พระบรมราโชวาทเกี่ยวกับ "ความรู้"

“...ความรู้นั้นสำคัญยิ่งใหญ่ เพราะเป็นปัจจัยให้เกิดความฉลาดสามารถ และความเจริญก้าวหน้า มนุษย์จึงใฝ่ศึกษากันอย่างไม่รู้จบสิ้น แต่เมื่อพิเคราะห์ดูแล้ว การเรียนความรู้ แม้มากมายเพียงใด บางทีก็ไม่ช่วยให้ฉลาดหรือเจริญได้เท่าไรนัก ถ้าหากเรียนไม่ถูกถ้วน ไม่รู้จริงแท้ การศึกษาหาความรู้จึงสำคัญตรงที่ว่า ต้องศึกษาเพื่อให้เกิด “ความฉลาดรู้” คือรู้แล้ว สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้จริงๆ โดยไม่เป็นพิษเป็นโทษ การศึกษาเพื่อความฉลาดรู้ มีข้อปฏิบัติที่น่าจะยึดถือเป็นหลักอย่างน้อยสองประการ ประการแรก เมื่อจะศึกษาสิ่งใดเรื่องใดให้รู้จริง ควรจะได้ศึกษาให้ตลอดครบถ้วนทุกแง่ทุกมุม ไม่ใช่เรียนรู้แต่เพียงบางส่วนบางตอน หรือเพ่งเล็งเฉพาะแต่เพียงบางแง่บางมุม อีกประการหนึ่ง ซึ่งจะต้องปฏิบัติประกอบพร้อมกันไปด้วยเสมอคือต้องพิจารณาศึกษาเรื่องนั้นๆ ด้วยความคิดจิตใจที่ตั้งมั่นเป็นปรกติ และเที่ยงตรง เป็นกลาง ไม่ยอมให้ความรู้เห็นและเข้าใจตามอำนาจความเหนี่ยวนำของอคติ ไม่ว่าจะเป็นอคติฝ่ายชอบหรือฝ่ายชัง มิฉะนั้นความรู้ที่เกิดขึ้นจะไม่เป็นความรู้แท้ หากแต่เป็นความรู้ที่ถูกอำพรางไว้ หรือที่คลาดเคลื่อนวิปริตไปต่างๆ จะนำไปใช้ให้เป็นประโยชน์จริงๆ โดยปราศจากโทษไม่ได้...”

พระบรมราโชวาท ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรโรฒ วันที่ ๒๒ มิถุนายน ๒๕๒๔

วันพฤหัสบดีที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2553

วันเฉลิมพระชนมพรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕๓




ในวโรกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕๓ ข้าพระพุทธเจ้าขอน้อมเกล้าฯ ถวายพระพรให้จงทรงพระเกษมสำราญ มีพระสุขภาพพลานามัยแข็งแรง ทรงเจริญพระชนมพรรษายิ่งยืนนาน สถิตย์เป็นมิ่งขวัญของพสกนิกรชาวไทยไปชั่วกาลนาน

ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ

วันพุธที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2553

วันคล้ายวันเฉลิมพระชนมพรรษา ๑๒ สิงหาคม ๒๕๕๓



ในวโรกาสวันคล้ายวันเฉลิมพระชนมพรรษา ข้าพระพุทธเจ้าขอน้อมเกล้าฯ ถวายพระพรให้จงทรงพระเกษมสำราญ ปราศจากพระโรคาพาธ ขอจงทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน

ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ

วันอังคารที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2553

วันที่ ๙ มิถุนายน ๒๕๕๓



วันที่ ๙ มิถุนายน ๒๕๕๓ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงครองสิริราชสมบัติครบ ๖๔ ปี ขอน้อมเกล้าฯ ถวายพระพรให้ทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน

ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ

วันพฤหัสบดีที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

Crisis Leadership ผู้นำในภาวะวิกฤต

Crisis Leadership ผู้นำในภาวะวิกฤต

คอลัมน์ Executive Coach

โดย คม สุวรรณพิมล Leadership Coach kom@coachforgoal.com


"วิกฤตการณ์ !"

คำนี้อาจฟังดูน่าตกใจนะครับ แต่เหลือเชื่อที่ปัจจุบันธุรกิจของเราก็กำลังเผชิญกับมันอยู่

"เรา ไม่เคยเดินเข้าไปหาวิกฤตการณ์ แต่มันก็มักจะเดินมาหาเรา"

คำว่า "วิกฤตการณ์" นี้หลาย ๆ ท่านฟังดูอาจจะรู้สึกเหมือนว่ามันเป็นสิ่งที่ต้องมีผลกระทบในวงกว้างและยิ่ง ใหญ่ระดับประเทศเท่านั้น

แต่ในความเป็นจริงแล้ว วิกฤตการณ์สามารถเกิดขึ้นได้เสมอ ๆ ในทุกระดับ

ซึ่งเราสามารถจัดให้ สิ่งที่เกิดขึ้นเหล่านี้อยู่ในประเภท "วิกฤตการณ์ที่กระทบธุรกิจ" ได้ทั้งนั้น

เพราะ "วิกฤตการณ์ คือ เครื่องมือวัดความสามารถของผู้บริหาร"

พอเกิดวิกฤตการณ์ขึ้น ผู้บริหารหลายท่านก็จะนึกถึง "Crisis Management" หรือการจัดการในภาวะวิกฤตที่เคยศึกษามา

แต่ในความเป็นจริงแล้ว "Crisis Management กับ Crisis Leadership นั้นมีความแตกต่างกันสิ้นเชิง

โดย Crisis Management นั้นจะเกี่ยวข้องกับ "ขั้นตอน" ในการปฏิบัติงานเมื่อต้องเจอกับภาวะวิกฤต

แต่ Crisis Leadership จะเกี่ยวข้องกับ "ภาวะการเป็นผู้นำ" ที่ต้องจัดการกับปฏิกิริยาตอบสนองของคนในองค์กร ซึ่งรวมถึง "การจัดการตัวเอง" ด้วย

ซึ่งสิ่งนี้แหละที่เป็นเครื่องชี้ให้ เห็นความแตกต่างระหว่างผู้นำในภาวะปกติกับผู้นำในสถานการณ์ฉุกเฉิน

และ ที่สำคัญผู้บริหารหลาย ๆ คนยังจัดการในภาวะเช่นนี้ได้ไม่ค่อยดีนัก

อุปสรรค สำคัญก็คือ "อารมณ์และบุคลิกลักษณะของผู้บริหารเอง"

เพราะเมื่อเกิด เรื่องร้ายขึ้นอย่างฉับพลัน สิ่งที่เกิดขึ้นคือผู้บริหารส่วนใหญ่ที่ขาดทักษะนี้มักจะหลุดความเป็นตัวของ ตัวเอง

บางครั้งกลับทำให้สถานการณ์เลวร้ายลงไปอีก ซึ่งในระหว่าง Crisis นั้น ผู้บริหารจะต้องเผชิญกับอารมณ์ที่สับสน ทั้งของตนเองและทีมงาน ซึ่งบางครั้งอาจจะขาดสติบางอย่างที่ควรจะเป็นไป

ผู้บริหารที่ดีจะ ต้องคอยระวังและควบคุมอารมณ์ของตนเอง

ผมมีหลักการง่าย ๆ ที่จะทำให้ผู้บริหารเปลี่ยนตัวเองให้เป็น Crisis Leadership ที่สามารถจะควบคุมทีมงาน และนำพาธุรกิจในผ่านพ้นวิกฤตไปให้ได้

ผมขอ เรียกหลักการนี้ว่า "Crisis Leadership Competency" โดยมีหลักที่สามารถจำได้ง่าย ๆ คือ "H.O.P.E"

คำง่าย ๆ นี้สามารถสร้างบุคลิกการเป็นผู้นำในภาวะวิกฤต ที่บ่งบอกถึงความรับผิดชอบ การสร้างความมั่นใจให้เกิดขึ้นได้

โดย H.O.P.E สามารถแบ่งออกได้ ดังนี้

hope : วันที่ดีที่สุด เกิดขึ้นในอนาคต

ผู้บริหาร ต้องเริ่มต้นในการตั้งทัศนคติในใจก่อนเป็นอันดับแรกว่า สิ่งที่ดี ๆ จะสามารถเกิดขึ้นได้อีกในอนาคต

เพราะถ้าเราไม่เริ่มตั้งต้นที่ ทัศนคติแบบนี้แล้ว คุณจะเป็นผู้นำในช่วงนี้ลำบาก เพราะคุณจะกลายเป็นคนที่ไม่ยอมรับความจริง มองแต่เรื่องในอดีต

และ ก็จะเกิดการ "กล่าวโทษ" ทุกอย่างตั้งแต่สถานการณ์ หรือคนอื่น ๆ แทนที่จะทุ่มเทกำลังกาย กำลังใจไปกับการแก้ไขภาวะคับขัน กลับใช้เวลานึกแต่อดีต และหา "แพะ"กับสถานการณ์ซึ่งไม่มีประโยชน์ใด ๆ

ถ้า เราตั้งต้นด้วยความคิด ความหวัง ความมุ่งมั่น สติในการจัดการจะตามมา

optimism : ทุกสิ่งทุกอย่างจะดีขึ้น

"Be realistic but optimistic" เมื่อคุณเผชิญกับปัญหา จงมองมันด้วยความเป็นธรรม ด้วยความเป็นจริง จะเสียหายรุนแรงเท่าใดก็จงมองมันให้เห็น อย่าหลบอย่าเลี่ยงที่จะไม่มอง แต่การมองของคุณนั้นต้องมองความจริงนั้นในทางที่ดี !

"เป็นอะไรที่ ดูขัดแย้ง" เพราะการมองที่ความจริงเราจะเห็นแง่ดีได้อย่างไร ?

แต่ ถ้าคุณมองมันแต่ในแง่ดีแล้วคุณจะเห็นความจริงได้อย่างไร ?

มันเป็น หลักการที่ดูเหมือนหลอกตัวเอง แต่ความจริงแล้วมันคือ "การยอมรับความจริง แต่ไม่ท้อถอย"

ถ้าคุณไม่ยอมรับความจริง คุณจะไม่มีทางเห็นปัญหาอย่างแท้จริง อย่าหลอกตัวเองว่าทำ "ชนะ" หรือ "เราไม่กระทบ"

เพราะในความเป็นจริงเราได้รับผลกระทบนั้นเต็ม ๆ ฉะนั้นต้องเปิดใจให้กว้าง เพราะ Crisis ต้องการความจริง

ถ้าหามัน ให้เจอแล้วคุณจะได้รับซึ่งทักษะที่คุณต้องมีเพื่อให้บรรลุ competency นั่นก็คือ "การวินิจฉัย" ปัญหาและ "การวางกลยุทธ์" ที่ทำให้คุณมองทุกอย่างทะลุปรุโปร่งและสร้าง solutionได้อย่างถูกต้อง

people : คนอื่น ๆ ต้องการเรา

คุณคือคนสำคัญที่จะนำพาทีมงานให้รอดพ้น

ถ้า คุณมีทัศนคติแบบนี้คุณจะไม่มีวันทิ้งคนอื่นถึงแม้คุณจะไม่ใช่คนที่เก่งที่ สุด แต่คุณรู้ว่าคนอื่น ๆ ต้องการคุณทักษะการเป็นผู้นำที่อยู่ในสัญชาตญาณของคุณจะออกมาโดยอัตโนมัติ

ซึ่ง หัวใจสำคัญของหลักการในข้อนี้คือ "การสื่อสาร" ที่คุณจะต้องสร้างให้มีความน่าเชื่อถือและเป็นที่พึ่งของคนอื่น ๆ ให้ได้

โดย หลักการสื่อสาร 3 ประการ คือ Tell the fact, Define situation และ Give the hope

คุณต้องบอกความจริงและประเมินสถานการณ์ให้ทีมงานเข้าใจ

สุด ท้าย คือการให้ความหวัง

การสื่อสาร 3 ขั้นที่จะทำให้ "หัวใจของทีมงานรวมเป็นหนึ่งเดียว" และพร้อมที่จะก้าวข้ามอุปสรรคโดยมีคุณเป็นผู้นำ

empathy : ความทุกข์ของผู้อื่น กระทบจิตใจเรา

ความเข้าอกเข้าใจเป็นสิ่งที่ผู้ บริหารจำเป็นต้องมีอย่างยิ่งในภาวะคับขันเช่นนี้ สิ่งที่คุณประสบอยู่มันกระทบจิตใจของ ผู้เกี่ยวข้องอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

ความเข้าใจนี้เริ่มตั้งแต่ ระดับองค์กรที่คุณต้องเข้าใจความรู้สึกขององค์กร และเข้าใจความรู้สึกทีมงาน ไม่ว่าจะเป็นความรู้สึก ความเจ็บปวด ความท้อถอย ความลังเลสงสัย

ซึ่ง ความเข้าอกเข้าใจนี้ ทักษะสำคัญ ก็คือ "การฟังทีมงาน" ของเราเอง

ถ้า เราฟัง เราจะเข้าใจ อย่าคิดแต่เพียงการ "สั่ง" เพราะในภาวะฉุกเฉิน ผู้บริหารหลายคนลืมที่จะฟัง ทำให้ขาดโอกาสดี ๆ ในการแก้ปัญหาและรวมทีมเป็นหนึ่งเดียว

Crisis Leadership Competency นี้ เป็นการสร้างพฤติกรรมของผู้บริหาร โดยเปลี่ยนทัศนคติและอารมณ์ที่สับสนในช่วงวิกฤตให้กลับเข้าสู่ภาวะปกติ โดยมีเป้าหมายและนำทักษะที่ถูกต้องมาใช้ให้ตรงกับสถานการณ์

คุณลอง ฝึกดูนะครับ ผมเชื่อเหลือเกินว่า "สถานการณ์ตอนนี้คุณจำเป็นต้องใช้มันแน่นอน"

หน้า 26
วันที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 ปีที่ 33 ฉบับที่ 4209 ประชาชาติธุรกิจ

วันอังคารที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

วันฉัตรมงคล ๒๕๕๓ และวันคล้ายวันบรมราชาภิเษกครบ ๖๐ ปี


ในวโรกาสวันฉัตรมงคลและวันคล้ายวันบรมราชาภิเษกครบ ๖๐ ปี ข้าพระพุทธเจ้าขอน้อมเกล้าฯ ถวายพระพรให้ทรงพระเกษมสำราญในไอศูรย์สิริราชสมบัติ มีพระพลานามัยแข็งแรง สถิตย์เป็นมิ่งขวัญของชนชาวไทยตลอดกาลนานเทอญ

ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ

วันอังคารที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2553

อด ทน...ภูมิคุ้มกันเบื้องต้น

อด ทน...ภูมิคุ้มกันเบื้องต้น

คอลัมน์ สอนลูกอย่างไรให้เป็นนักบริหาร

โดย สุจินต์ จันทร์นวล mu1943@hotmail.com



ตั้งแต่ลูก เริ่มชีวิตการทำงาน เมื่อมีโอกาสมักจะถามไถ่ถึงเรื่องนี้อยู่เสมอ เพื่อจะได้รู้ว่าสถานการณ์ของเขาเป็นอย่างไร ภาวะความรู้สึกเป็นอย่างไร ปีแรก ๆ ก็ดูเต็มไปด้วยไฟของคนหนุ่ม กระตือรือร้น กระปรี้กระเปร่า สนุกกับงานเต็มที่ ทุกอย่างไปได้สวย เจอกับนายที่ดี ทั้งสอน ทั้งเป็นโค้ช เป็นพี่เลี้ยง ให้โอกาส ปกป้องและสนับสนุน เขาเองก็ไม่ได้ทำให้นายผิดหวัง

จน กระทั่งนายเขาได้โปรโมตเลื่อนตำแหน่งสูงขึ้นไปอีก ต้องไปรับผิดชอบงานที่อื่น ผู้ช่วยของนายได้ขึ้นมารั้งตำแหน่งแทนในลักษณะรักษาการ ไม่ได้รับการ แต่งตั้งขึ้นมาอย่างเป็นทางการ ก็เริ่มสังเกตความรู้สึกที่เปลี่ยนไปของลูกได้ เกี่ยวกับเรื่องความสัมพันธ์กับรักษาการหัวหน้าคนใหม่ที่เคยไล่บี้เขาบ่อย ๆ ตอนที่นายเก่ายังอยู่ ซึ่งอดีตนายก็คอยปกป้องให้ทุกครั้ง

เขาเริ่ม มีเรื่องในทางลบเกี่ยวกับว่าที่ ผู้จัดการคนนี้มาเล่าให้ฟังอยู่บ่อย ๆ ประเด็นก็มักจะเป็นแง่มุมการเปรียบเทียบกับอดีตนายที่เขาเคารพนับถือ และมักจะปนเปมากับความผิดหวังของเขา จนบางครั้งก็รู้สึกไม่เข้าใจในพฤติกรรมและการแสดงออกของอีกฝ่าย

บาง จังหวะต่อหน้าผู้ใหญ่ในที่ประชุม ก็ดูเหมือนว่าเขาให้เครดิตลูกน้องคนนี้ ไม่ต่างจากนายคนเก่า แต่เมื่อพูดกันตามลำพังก็เป็นหนังคนละม้วน คือนอกจาก ไม่สนับสนุนแล้วยังมาในแนวดึงและกดไว้ด้วยคำสั่งและสไตล์สกัดดาวรุ่ง

แต่ เหตุการณ์และสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ระหว่างเขากับรักษาการนายคนนี้ก็อยู่ในสายตาทุกคน แม้แต่แผนกอื่นที่อยู่ในฟลอร์เดียวกัน ก็เกิดอาการเห็นอกเห็นใจเขา พากันช่วยกันปลอบใจเขาถึงขนาดมีแผนกหนึ่งแสดงความจำนงอยากได้เขาไปร่วมงาน ด้วย จากผลงานของเขาที่โดดเด่น จากการให้โอกาสของอดีตนาย

มีการพูด ทาบทามทั้งในแบบทีเล่นทีจริงเพื่อหยั่งว่าเขาจะอยากขอย้ายไปไหม ทั้งเป็นการส่วนตัวและการพูดเปรย ๆ ในที่ประชุม ต่อหน้าผู้บริหารระดับสูง ช่วงนั้นลูกก็เอาปัญหานี้มาปรึกษาว่าควรจะทำอย่างไรดี ก็ถามลูกไปว่า

"ลูกคิด ว่าอย่างไรล่ะ เอาละ...สมมติว่าไม่มีพ่อจะถาม จะปรึกษาด้วย จะต้องคิดและตัดสินใจด้วยตัวเอง เรื่องนี้จะหาทางออกอย่างไร ?"

"ความ จริงผมชอบงานที่ผมทำนะ และผมคิดว่าผมทำได้ดีด้วย มันยังมีอะไรอีกเยอะที่คิดไว้ว่าจะทำ แต่ยังไม่ได้ทำ อยากทำเพื่อพิสูจน์ว่าความคิดของผมถูกต้อง ที่มันรบกวนใจและความรู้สึกก็คือคนคนเดียวนี่แหละมันทำให้ผมทำงานยาก ความเห็นและแนวคิดมันดูจะไม่ตรงกันเอาเสียเลย พยายามทำแบบที่พ่อสอนมันก็ไม่ค่อยจะเวิร์กเท่าไร น่ากลัวว่ายังต้องฝึกอีกเยอะ ความรู้สึกมันแย่นะ พยายามทำใจให้ยอมรับเขานะ แต่เขาก็ทำแย่ ๆ จนอย่าว่าแต่ผมเลย คนอื่น ๆ เขาก็รู้สึกแบบเดียวกับผมนั่นแหละ คือรับไม่ได้"

"เข้าตำรารักพี่ เสียดายน้องล่ะสิ แล้วแผนกที่เขาคิดจะเอาเราไปล่ะ ความสัมพันธ์ระหว่างเรากับเขาเป็นอย่างไร คนที่มาชักชวนน่ะเป็นใครระดับไหน"

"โอ้ ย ผมเข้ากับพวกเขาได้ทุกระดับเลย ยิ่งกับรุ่นพี่ที่เป็นรองหัวหน้าที่นั่นยิ่งสนิทกันมาก คนที่ชวนก็มีทุกระดับเลยพ่อ ผู้จัดการก็เป็นคนออกปากเองด้วยว่าให้ไปอยู่กับพี่ ดีกว่า"

"เวลา ที่พวกเขาถาม ลูกตอบพวกเขาว่าอย่างไรล่ะ ?"

"ผมก็ไม่ได้พูดอะไรมาก ก็แค่ทำท่าอยากไป แต่ก็บอกว่า แล้วใครจะทำหน้าที่ ที่ผมทำล่ะ น้อง ๆ ยังรับงานนี้ไม่ได้เลย ยอดขายในแถบนี้ยิ่งสู้แถบอื่นไม่ได้อยู่ด้วย"

"ก็ ตอบได้ดีลูก เห็นไหมว่าบางครั้งการพูดความจริงน่ะมันไม่ได้ยากเย็นอะไรเลย ไม่ต้องไปคิดอะไรมากด้วย เพียงแต่ใช้คำพูดให้เป็นเท่านั้น ทำได้ดีลูก เอาล่ะ... พ่อพอจะเดาออกว่า ความท้าทายของงานมันก็ยังแรงอยู่ในใจลูก มันมีแค่คนคนเดียวที่รบกวนสมาธิอยู่เท่านั้น ลองคิดอย่างนี้นะลูก

ไอ้ การจะย้ายหรือไม่ย้าย ลูกไม่มีสิทธิที่จะทำได้ หรือหากมีสิทธิก็ไม่ควรทำเพราะผู้ใหญ่จะมองว่า แค่เจอหัวหน้าคนละสไตล์ก็ทำงานไม่ได้แล้ว น่าจะเปราะบางเกินไป ความอดทนไม่มี และการปรับตัวมีปัญหา คนที่เป็นแบบนี้จะให้ทำงานใหญ่ขึ้น หรือดันให้สูงขึ้นลำบากแน่ ดังนั้นจะย้ายหรือไม่ย้ายปล่อยให้พวกผู้ใหญ่เขาว่ากันเอง ส่วนเราก็ตั้งหน้าตั้งตาทำงานของเราไปให้ดีที่สุด

วิธีที่จะปรับตัว ปรับความรู้สึกให้สามารถทำงานกับว่าที่นายคนนี้ให้ได้ มันอยู่ที่แนวคิดและใจของเราเอง พ่อจะเล่าอะไรให้ฟัง พ่อน่ะเจอกับสถานการณ์แบบนี้มาตลอดทางตั้งแต่เริ่มทำงานในทุกระดับ มีลูกน้องก็มีทั้งที่ชอบเราไม่ชอบเรา มีเพื่อนร่วมงานก็มีทั้งที่จริงใจและไม่จริงใจ มีนาย มีผู้ช่วยนาย มีรองนาย ก็มีทั้งที่ดีกับเรา หรือเกลียดขี้หน้าเรา

สถานการณ์ที่ลูก เจออยู่ขณะนี้ พ่อเคยเจอมาแล้ว บ่อยเสียด้วย ยิ่งขึ้นไปสูงเท่าไรก็ยิ่งเจอ คนที่พร้อมจะหนุนเรากับคนที่จ้องจะโค่นเรา คิดดูว่ามันจะหนักหนาขนาดไหนเมื่อพ่อเป็นมือปืนรับจ้างเข้าไปคนเดียวในระดับ สูง ซึ่งบางทีก็มีระดับสูงอยู่ตั้งหลายคน ล้วนแต่มีก๊กมีก๊วนของตัวเอง พ่อหลุดเดี่ยวเข้าไป มือเปล่า คิดดูว่าพ่อจะทำงานได้ยากเย็นแสนเข็ญขนาดไหน แต่พ่อก็จะต้องทำงานให้สำเร็จให้ได้ คำว่าถอยไม่มีในพจนานุกรมของพ่อ มีแต่บุกและสู้ลูกเดียว

ไม่ต้องรอนานสักเท่าไร คนที่จะสกัดพ่อก็จะแสดงตัวออกมาเอง พ่อก็จัดวางแยกประเภทของคนคนนั้นไว้ในใจทันที โอเคนี่คือคนที่เราต้องระวัง ฉะนั้นก็จะตั้งการ์ดไว้อย่างรัดกุม เรียกว่าป้องกันไม่ให้อีกฝ่ายเล่นงานพ่อได้ถนัดนัก นิด ๆ หน่อย ๆ พ่อก็ไม่ว่าจะเก็บอาการไว้ แต่หากแรงขึ้น ๆ จนเห็นว่าขืนไม่ทำอะไรพ่อก็จะเสียชื่อเสียเครดิต พ่อถึงจะตอบโต้ แต่จะเป็นการตอบโต้เพื่อป้องกันตัวเท่านั้น ไม่มีการโจมตีให้ย่อยยับกันไปข้าง

แต่ในการตอบโต้มันต้องมีศิลปะ มีแท็กติก คือทำให้คนอื่น ๆ เห็นว่าพ่อถูกรังแกก่อนนะ และพ่อก็อดทน จังหวะที่ตอบโต้มันจะตรงกับความรู้สึกคนอื่น ๆ ที่มองอยู่ว่ามันเป็นความจำเป็นที่จะต้องทำแล้ว หรือแปลว่าพ่อจะได้รับความเห็นใจจากคนดู และพ่อจะเป็นฝ่ายถูก เป็นพระเอกในสายตาคนดู ยิ่งมาตรการตอบโต้ของพ่อทำให้อีกฝ่ายหน้าหงายไปแบบหมดรูปได้ คนดูก็จะยิ่งชอบใจ

ถ้าเขาไม่ยุ่งกับพ่ออีก ทุกอย่างก็เป็นปกติ พ่อจะไม่เอาเรื่องเก่ามาเล่าใหม่ ลืม ๆ มันเสีย รักษาสัมพันธภาพให้มันราบรื่น พยายามทำงานร่วมกันให้มีปัญหาน้อยที่สุด ส่วนในใจและความรู้สึกนั้น พ่อก็คิดว่า เอาล่ะ...ทีนี้จะมาไม้ไหนกับพ่ออีก จะคอยดู นึกสนุกด้วยซ้ำว่าคราวนี้ต้องมาให้ลึกซึ้งและมีชั้นเชิงกว่าเก่านะ คือคิดแบบนี้แล้วพ่อก็ไม่มีอะไรมารบกวนความรู้สึก คอยแต่นึกว่ามาไม้ไหนพ่อก็จะเอาชนะให้ได้ คนอื่นเขาเห็นว่ามันเป็นความกดดัน แต่พ่อกลับรู้สึกว่ามันน่าสนุกและท้าทาย"

"พ่อกำลังจะบอกว่า ผมต้องปรับเปลี่ยนความคิดใหม่กับคนคนนี้ พยายามรับมือเขาให้ได้ ในความรู้สึกอย่างพ่อคือเป็นเรื่องสนุกและท้าทาย"

"ถูกต้องลูก จำไว้นะปัญหาแบบนี้คือ บททดสอบเบื้องต้นของคนที่คิดจะเอาดีทางสายบริหาร เพราะอุปสรรคแบบนี้ก็คืออุปสรรคพื้นฐานที่ทุกคนทำงานต้องเจอ คิดดูแล้วกันหากคนคนหนึ่งจะทำงานได้ก็เฉพาะต้องเจอนาย เจอหัวหน้าที่ตัวเองชอบ ถ้าไม่ชอบก็ทำไม่ได้ แปลว่าคนคนนั้นใช้อารมณ์ในการทำงาน ไม่ได้ใช้เหตุผล หรือเข้าถึงความเป็นจริงของสังคม เท่ากับเข้ากับคนยาก แฮนเดิลความแตกต่างของคนไม่เป็น มันจะไปทำอะไรได้

ในทางตรงกันข้าม มันจะต้องทำได้ เดินได้ในทุกสถานการณ์ มันต้องรู้จักปรับตัว ปรับความคิด ปรับตัวเองให้เข้ากับสถานการณ์ ยอมรับเงื่อนไขที่หลีกเลี่ยง ไม่ได้ ความท้าทายคือต้องฝ่า ต้องเอาชนะให้ได้ ไม่ใช่การยอมแพ้หรือหนี

หาก เราไม่ได้อยู่ในฐานะที่เลือกนายได้ ก็ต้องทำใจว่านายแบบไหนเราก็ต้องไปกับเขาให้ได้ เราปรับเปลี่ยนเขาไม่ได้ แต่เราต้องปรับเปลี่ยนตัวเราให้ได้ นั่นคือคำตอบ"

"พ่อพูดฟังดูไม่ ยากนะ แต่ผมยังนึกไม่ออกเลยว่าผมจะทำได้สักแค่ไหน"

"ใจเย็น ๆ ลูก ตั้งใจให้ดี พ่อเชื่อว่าผู้ใหญ่และทุกคนในระดับบนเขากำลังมองลูกอยู่ว่าลูกจะทำตัวอย่าง ไรในเงื่อนไขสถานการณ์ขณะนี้ พ่อจะบอกให้ พ่อก็เคยทดสอบลูกน้องในสภาพนี้มาเหมือนกัน ดูซิว่าจะอดทน จะอึดขนาดไหน มันคือการทดสอบความแข็งแกร่งของจิตใจ และจะหาทางคลี่คลายอย่างไรถ้าลูกผ่านช่วงนี้ไปได้ รับรองว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงแน่สำหรับเส้นทางของลูก"

วันที่ 05 เมษายน พ.ศ. 2553 ปีที่ 33 ฉบับที่ 4198 ประชาชาติธุรกิจ หน้า 31

วันพฤหัสบดีที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2553

Creative Leader

Creative Leader

คอลัมน์ Executive Coach

โดย คม สุวรรณพิมล



ที่ผ่านมา ผู้บริหารหลาย ๆ ท่านมักจะถามผมว่า การเป็นผู้บริหารที่ประสบความสำเร็จ ควรจะต้องมีคุณสมบัติอะไรที่โดดเด่น ?

ก่อน จะตอบคำถามนี้ ผมอยากทบทวนให้เข้าใจหลักการบริหารก่อน ที่มักจะหนีไม่พ้นระหว่างการบริหาร "งาน" กับ "คน" ซึ่งเป็นความรู้พื้นฐานที่น่าประหลาดใจว่า "ผู้บริหารส่วนใหญ่ยังทำผิดพลาดอยู่ โดยที่ตัวเองก็ยังไม่รู้ตัวด้วยซ้ำ ว่าพลาดตรงไหน"

ซึ่งข้อผิดพลาดส่วนใหญ่ที่เกิดขึ้น คือ ผู้บริหารบางท่านให้ความสำคัญกับการบริหารงานมากไป โดยสาเหตุมาจากหลากหลายประเด็น ทั้งต้องการให้งานสำเร็จโดยเร็ว ต้องการให้งานสมบูรณ์ หรือมีความคาดหวังที่สูง รวมถึงการมองว่าตัวเองเป็น ผู้เชี่ยวชาญในงานนั้นทุนเดิมอยู่แล้ว และคิดว่าลูกน้องน่าจะเชี่ยวชาญงานนี้เช่นกัน

ผลดีที่เกิดขึ้น คืองานเดินหน้า แต่อาจจะไม่มากเท่าที่ควรจะเป็น เพราะถูกหักล้างด้วย "ความเต็มใจของคนในทีม" เพราะ ผู้บริหารประเภทนี้ไม่สามารถดึง "คน" ให้มาทำงานกับเราได้อย่างเต็มที่ทั้งกายและใจ เหมือนกับมี "รถดี ๆ สักคัน แต่คนขับไม่ค่อยเต็มใจจะขับสักเท่าไร"

แต่สำหรับบางคนก็เน้นการ บริหารคนด้วยความเข้าอกเข้าใจ จนเกิดความน่าเชื่อถือ ไว้วางใจในการทำงานระหว่างผู้บริหารกับพนักงาน เพราะผู้บริหารกลุ่มนี้มักจะยึดหลักเอาใจเขามาใส่ใจเรา ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้อาจจะดีในแง่ของการทำงานเป็นทีม แต่ถ้าความแตกต่างในความสามารถระหว่างสมาชิกในทีมมีมากเกินไป ก็อาจเกิดผลเสียได้ เช่นงานที่ออกมามักไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควรจะเป็น

ดัง นั้น ความสำเร็จในการบริหาร คือการสร้างความสมดุลระหว่างการบริหารงานกับคนให้ได้ ซึ่งหมายถึงการบริหารงานให้ได้ความสำเร็จ แต่ยังไม่ละเลยที่จะเข้าอกเข้าใจและพร้อมที่จะพัฒนาคนไปด้วยกัน ให้เหมือนกับ "มีรถดี ๆ วิสัยทัศน์ดี และมีคนขับที่พร้อมทั้งความสามารถและความตั้งใจ"

แต่สำหรับคำถามที่ว่า "คุณสมบัติอะไรที่โดดเด่นสำหรับการเป็นผู้บริหาร ?"

คำตอบของผมก็คือ "ความคิดสร้างสรรค์ในการบริหาร" นั่นเอง

แต่ ความคิดสร้างสรรค์ในที่นี้หมายถึงการนำความคิดสร้างสรรค์มาใช้ในการบริหาร งานและการบริหารคน ไม่ได้หมายถึงการคิดค้นสินค้าหรือบริการอะไรที่อยู่นอกเหนืออำนาจหน้าที่ของ คุณ

คำตอบนี้อาจจะขัดแย้งในใจของผู้บริหารหลาย ๆ ท่าน แต่ "ความคิดสร้างสรรค์คืออาวุธลับสุดท้ายในการแบ่งแยกระหว่างผู้บริหารในระดับ ธรรมดากับ สุดยอดผู้บริหาร"

ยกตัวอย่าง ถ้ามีผู้บริหาร 2 ท่านที่มีความสามารถในการบริหารคนและงานเท่าเทียมกันแล้ว คุณลองถามตัวคุณเองว่า ประเด็นอะไรที่ทำให้ทั้งสองท่านนี้ประสบความสำเร็จแตกต่างกัน

แน่นอนว่า นั่นก็คือความคิดสร้างสรรค์ที่ถูกใส่เข้าไปในขั้นตอนการบริหารงาน

จาก ประเด็นนี้ ผมขอยกตัวอย่าง ผู้บริหารท่านหนึ่งที่ใช้ความคิดสร้างสรรค์เพียงเล็กน้อยในการบริหาร แต่ได้ผลลัพธ์มหาศาล เรื่องนี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับพนักงานขับรถส่งของบริษัท ซึ่งส่วนใหญ่เป็น พนักงานประจำ ที่ทำงานมานาน กินเงินเดือนประจำ โดยธรรมชาติ พนักงานกลุ่มนี้ชอบอู้งาน ไม่ชอบวิ่งงานเยอะ ทำงานช้า ๆ เพื่อกินค่าล่วงเวลา ซึ่งเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นมาจนกลายเป็นวัฒนธรรมของบริษัท แต่ผู้บริหารท่านนี้ ซึ่งมารับตำแหน่งใหม่ ก็เกิดความรู้สึกว่า การทำงานเช่นนี้ ทำให้งานไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร เขาจึงใช้ความคิดสร้างสรรค์มาใช้ในการบริหารงาน โดยเปลี่ยนว่าบริษัทจะซื้อรถให้กับพนักงาน ขับรถกลุ่มนี้ ซึ่งแน่นอน พนักงานทุกคนดีใจที่จะมีรถเป็นของตัวเอง แต่แลกกับการไม่กินเงินเดือนประจำ แต่บริษัทจะส่งงานขับรถให้ต่อเนื่องและคิดค่าจ้างเป็นต่อเที่ยว โดยจะหักเงินไว้ 25% ของค่าจ้างเป็นค่าผ่อนรถ ยิ่งวิ่งรถมากเที่ยวเท่าไร รถก็เป็นของตัวเองเร็วขึ้นเท่านั้น

หลังจากนั้นมา คนกลุ่มนี้แทนที่จะอู้งาน กลับยิ่งมาของานส่งของทำมากขึ้น ทำให้ประสิทธิภาพงานในส่วนนี้ดีขึ้นมาทันที และค่าใช้จ่ายโดยรวมก็ลดลงอย่างมาก เกิดความพึงพอใจกันทั้งสองฝ่าย

ตัวอย่าง ข้างต้นนี้ น่าจะพอทำให้ผู้บริหารหลาย ๆ ท่านมองภาพออกว่าจะสามารถนำความคิดสร้างสรรค์มาใช้ใน การบริหารงานได้อย่างไร ซึ่งผมมีหลักการง่าย ๆ 3 ประการ ในการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ตามแบบฉบับ Coach ! For Goal มานำเสนอ

1.ไม่ เชื่อ หมายถึงผู้บริหารต้องไม่เชื่อในสิ่งที่เห็น หรือในสิ่งปัจจุบันที่เป็นอยู่ว่าคือสิ่งที่ดีที่สุดแล้ว เพราะถ้าเชื่อเมื่อไรว่าวิธีการนี้คือสิ่งที่ดีที่สุดแล้ว ยังไงคุณก็ไม่มีทางสร้างสรรค์อะไรใหม่ ๆ ได้ ซึ่งในกรณีนี้รวมถึงการไม่เชื่อว่าปัญหาที่เกิดขึ้นนั้นจะแก้ไขไม่ได้

กรณีนี้ ผู้บริหารไม่เชื่อว่าปัญหานี้ไม่มีทางออก เขาเลยสามารถหาทางออกที่สวยงามให้กับทุกฝ่ายได้

2.ไม่ แคร์ หมายถึงไม่แคร์กับการกระทำและความคิดของตัวว่าจะเกิดขึ้นได้จริงหรือไม่ แต่มีข้อแม้อย่างหนึ่ง คือการไม่แคร์นี้ยังอยู่บนพื้นฐานที่ไม่ได้ไปกระทบสิทธิหรือเสรีภาพของคน อื่น เพราะการที่คุณแคร์หรือใส่ใจกับประเด็นต่าง ๆ ที่ยังไม่เกิดขึ้นมากเกินไป ตัวคุณนั่นแหละที่เป็นคนสร้างข้อจำกัดให้ตัวเอง

3.ไม่ ยอมแพ้ หมายถึงการไม่ยอมแพ้กับทุกเรื่องที่เกิดขึ้น เพราะความสำเร็จมักจะอยู่บนซากปรักหักพังของความล้มเหลวเสมอ ดังนั้น ถ้าคุณคิดอะไรขึ้นมาได้แล้วมันยังไม่สำเร็จ คุณก็ต้องไม่ยอมแพ้ เพราะถ้ายอมแพ้หรือยอมจำนนเมื่อไร ความคิดสร้างสรรค์ขั้นสุดยอดที่มักจะออกมาในช่วงท้าย ๆ ก็ไม่มีโอกาสเกิดขึ้นได้เลย

สามหลักการง่าย ๆ เช่นนี้ ผมอยากให้ผู้บริหารนำไปปฏิบัติ ลองเริ่มดูจากอุปสรรคในการบริหารงานของคนก่อนว่ามีอะไรบ้าง แล้วใช้สามหลักการนี้มาเริ่มปฏิบัติดู แล้วความคิดใหม่ ๆ ในการบริหารจะเกิดขึ้นเอง

"ถ้าคุณคิดเหมือนเดิม คุณก็จะปฏิบัติเหมือนเดิม ผลลัพธ์ก็ออกมาเช่นเดิม แต่ถ้าคุณเปลี่ยนความคิดใหม่ คุณก็จะปฏิบัติแบบใหม่ ผลลัพธ์ก็จะแตกต่างจากเดิม" เพราะความคิดเดิม ๆ แก้ไขปัญหาเดิม ๆ ไม่ได้อย่างแน่นอน

หน้า 30
วันที่ 04 มีนาคม พ.ศ. 2553 ปีที่ 33 ฉบับที่ 4189 ประชาชาติธุรกิจ