พระบรมราโชวาทเกี่ยวกับ "ความรู้"

“...ความรู้นั้นสำคัญยิ่งใหญ่ เพราะเป็นปัจจัยให้เกิดความฉลาดสามารถ และความเจริญก้าวหน้า มนุษย์จึงใฝ่ศึกษากันอย่างไม่รู้จบสิ้น แต่เมื่อพิเคราะห์ดูแล้ว การเรียนความรู้ แม้มากมายเพียงใด บางทีก็ไม่ช่วยให้ฉลาดหรือเจริญได้เท่าไรนัก ถ้าหากเรียนไม่ถูกถ้วน ไม่รู้จริงแท้ การศึกษาหาความรู้จึงสำคัญตรงที่ว่า ต้องศึกษาเพื่อให้เกิด “ความฉลาดรู้” คือรู้แล้ว สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้จริงๆ โดยไม่เป็นพิษเป็นโทษ การศึกษาเพื่อความฉลาดรู้ มีข้อปฏิบัติที่น่าจะยึดถือเป็นหลักอย่างน้อยสองประการ ประการแรก เมื่อจะศึกษาสิ่งใดเรื่องใดให้รู้จริง ควรจะได้ศึกษาให้ตลอดครบถ้วนทุกแง่ทุกมุม ไม่ใช่เรียนรู้แต่เพียงบางส่วนบางตอน หรือเพ่งเล็งเฉพาะแต่เพียงบางแง่บางมุม อีกประการหนึ่ง ซึ่งจะต้องปฏิบัติประกอบพร้อมกันไปด้วยเสมอคือต้องพิจารณาศึกษาเรื่องนั้นๆ ด้วยความคิดจิตใจที่ตั้งมั่นเป็นปรกติ และเที่ยงตรง เป็นกลาง ไม่ยอมให้ความรู้เห็นและเข้าใจตามอำนาจความเหนี่ยวนำของอคติ ไม่ว่าจะเป็นอคติฝ่ายชอบหรือฝ่ายชัง มิฉะนั้นความรู้ที่เกิดขึ้นจะไม่เป็นความรู้แท้ หากแต่เป็นความรู้ที่ถูกอำพรางไว้ หรือที่คลาดเคลื่อนวิปริตไปต่างๆ จะนำไปใช้ให้เป็นประโยชน์จริงๆ โดยปราศจากโทษไม่ได้...”

พระบรมราโชวาท ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรโรฒ วันที่ ๒๒ มิถุนายน ๒๕๒๔

วันเสาร์ที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2552

ตามรอยเบื้องพระยุคลบาท




ตามรอยเบื้องพระยุคลบาท

โดย ดร. สุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา
สำนักข่าวเจ้าพระยา วันพฤหัสบดี 16 กรกฎาคม 2552

วัน ที่ 5 พฤษภาคม ซึ่งเป็นวันฉัตรมงคล เป็นวันสำคัญของชาติบ้านเมืองและเป็นวันที่ผู้ได้รับพระราชทานเครื่องราช อิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้าจะต้องไปเข้าเฝ้าฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท เพื่อถวายความจงรักภักดีและชื่นชมยินดีกับผู้ที่ได้รับพระราชทานเครื่องราช อิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้าในวันนั้น

หลัง จากพระราชทานเครื่องราช อิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้าเสร็จแล้ว ก็เสด็จฯ มายังพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดารามเพื่อถวายราชสักการะ พวกเราก็มักจะไปยืนเข้าเฝ้าฯ หน้าพระอุโบสถอีกครั้งหนึ่ง

ใน ปีนี้ หลังจากเสด็จฯ ออกจากพระอุโบสถและเสด็จฯ ไปถวายราชสักการะที่ปราสาทพระเทพบิดร ระหว่างเสด็จฯ ผ่านแถวของพวกเรา ก็ทรงหยุดชะงักนิดหนึ่ง แล้วทรงหันมารับสั่งกับผมว่า ? โครงการวัดมงคลเป็นอย่างไรบ้าง ไปดูกันบ้างหรือเปล่า สมัยก่อนนี้พวกเราสนุกกันมากนะ? แน่ นอนพระเจ้าอยู่หัวหยุดรับสั่งด้วยก็สร้างความมหาปีติเกิดขึ้นในหัวใจ อย่างเป็นที่สุด แต่ฟังพระราชกระแสถึงเรื่องอดีตเก่า ๆ ก็รู้สึกซึ้งในจิตใจบอกไม่ถูก และหวนตระหวัดไปเห็นภาพเก่า ๆ เมื่อได้มีโอกาสเข้าถวายงานในฐานะเลขาธิการ กปร. ตั้งแต่ปี 2524 เป็นต้นมา เป็นระยะห้วงชีวิตที่มีความสุข และสนุกที่สุดที่เคยมีมา
ใน ยุคนั้นจะประทับอยู่ในนครหลวง เพียงไม่ถึงครึ่งปี นอกนั้นก็เสด็จประพาสไปในภูมิภาคต่าง ๆ ครบทั้ง 4 ภาคเป็นประจำพวกเราก็ต้องย้ายภูมิลำเนาไปอยู่ในต่างจังหวัดชั่วคราว ระยะแรก ๆ ยังไม่มีบ้านพัก กปร. ก็นอนโรงแรมบ้าง ขออาศัยบ้านพักหน่วยราชการบ้าง โดยเฉพาะกรมชลประทาน สมบุกสมบัน ชีวิตมีเรื่องตื่นเต้นอยู่ตลอด เสด็จฯ ออกเยี่ยมเยียนราษฎรและโครงการต่าง ๆ เกือบวันเว้นวัน เสด็จฯ ออกยามบ่าย และเสด็จฯ กลับที่ประทับยามดึกแก่ ๆ ทุกวัน เสด็จฯ แปรพระราชฐานที่หัวหินก็เจออากาศร้อน เสด็จฯ ใต้เจอฝนแน่นอน อีสานร้อนสลับหนาว และภาคเหนือก็หนาวเหน็บ และโดยเฉพาะภาคเหนือถนนหนทางทุรกันดาร นั่ง ฮ. เกือบทุกครั้ง ทุกพระองค์มิได้ทรงปริพระโอษฐ์บ่นอะไรเลยแม้แต่น้อย ผมกลับสังเกตเห็นว่า ทุกพระองค์ทรงมีความสุขยามที่ได้ทรงงานขจัดทุกข์ของประชาชนและแก้ไขปัญหาของ แผ่นดิน


ระหว่างเสด็จฯ ได้ทรงพระเมตตาสอนพวกเราในทุกอย่างได้เรียนรู้อย่างมากมายจากพระองค์ท่าน และรู้จักทำงานให้แก่แผ่นดินอย่างแท้จริง


บาง ทีก็นำเสด็จฯ พระองค์หลงทางก็บ่อย ทั้ง ๆ ที่มีแผนที่ มีเครื่องไม้เครื่องมือพอสมควร แต่ดูว่าพระองค์ทรงรู้จักแผ่นดินของพระองค์และคนของพระองค์ทุกกระเบียดนิ้ว


มี ครั้งหนึ่งที่ภาคใต้ ทรงเปลี่ยนจุดโดยกระทันหัน สร้างความโกลาหลให้แก่พวกเราเป็นอย่างมาก วันนั้นเสด็จฯ พรุแฆแฆ ย่ำค่ำแล้ว มีรับสั่งว่าจะไปทอดพระเนตรอีกจุดหนึ่ง ต้องเปลี่ยนแผนกันกลางป่ากลางสวน จนมีโอกาสได้พบลุงวาเด็ง ก็วันนั้นเอง สนุกสนานที่สุด


ตอน เมื่อเสด็จฯ กาฬสินธุ์ ขณะลงจาก ฮ. ก็รับสั่งว่าเดี๋ยวจะไปดูที่ลำพะยัง จะไปก่อนก็ไม่ทัน พวกเราซึ่งถือเป็นผู้เชี่ยวชาญทั้งนั้น ทั้งช่างชลประทาน ทหารแผนที่ มีทั้งชั้นพิเศษ พันเอก ดอกเตอร์ รีบวางแผนอย่างรวดเร็ว พอขบวนเคลื่อนก็ยังไม่ประมาทอุ้มชาวบ้านที่เดินอยู่ข้างๆ ทาง นุ่งผ้าขาวม้าอยู่ผืนเดียวเอาขึ้นรถไปด้วย เพราะถามแล้วเขาตอบมาว่า รู้จักที่ที่จะไปก็นำเสด็จฯ ไปเรื่อย ถามชาวบ้านคนนั้นไป เอาไฟฉายส่องแผนที่ไป ลุยป่าไปเรื่อยจนถนนไม่มี ก็แล่นกระโดกกระดากไปตามท้องลำธารบนหินก้อนโต ๆ เลยได้รับพระราชทานนามว่า ทางดิสโก้ ขย้อนโขยกไปตลอดทาง สุดท้ายไปเจอคันนายาว ไปไม่รอด ขบวนไปนิ่งสนิทอยู่กลางทุ่ง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จฯ ลงจากพระที่นั่ง ทรงดุพวกเรามาแต่ไกลว่า จะไปไหน หลงทางตั้งแต่แยกแรกแล้ว ไม่ใช่ ไม่ใช่ ทางนี้อยู่ใกล้นิดเดียว เผอิญเป็นเวลาค่ำคืนจึงไม่เห็นหน้าพวกเรา ซึ่งเคยบานเป็นตะโก้ บัดนี้เหลือที่เขาเรียกว่า ? หน้าเหลือสองนิ้ว? เท่า นั้น ขาออกมาแทนที่จะนำเสด็จฯ กลับต้องขับรถพวกเราตามเสด็จฯ โดยทรงนำทางตลอด ประเดี๋ยวเดียวก็ถึงดังที่รับสั่ง ก็เป็นเรื่องครื้นเครงสนุกสนานสำหรับพวกเราอีกครั้งไม่ทรงกริ้วอะไร


วัน นั้นเอง ชาวบ้านเอาข้าวรวงเล็กๆ มาถวายให้ทอดพระเนตร รวงหนึ่งมีข้าวแค่ 3-4 เมล็ด เพราะแห้งแล้งมากชาวบ้านเอามือขุดดินโรยเมล็ดข้าวลงไป แล้วรอน้ำค้างมาให้ความชื้น ก็เป็นที่มาของพระราชกระแสรับสั่งว่า “เกษตรน้ำค้าง” และน่าปราบปลื้มใจเป็นอย่างยิ่งว่า บัดนี้ในบริเวณดังกล่าวได้แปรสภาพจากเกษตรน้ำค้างเป็นเกษตรชลประทานที่อุดม สมบูรณ์ เปลี่ยนสภาพไปอย่างไม่น่าเชื่อ


ตาม เสด็จฯ ทางเหนือใช้ ฮ. เป็นหลัก ลงจาก ฮ. แล้วบางที่ต้องเดินเป็นระยะไกล ๆ ข้ามเนินเขาลงหุบห้วย ผ่านไปในนาข้าว บางทีฝนตก กว่าจะถึงยอดเนินก็ทรุดตัวลงนั่งหอบแฮก ๆ กันทุกคน แต่พระองค์กลับประทับผืนกางแผนที่เหลียวจะสั่งงานใครก็ลงไปทรุดนั่งป้อแป้ กันหมด เลยรับสั่งว่า ไม่เห็นจะสู้คนอายุ 60 ได้สักคน พวกเราก็ถวายยิ้มแหย ๆ แห้ง ๆ ไป ตามระเบียบ ก็ต้องยอมรับว่าสู้พระองค์ไม่ได้เลยจริง ๆ


ภาพ ที่ประทับใจและจดจำไม่เคยลืมมี อีกภาพหนึ่ง คือ หลังจากที่ทรงพระประชวรในช่วงเวลาหนึ่งนั้น ก็เสด็จฯ ออกครั้งแรก จำได้แม่นยำว่าเป็นที่ชะอำ ที่เป็นสถานที่ตั้งศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายในวันนี้ ได้เสด็จฯ ออกทรงงานเป็นครั้งแรกหลังจากว่างเว้นมานาน หลังจากมีพระราชกระแสพระราชทานแนวทางหลัก ๆ แล้ว ได้หยุดขบวนประทับ เบื้องหน้าเป็นหุบเขาเรียกว่าหุบสบู่ เวลานั้นตะวันหลบแล้ว แต่ยังมีแสงเรืองรองอยู่ นกบินกลับรังเป็นฝูง ๆ ทรงฉายภาพวิวรอบ ๆ อากาศร่มลมพัดเย็นสบาย มีพระพิรุณโปรยมาบาง ๆ ชุ่มชื้นแต่ไม่เปียก วันนั้นทรงมีความสุขมาก รับสั่งขึ้นมาลอย ๆ ว่า ไม่ได้เสด็จฯ ออกมานานแล้ว และเห็นชัดเจนว่าทรงพระเกษมสำราญเหลือเกินที่มีโอกาสทำงานให้พสกนิกรของ พระองค์อีกครั้งหนึ่ง หลังจากนั้น จังหวะงานที่ทรงอยู่ก็เริ่มต้นอย่างทรงพลังอีกครั้งหนึ่ง โครงการพระราชดำริ โครงการแล้วโครงการเล่า ก็ได้จัดทำขึ้นมาทุกหัวระแหงของแผ่นดิน


ระหว่าง ที่ถวายงานอยู่ คราวจะแปรพระราชฐาน บางครั้งพวกเราติดงานไปก่อนไม่ได้ จะไปหลังก็จะถวายงานไม่ทัน ก็จะขอพระราชทานพระเมตตาอาศัยเครื่องบินพระที่นั่งตามเสด็จฯ ไปด้วย ซึ่งจะต้องขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตก่อนทุกครั้ง ทรงมีพระเมตตาพระราชทานให้ พวกฝ่ายในวังก็จะรู้มักจะจัดให้เรานั่งแถวหน้าของส่วนผู้ติดตามขบวน เพราะเกือบทุกครั้งจะมีการสั่งงานบนเครื่องบินพระที่นั่งนั่นเอง หลายครั้งก็เสด็จฯ มาสั่งงานตรงที่พวกเรานั่งอยู่ จะประทับยืนสั่งงานโดยมีพวกเรานั่งพับเพียบกับพื้นเครื่องบินพระที่นั่ง บางครั้งทรงสั่งงานยาวมากจนเครื่องบินบินถึงปลายทางก็มี มีอยู่ครั้งหนึ่งเสด็จฯ นราธิวาส เครื่องบินลงแต่รันเวย์แล้วพระองค์ก็ยังคงประทับยืนอยู่อย่างนั้น จะกราบบังคมทูลให้ประทับนั่งเพื่อความปลอดภัยก็ไม่กล้า


บาง โครงการ เช่น โครงการยึกยือก็เกิดบนนภาอากาศนั่นเอง วันนั้นเสด็จฯ แปรพระราชฐานในสกลนคร ระหว่างบินมหาดเล็กมาตามตัวไปเฝ้า เมื่อเข้าเฝ้าฯ พระองค์ประทับเสวยพระกระยาหารว่างอยู่ ก็รับสั่งเรื่องน้ำก่ำ อยากจะให้ทดลองกั้นลำน้ำก่ำเป็นช่วง ๆ ยามหน้าน้ำจะได้ปิดกันน้ำไว้ให้ราษฎรได้ใช้ ไม่ต้องให้ไหลลงแม่น้ำโขงอย่างเปล่าประโยชน์ระหว่างรับสั่งก็ทรงหยิบเศษ กระดาษมาแผ่นหนึ่ง ทรงวาดเค้าโครงร่าง ๆ ออกมาเป็นลำน้ำก่ำคดเคี้ยวหยักไปตามสภาพจริงและขีดเส้นกั้นเป็นระยะ ๆ เมื่อทรงวาดเสร็จ พระราชทานพระราชดำริเสด็จ ก็ทอดพระเนตรรูปนั้น ซึ่งมีลักษณะเหมือนตัวหนอนตัวบุ้งอะไรทำนองนั้น เลยรับสั่งว่าเหมือน “ยึกยือ” นะ ก็เลยเป็นชื่อเล่นสำหรับโครงการนั้นไปว่า “โครงการยึกยือ” พวกเราก็เข้าใจว่าเป็นน้ำก่ำ


พอ ได้ฟังแล้วพวกเราชาวไทยทุกคนควร จะได้ทราบว่าจุดกำเนิดของโครงการนั้น ไม่ใช่เพียงเริ่มจากห้องทรงงาน บนพื้นดิน ในน้ำเมื่อเสด็จประพาสทางเรือ แม้บนอากาศก็ยังทรงคิดงานที่จะช่วยเหลือประชาชน นั่นคือภาพที่ไม่สามารถจะลืมได้


สำหรับ วัดมงคลชัยพัฒนาที่ทรงรำลึก ถึงเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม ตามที่เริ่มเรื่องไว้นั้น ก็มีจุดกำเนิดที่สนุกสนานยิ่งมีรับสั่งให้ไปหาที่และวัดที่มีลักษณะอย่าง นั้นๆ มีอายุประมาณนั้น โดยรับสั่งเป็นเรื่องนวนิยายว่า มีพระเอกชื่ออะไรก็สงวนไว้ก่อน ติดตามปู่ไปทำบุญที่พระพุทธบาทในยุดสมัยรัชกาลที่ 5 ขากลับได้แวะทำบุญเป็นเงิน 80 ชั่ง บางครั้งก็พระราชทานโจทย์มาอย่างนี้ พวกเราจึงต้องใช้ปัญญารอบด้านขบปัญหาและโจทย์ให้แตก มิฉะนั้นจะถวายงานไม่สำเร็จแน่มีพระราชกระแสเพียงแค่นี้ก็ต้องขวานขวายให้พบ และก็พบวัดมงคลนี่แหละ ก็รับสั่งว่าใช่ ก่อนจะไปสำรวจก็มีเรื่องประหลาดอีก พวกเราปลอมตัวไป ชาวบ้านก็เล่าให้ฟังว่ามีหลายคนฝันถึงพระเจ้าอยู่หัว และโบสถ์ที่ยังสร้างค้างอยู่ จะมีผู้สูงศักดิ์มาช่วยให้สำเร็จ วันรุ่งขึ้นพวกเราก็แปลงกายเป็นพ่อเลี้ยงมากว้านหาซื้อที่ เจรจาไม่ค่อยจะสำเร็จ ชาวบ้านกลัวเป็นนายทุนมาหลอก ก็บอกเขาว่า ซื้อแล้วไม่เอาไปไหนหรอกพัฒนาแล้วก็เป็นประโยชน์แก่ชาวบ้านเอง ใครจะเชื่อ นายทุนอย่างนี้มีด้วยหรือ? ความ มาแตกเอาตอนที่เจรจาซื้อที่ของลุงสมจิต เผอิญมีปฏิทินแขวนอยู่ข้างฝาบ้านเป็นรูปพระเจ้าอยู่หัว กำลังเสด็จฯ อยู่แห่งหนึ่ง มีพวกเราทั้งฝูงตามเสด็จฯ อยู่ ลุงสมจิต เหลือบไปเห็นปฏิทินแล้วมองหน้าพวกเรา เจอะหน้าแต่ละคนเหมือนบนปฏิทินยังกับแกะ ความลับเลยแตก พ่อเลี้ยงตัวปลอมเลยต้องสารภาพเปิดเผยตัว การซื้อที่ดินก็เลยสะดวกโยธิน พอชาวบ้านรู้ ป้าบุญเรืองก็ถวายเพิ่มอีกหลายแปลง เป็นพระบารมีโดยแท้


ต่อ จากนั้น ก็ลงมือพัฒนาตามแนวพระราชดำริ ยึดหลักชาวบ้าน วัด ราชการ (โรงเรียนด้วย) ให้ประสาน 3 ส่วนด้วยกัน โดยมีพระเป็นศูนย์กลาง มาทำบุญ แล้วก็มาเรียนรู้การเกษตรหลังวัดได้ ทำแหล่งน้ำ ปลูกข้าว ปลูกไม้ไร่ ไม้สวน ครบถ้วน พอวันเสด็จฯ มา ทรงพอพระทัยมาก ระหว่างเสด็จฯ พระราชดำเนินเลาะริมสระน้ำอยู่ ก็รับสั่งว่า “รูปแบบการพัฒนานี้เป็นรูปแบบที่ดี มีหกอย่างในแปลง ชาวบ้านเขามีกินมีใช้มีอยู่ ฝนทิ้งช่วงก็มีน้ำในสระคอยพยุงไว้ เป็นทฤษฎีใหม่นะ” ณ วันนั้น เวลานั้น ชื่อโครงการทฤษฎีใหม่ ซึ่งแพร่ขยายไปทั่วประเทศในขณะนี้ ก็อุบัติขึ้น


จะ เห็นว่า โครงการแต่ละโครงการมีเบื้องหลังที่น่าจดจำสร้างความตื่นเต้นสนุกสนาน เพลิดเพลินยิ่งนัก จนลืมความเหน็ดความเหนื่อยไปหมด ดังที่ได้ทรงปรารภขึ้นมาเมื่อเย็นวันที่ 5 พฤษภาคม 2548 วันฉัตรมงคลวันที่มีความหมายสำคัญยิ่งสำหรับพวกเราชาวไทย


วันนี้ พวกเราต้องพูดตรงๆ ว่า พวกเราเหงามาก ไม่ค่อยได้มีโอกาสตามเสด็จฯ โดยมีพระองค์เสด็จฯ นำหน้าเราเหมือนในอดีต วันที่รับสั่งจึงรู้สึกสะท้อนใจมาก “ประโยชน์สุข” ที่ทรงสร้างให้แก่แผ่นดินนั้นยิ่งใหญ่ ยากจะอรรถาธิบายเรียบเรียงมาครบถ้วนให้ได้รับทราบ ทั้งในความรู้สึกในส่วนลึกของหัวใจ จะมีแดดแผดเผา จะมีฝนตกไม่ลืมหูลืมตา จะย่ำโคลนน้ำท่วม จะไต่เขาสักกี่ลูก เพื่อพสกนิกรชาวไทย ได้ทรงทำมาหมดตลอดเวลา 59 ปี ทำให้แผ่นดินนี้มั่นคง มั่งคั่งพสกนิกรอยู่เย็นเป็นสุข พวกเราคงต้องรักษาทะนุถนอมสมบัติชาติของเราไว้ ช่วยแบ่งเบาพระราชภาระที่ทรงแบกหนักอึ้งมาตลอดเวลายาวนานถึงครึ่งศตวรรษกว่า โดยยึดหลัก “รู้ รัก สามัคคี” สละประโยชน์ส่วนน้อยของเรา เพื่อประโยชน์ส่วนรวมที่ใหญ่กว่า

แผ่นดินนี้จะได้ตกถึงลูกหลานเหลนตลอดไป


ขอพระองค์ทรงพระเจริญยิ่งยืนนานด้วยเทอญ


"ขอขอบพระทัยและขอบใจท่านทั้งหลายเป็นอย่างยิ่ง ที่มีไมตรีจิต พรั่งพร้อมกันมาให้พรวันเกิด ด้วยถ้อยคำที่เลือกสรรมาจากใจจริง ซึ่งปราถนาดีมุ่งหมายให้ข้าพเจ้ามีความสุข ความสวัสดีด้วยประการต่างๆ ความสุข ความสวัสดีของข้าพเจ้าจะเกิดขึ้นได้ ก็ด้วยบ้านเมืองของเรามีความเจริญมั่นคง เป็นปกติสุข ความเจริญมั่นคงทั้งนั้นจะสำเร็จผลเป็นจริงไปได้ ก็ด้วยทุกคนทุกฝ่ายในชาติ มุ่งที่จะปฏิบัติหน้าที่ของตนให้เต็มกำลัง ด้วยสติ รู้ตัว ด้วยปัญญา รู้ผิด และด้วยความสุจริต จริงใจ โดยเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมยิ่งกว่าส่วนอื่น

จึงขอให้ท่านทั้งหลายในที่นี้ ซึ่งมีตำแหน่งหน้าที่สำคัญอยู่ในสถาบันหลักของประเทศ และชาวไทยทุกคน หมู่เหล่า ทำความเข้าใจในหน้าที่ของตนให้กระจ่าง แล้วทำตั้งจิต ตั้งใจ ให้เที่ยงตรงหนักแน่น ที่จะปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ดีที่สุด เพื่อให้สำเร็จประโยชน์ส่วนรวมอันไพบูลย์ คือ ชาติ บ้านเมือง อันเป็นถิ่นที่อยู่ที่ทำกินของเรา มีความเจริญ มั่นคง ยั่งยืนไป

ขออำนาจแห่งคุณพระรัตนตรัยและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ จงคุ้มครองรักษาท่านให้ปราศจากทุกข์ ปราศจากภัย และอำนวยสุขสิริสวัสดิ์ พิพัฒนมงคลให้สัมฤทธิผลขึ้นแก่ท่าน ทั่วหน้ากัน"

พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
5 ธันวาคม 2552
ในพระราชพิธีออกมหาสมาคมเนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษา
ณ พระที่นั่งอัมรินทรวินิจฉัย ในพระบรมมหาราชวัง

วันพุธที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2552






ในวโรกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕๒ ข้าพระพุทธเจ้าขออาราธนาคุณพระศรีรัตนตรัย รวมทั้งพระะบรมเดชานุภาพขององค์สมเด็จพระบุรพมหากษัตริยาธิราชเจ้าทุกพระองค์ เทวานุภาพแห่งองค์พระสยามเทวาธิราช พระหลักเมือง พระเสื้อเมือง พระทรงเมือง และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายในสากลพิภพ โปรดอภิบาลให้ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทจงมีพระสุขภาพพลานามัยแข็งแรง ปราศจากพระโรคาพาธทั้งปวง ทรงเจริญพระชนมพรรษายิ่งยืนนาน สถิตย์เป็นมิ่งขวัญของพสกนิกรชาวไทยสืบต่อไปชั่วกาลนานเทอญ

ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ