอย่างมากในการพยายามที่จะควบคุมสิ่งเหล่านี้ให้เป็นไปตามความ ต้องการของตนเองให้ได้ ซึ่งมีโอกาสผิดหวัง ล้มเหลวสูงมาก เนื่องจากเป็นสิ่งที่ไม่มีความแน่นอน ควบคุมไม่ได้ สำหรับวิธีการสร้างสุขอย่างยั่งยืนเพื่อให้สามารถอยู่ท่ามกลางสังคมที่มีแต่ การแข่งขันกันนั้น นพ.ไกรสิทธิ์ นฤขัตพิชัย ก็ได้ให้แนวทางที่สามารถปฏิบัติเองได้ 5 ข้อ ดังนี้

1. ปรับความคิด พยายามทำให้ตนเองรู้สึกว่าในโลกนี้ไม่มีใครสมบูรณ์แบบทุกคน แต่ละคนก็มีทั้งข้อดีและข้อเสีย ตัวเราเองก็มีทั้งข้อดีและข้อเสียเช่นเดียวกัน
2. ต้องคิดเส
มอว่าตัวเราเองมีคุณค่า มีประโยชน์ และต้องพยายามรักษาข้อดี ปรับปรุงข้อเสียของตนเอง พยายามลดจุดอ่อน ข้อบกพร่อง และต้องยอมรับตนเองในแบบที่ตนเองเป็น

3. อย่าวิ่งหนีปัญหา และกลบจุดอ่อนปมด้อยตัวเอง อย่าคิดที่จะต้องเอาชนะคนอื่น นำหน้าหรืออยู่เหนือผู้อื่น เพราะจะช่วยทำให้ความคิดที่ต้องการไขว่คว้าหาความมั่นคงจากปัจจัยภายนอกก็จะ ลดลง ความต้องการแก่งแย่งแข่งขันก็จะน้อยลง ทำให้ชีวิตมีความเรียบง่ายขึ้น

4. พยายามมองโลกแง่บวก รู้จักให้อภัยผู้อื่น ช่วยเหลือเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ซึ่งกันและกัน ซึ่งข้อนี้เป็นเรื่องที่ทำได้ยาก ต้องอาศัยทั้งความรู้และความเข้าใจ ถึงจะสามารถปรับตัวและอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมแห่งการแข่งขันกันได้

5. ต้องหมั่นฝึกฝนปฏิบัติทบทวน เพื่อเตือนสติตนเอง ว่าคนเราก็มีความสุขได้โดยที่ไม่ต้องพึ่งปัจจัยภายนอก ซึ่งต้องอาศัยความอดทน และความมุ่งมั่นอย่างสูงจึงจะสำเร็จ ถ้าทุกคนหันมาให้ความสนใจกับแนวทางนี้ ตั้งสติและทบทวนปฏิบัติได้ เชื่อว่าโลกใบนี้ก็จะกลับมาน่าอยู่เหมือนเดิมได้


โดย : นพ.ไกรสิทธิ์ นฤขัตพิชัย โรงพยาบาลมนารมย์
ที่มา กรุงเทพธุรกิจ